UX Designer —UX Writer ความต่างในภาคปฏิบัติ [UX Part 2/3]

ไทย

หลายคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ อาจจะผ่านบทความแรกกันมาแล้ว ถ้ายังไม่ได้อ่าน สามารถตามไปเก็บมาก่อนได้ “อย่าให้แค่สัญชาตญาณในที่ประชุมกลุ่มเล็ก ๆ เป็นตัวตัดสินว่าอะไรคือสิ่งที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด [UX Part 1/3]” หากใครที่อ่านมาแล้ว มารับชมกันต่อได้เลยครับ

ในสายงาน UX นั้น จะแบ่งออกได้หลายสายเลย วันนี้เราจะพาทุกท่านไปพบกับ UX Designer กับ UX Writer ในภาคปฏิบัติกัน

blog ux designer part2
USER EXPERIENCE

Product Designer Lead
K.Waiyawut Nimkittikul พี่บอย (BOYN) ตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบที่พี่บอยดูแลอยู่คือ UX Lead ของทางฝั่ง Retail แต่พอย้ายมาเป็น TechX ก็ถือว่าอยู่ภายใต้ Product Group 1 โปรดักส์ที่อยู่ในความรับผิดชอบก็จะเป็น SCB Easy Application, SCB Connect, Robinhood และมีโปรเจกต์อื่น ๆ ที่อยู่ในช่วงกำลังทำ และเตรียมเปิดตัวในไม่ช้านี้

ปกติแล้วพี่จะบอกน้อง ๆ เสมอว่า UX Designer ในแง่นึงคือการทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงให้กับ User เพราะในองค์กรเรา เวลาจะออก Product ขึ้นมาสักตัวนึงเนี่ย มันก็อาจจะเกิดจาก Business มี Idea อะไร หรือมี Direction ที่บอกเรามาว่าอยากให้เราทำอะไร แล้วเราในฐานะที่เราเป็น UX เราก็ต้องคิดในมุมของ User เสมอ ๆ พี่บอยยกตัวอย่างให้ฟังเรื่องของบริษัทแห่งนึงที่ในห้องประชุมจะมีเก้าอี้ว่างเอาไว้ตัวนึง โดยให้ทุกคนคิดว่า เก้าอี้ว่างตัวนั้นมี User ของเรานั่งอยู่ 1 คน และเราควรจะต้องเป็นปากเป็นเสียงให้กับ User ตรงเก้าอี้ว่างที่พูดออดมาไม่ได้ ให้มากที่สุด เพราะสุดท้ายเวลาเราออกแบบ Product ส่วนใหญ่เราก็มักจะคิดอยู่ในมุมของฝั่งเรา ใครอยากได้อะไรก็พูดมา แต่สุดท้ายแล้วถ้ามันไม่ได้ถูกเอาไป Prove กับ User จริง ๆ มันก็จะไม่สามารถพิสูจน์ได้เลยว่า Idea เรามันตรงใจกับลูกค้า หรือไปแก้ปัญหาให้กับเค้าจริง ๆ (และที่สำคัญคือไม่ได้ไปสร้างปัญหาเพิ่ม)

“เหมือนเราเป็นผู้แทนราษฎรอ่ะ เมื่อเราได้รับเลือกเข้ามาแล้ว เราก็พยายามลงพื้นที่ เพื่อไปเข้าใจปัญหาว่าประชาชนในเขตของเรามีปัญหาอะไร ไปอยู่กับเค้า ใกล้ชิดกับเค้า จนถึงขนาดไปใช้ชีวิตร่วมกับเค้าเพื่อให้เข้าใจ Pain หรือ Need ของเค้า เมื่อเราเข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง เราจะอยากช่วยเหลือเค้า เราก็เอาปัญหาพวกนี้มาช่วยกันแก้ไข โดยที่นำเสนอเรื่องพวกนี้เข้ามาในสภา ไปคุยกันว่าจะต้องทำยังไง ประชาชนเดือดร้อนแบบนี้ อาจจะมีการหา Idea ต่าง ๆ แล้วเมื่อได้งบประมาณมา เราก็นำเสนอ Solution เพื่อไปช่วยแก้ปัญหา”

UX Designer ส่วนนึงก็ควรที่จะมีหน้าที่คิดแทน พูดแทน User และจริง ๆ แล้วหน้าที่หลักของเราเลยก็คือ Deliver งานนั่นแหละ Design flow ในโปรดักส์ที่เป็น Digital ขึ้นชื่อว่ามันเป็น Digital แปลว่า มันคือสิ่งที่ไม่มีชีวิต คนหลาย ๆ คนอาจจะไม่เข้าใจในตอนแรก เพราะฉะนั้น หน้าที่เราก็ต้องทำให้คนที่จะเข้ามาใช้งานใน Digital product เข้าใจมันได้ไม่ยาก ราวกับว่า เค้าคุ้นเคยกับมันมาก่อน ไม่ต้องเรียนรู้เยอะ ที่จะต้องใช้งานมันให้เป็น หรือเรียกได้ว่า ใช้งานได้โดยแทบไม่ต้องใช้ความคิด

UX Designer ในทีมยังมีแยกออกไปเป็น Visual Designer หรือที่ในตลาดจะเรียกว่า UI Designer ซึ่งทั้ง 2 Skill จริง ๆ แล้วมีความแตกต่างกันพอสมควร แต่เราเองก็มองว่า ทั้ง 2 Skill ก็สามารถพัฒนาเข้าหากันได้ ทำให้เราก็มักจะมองหาคนที่อาจจะมีทั้ง Skill ทั้งสองด้าน หรือคนที่มี Skill ด้านใดด้านหนึ่งมากกว่า แต่พร้อมจะพัฒนา Skill อีกด้านเช่นกัน ทำให้ช่วงหลังเราก็มักจะมองหาตำแหน่งที่เรียกว่า Product Designer (หรือที่ตลาดเรียกกันว่า UX/UI Designer นั่นเอง)

ปัจจุบันในทีมของเราก็มีคนที่สามารถทำงานในส่วนของ Product Designer ได้อยู่หลายคนเหมือนกัน

ภาระความรับผิดชอบของพี่บอยในช่วงนี้ หลัก ๆ เลยก็จะเป็นการบริหารจัดการ Resource อย่างเช่นการ Assign งานให้น้อง ๆ และคอยให้คำแนะนำ คำปรึกษา ช่วย Review งาน จนถึงบางครั้งก็จะลงไปช่วยทำบางงานถ้า Resource ไม่เพียงพอ

ก่อนหน้านี้ UX Team จะทำงานแบบเป็น Pool resource แปลว่าแต่ละคนก็จะสามารถเข้าไปช่วยตามProject ต่าง ๆ ได้โดยที่ไม่ได้แบ่งว่าใครต้องดูตัวไหนเป็นตัว ๆ แต่ในปัจจุบันที่ SCB TechX เราก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเริ่มมีการ Manage resource ให้ดีขึ้น อย่างเช่น Robinhood ก็จะมีน้อง UX ที่ดูแลประจำ ก็จะเริ่ม Fix การ Manage บางครั้งถ้าจุดไหนมันรีบจริง ๆ พี่บอยเองก็ต้องคอยจัดสรรกันอีกทีตามสถาณการณ์ แล้วก็มีหน้าที่เป็นคนคอยแก้ปัญหาที่น้อง ๆ เจอ เรียกว่าเป็นคนคอยแก้ Blocker แหละ ถ้าน้องมี Blocker อะไรที่ทำให้รู้สึกทำงานไม่ได้ Timeline กระชั้น เราก็ต้องรับฟังและคอยคุยกับ Stakeholder เป็นเหมือนกันชนให้เค้า ทำให้น้อง ๆ ได้รู้สึกว่าเค้าได้รับการปกป้องไม่ใช่อยากจะใช้งานยังไงก็ต้องรับ อีกมุมนึงเราก็ต้องคอย Upskill น้อง ๆ เปิดโอกาสให้น้อง ๆ ได้พัฒนา สอนน้อง ๆ ก็จะใช้วิธีดูว่าใครเก่งด้านไหน ก็ให้มาช่วยกันแชร์เพื่อพัฒนาคนอื่นสลับ ๆ กันไป

พี่บอยบอกว่าจริง ๆ ตัวเองก็ยังคงต้องเรียนรู้อีกเยอะ แต่สิ่งนึงที่ตัวพี่บอยเองค่อนข้างอิน ก็จะเป็น Design Thinking เริ่มจากสัก 5 ปีที่แล้ว พี่บอยเคยเป็น Facilitator ฝึกสอนหลักสูตร Design thinking ที่ SCB หลังจากนั้นก็มีการศึกษาต่อเพิ่มเติมอีกเรื่อย ๆ รวมถึงพยายามนำมาใช้ในงาน พอเราเรียนรู้เรื่อง Design Thinking เราก็นำมา Map ภาพกับ Process มันก็เป็นภาพที่ล้อกันกับ UX Process ซึ่งค่อนข้างจะใช้วิธีตรงกันในทุกขั้นตอนตั้งแต่ Empathize, Define, Ideate, Prototype แล้วก็ Test โดยเราต้องรู้ว่าเรากำลังจะทำอะไร ปัญหาคืออะไร โจทย์ที่เรากำลังแก้ตรงกับปัญหาของ User มั้ย เราจะแก้ปัญหาด้วยการออกแบบยังไง แล้วสุดท้ายเราก็ต้องลองทำต้นแบบเพื่อไป Test เหล่านี้ก็คือสิ่งที่ UX Designer ต้องทำ ซึ่งปัจจุบันเองพี่บอยก็นำกระบวนการเหล่านี้เข้ามา Applied ในทีม ในองค์กร แต่ก็ต้องยอมรับว่า บางส่วนก็อาจจะยังไม่สามารถ Apply มาใช้ได้บ้าง แต่ก็พยายามนำมาปรับใช้ให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้แหละ

อยากทำงานกับคนแบบไหน
สำหรับเรา เราอยากได้คนที่เค้า “เก่งกว่า” ด้วยความที่เราเองก็คิดตลอดว่า เราไม่ใช่คนที่เก่งที่สุด เราก็อยากได้คนที่เค้าเข้ามาช่วยเสริมในมุมมองเรา ทั้งในด้านของ UX เอง ทั้งอะไรที่มันนอกเหนือจาก UX ไปอีก อาจจะเป็นในด้านของ Management บางครั้งเค้าอาจจะช่วยโค้ชเรา หรือสะกิดเราได้ด้วย แม้ว่าบางทีเค้าอาจจะเป็น Peer เราก็หรือหัวหน้าเราก็ตาม แล้วก็ในฐานะ UX Designer เราทำอะไร เราก็ต้องการ Feedback จาก User เช่นเดียวกัน งานทุกอย่างที่เราทำออกไป เราก็อยากได้ Feedback กลับมาเหมือนกัน ว่าอะไรที่เราทำ มันดี หรือไม่ดี มีอะไรที่เค้าเห็นว่าเราควรปรับปรุง หรือปรับปรุงได้ ถ้าเป็นหัวหน้าก็อยากได้คนที่เค้า เข้าถึงได้ง่ายด้วย อารมณ์แบบเรียกหา แล้วสามารถช่วยเราได้ Response ไวไรงี้

ถ้าถามถึงการรับน้องในทีม อยากได้คนร่วมทีมแบบไหน

หนึ่งเลย อยากให้คนมี Skill พอได้ ด้านไหนด้านนึง หรือรอบด้าน เช่น มี Sense ทางด้าน Design ที่ดี แต่ยังไม่เคยมี Skill UX หรือคนที่มีพื้นฐาน UX มา แต่ยังไม่เคยทำ UI การที่มีพื้นฐานที่ดี ทำให้สามารถมาต่อยอดกับงานที่เค้าต้องทำได้ ถ้ายังเด็กหน่อยก็ยังมาฝึกกันต่อได้ แต่ถ้าโตหน่อยค่อนข้างหวังว่าจะมีพื้นฐานที่มากกว่าและดีกว่า และก็ต้องดูปัจจัยอื่นๆ อีก

น้องบางคนที่จบมาทางสายคอมพิวเตอร์ อย่างเช่น Com Science แล้วมาเป็น UX มันเหมือนคนที่รู้ Tech แล้วพยายามเชื่อมโลก Technology เข้ากับ Human ให้มาใกล้กัน แล้ว Seamless มากที่สุด ซึ่ง UX แต่ละคนก็จะมีความเก่งในแต่ละด้านที่แตกต่างกัน เราเองก็อาจจะเก่งที่สุดด้านนึง แต่เราก็จำเป็นต้องพึ่งพาน้อง ๆ ในด้านที่เราไม่ถนัดด้วยเช่นกัน เหมือนเตะฟุตบอล ถ้าเราเป็น Coach ตอนเตะบอล เราก็อาจจะไม่ได้เก่งเท่ากับนักเตะที่อยู่ในสนาม

อย่างที่สองสิ่งสำคัญคือเรื่อง Attitude เรื่องนี้สอนกันยาก ไม่ใช่สอนไม่ได้ แต่ย่อมดีกว่าถ้าเราได้คนที่พร้อมเรียนรู้ พร้อมปรับตัว ทำงานร่วมกับทีมได้ ถ้าเราสามารถประเมินจากการคัดเลือกตอนสัมภาษณ์ได้ เราจะเลี่ยงคนที่มีแนวโน้มจะเป็น Toxic สำหรับทีม

อย่างที่สาม ต่อเนื่องจากเรื่อง Attitude ก็คือ Learning ต้องการคนที่ชอบเรียนรู้ ไม่ว่าจะเรื่องของการใช้ Tools หรือจะเป็นวิธีการ กระบวนการทำงาน เปิดรับแนวคิดใหม่ๆ กล้าผิดพลาดเพื่อเรียนรู้ และจะยิ่งดี ถ้าเป็นคนชอบแชร์ คือนำความรู้ที่มีส่งต่อให้คนอื่น จะผ่านการทำงานหรือจัดเป็น Session จริงจังก็ได้

สิ่งที่ยากที่สุดในการทำงานคือเรื่อง ‘คน’ ถ้าเลือกคนผิด อาจจะเป็นสิ่งที่แก้ไขยากที่สุด

ฝากสำหรับน้อง ๆ ที่อาจจะอยากมาร่วมทีม SCB TechX
อยากให้คิดว่า ในการสัมภาษณ์​ สิ่งที่ทางเราทำคือการคัดเลือกคนที่ตรงกับงาน ตรงกับทีม ตรงกับ Culture องค์กร ในขณะเดียวกัน พวกเราเองก็มีหน้าที่เลือกเช่นกันว่าที่นี่ ใช่ที่ ๆ คุณอยากมาร่วมงาน และสนุกไปด้วยกันมั้ย

“ถ้าในมือคุณถือค้อน คุณจะมองทุกอย่างเป็นประตู!…… เอ้ย!!! ตะปู”

ไม่มีเครื่องมือใดที่ใช้แก้ปัญหาได้ทุกอย่าง
ถ้าเราไม่รู้ให้กว้าง เราจะมีแต่เครื่องมือเดิมๆ

พร้อมปรับตัว พร้อมเรียนรู้ เพื่อหาเครื่องมือใหม่ๆ และ…..

นอนพักผ่อนให้เพียงพอ จะได้ไม่พืดผิด พืดถืก ประตู ตะปู ตะปู ประตู!!!! 😱
การนอนสำคัญนะจ๊ะหนูๆ

blog ux wtier present

Product Designer
K.Ritpol Wongtaweesinkha คุณเก่ง ปัจจุบันเป็น Senior product designer ทำ Project เกี่ยวกับสินเชื่อ มีน้อง ๆ ที่ดูแลอยู่ประมาณ 4–5 คนด้วยกัน โดยแบ่งออกเป็น UX Designer กับ Visual Designer

ในตำแหน่ง UX Designer สำหรับคุณเก่ง คุณเก่งมองว่าเป็นเรื่องของ Experience ของผู้ใช้งานต่าง ๆ หลายคนอาจจะมองว่าเป็นแค่การออกแบบหน้าจอ แต่สำหรับคุณเก่ง Experience designer เราสนใจมากกว่าการออกแบบหน้าจอที่สวยงาม เราสนใจตั้งแต่ประสบการณ์ปัจจุบันของผู้ใช้งาน เค้ามีขั้นตอนกันอย่างไรในการทำเป้าหมายของเขาให้สำเร็จ “การออกแบบประสบการณ์ที่ดี ≠ ความง่ายเท่านั้น” บางทีอาจจะเป็นเรื่องของความรวดเร็ว หรือความสามารถรองรับการทำงานที่ซับซ้อนก็ได้ เราจะรับรู้สิ่งเหล่านี้ได้จากเสียงของผู้ใช้งานเมื่อเราได้ศึกษาพฤติกรรมจากเค้า

ในมุมมองของ Senior Product Designer สิ่งที่คุณเก่งมองว่า จะต้องรับผิดชอบเป็นอันดับต้น ๆ ก็คือ การส่งมอบ Experience ที่ดี ผ่านทาง Product ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตัว Application รวมไปถึงการสื่อสารกับทีม Product และแปลง Product vision ลงมายังทีมออกแบบ และเป็นคนกลางที่ช่วย Facilitate น้อง ๆ ในทีม ไปจนถึงทีมอื่นในแต่ละ Squads ด้วย เป้าหมายที่สำคัญที่ต้องทำให้สำเร็จ คือทำยังไงให้สามารถส่งมอบประสบการณ์ที่ดี ในแต่ละ Sprint ไปยัง User โดยที่ยังสามารถสอดคล้องกับ Product vision ครับ แล้วก็เพื่อเป็นการ Confirm Experience ว่ามันจะถูกส่งมอบไปยัง User ได้ดี เราก็จะมีการทำเทส Usability testing ในการ Confirm การใช้งาน

Methodology หลักที่คุณเก่งใช้ทำงานคือ Design Thinking โฟกัสที่ Pattern ของลูกค้า เข้าใจปัญหา Journey ปัจจุบัน เพราะเราเชื่อว่าการออกแบบจากสิ่งที่เราไม่รู้เยอะจนเกินไปโอกาสที่เราจะไปผิดทางมีสูง จึงลดความเสี่ยงเหล่านั้นด้วยการ Research ลูกค้ามากขึ้น คุยกับ BU, PO, BA, SA มากขึ้น และ Test กับลูกค้ามากขึ้น เมื่อปล่อยโปรดักส์ออกไปก็ตาม Monitor ผลลัพธ์ และหาโอกาสในการปรับให้ดีขึ้นครับ

เครื่องมือที่ใช้ในงานหลัก ๆ ก็จะเป็น Figma ในการออกแบบ Wireframe, flow and interface แล้วก็จะเป็น Miro ในการทำ Workshop

 

อยากร่วมงานกับคนแบบไหน
อยากได้เพื่อนร่วมงานที่มีความ Growth Mindset เจอ Requirement อะไรก็ตามมองว่ามันเป็นความ Challenge แล้วก็คิดว่ามันจะต้องทำได้ แล้วก็ช่วยกันคิด ช่วยกันหาวิธี เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย

สำหรับน้อง Junior ที่มาร่วมงานด้วย ไม่จำเป็นว่าจะต้อง Skill เก่ง แต่ว่ารักในการเรียนรู้ นั่นก็จะเป็น Junior ที่เราอยากร่วมทำงานด้วย เพราะว่า Skillset เนี่ย เราเชื่อว่ายังไงมันก็ต้องมีเพิ่มขึ้นมาตลอดเวลาอยู่แล้ว สามารถเรียนรู้กันได้ แต่ว่าการเรียนรู้ และการแชร์ Feedback กันตรง ๆ เนี่ยจริง ๆ ก็สำคัญเช่นกัน บางทีน้อง ๆ ไม่ให้ Feedback เราเลย เราก็อาจจะไม่รู้ว่าเอ๊ะเราทำอะไรไม่ดีหรือเปล่า เราควรปรับอะไรมั้ย

หัวหน้าที่อยากร่วมงานด้วย อยากให้หัวหน้าเป็นคนที่ขอรับฟัง Ideas จากทีม ไม่ว่าจะเป็นจากตัวผมเอง หรือจากน้อง ๆ แล้วก็เปิดโอกาสให้ได้ทดลองอะไรใหม่

blog ux wtier ritpol wongtaweesinkha
Ritpol Wongtaweesinkha
UX ที่ดีสำหรับผม… สามารถวัดผลได้ ช่วยลดขั้นตอนการทำงานลง สามารถใช้งานได้ซับซ้อนมากขึ้น ใช้เวลาน้อยลง หรือเข้าใจการทำงานของระบบโดยไม่ต้องเรียนรู้เยอะ

UX Writer
นอกจาก UX Product Designer แล้ว เราก็ยังมีอีก Role นึงที่น่าสนใจมาก ๆ ซึ่งบางท่านอาจจะยังไม่รู้จักว่าเอ๊ะ มี Role นี้ด้วยเหรอนั่นก็คือ UX Writer นั่นเอง เดี๋ยวผมจะพาได้รู้จักกับ UX Writer กันครับว่าที่นี่เค้าทำอะไรกัน

K.Nichakorn Kunjaranussorn คุณมะนาว Senior UX Writer ปัจจุบันดู UX Product Group ก็จะมี SCB Easy App ในส่วนของ Retail products, SCB Connect, Robinhood, NDID และโปรเจกต์อื่น ๆ เรียกว่าดูเยอะมากกกก

UX Writer ในมุมมองของคุณมะนาว คุณมะนาวมองว่า ปัจจุบันในประเทศเราอาจจะยังไม่ได้บูมจนถึงขั้นว่าคนจะรู้จัก คือถ้าบอกว่า UX Designer คนอาจจะรู้ อาจจะเก็ท ว่าเป็นยังไง แต่เค้าอาจจะยังไม่รู้ว่าคือมันมีหน้าที่ของ UX Writer ด้วย บางคนก็อาจจะคิดว่า UX Writer เหมือนกับ Copy Writer รึเปล่า ซึ่งจริง ๆ แล้วมันค่อนข้างที่จะแตกต่างกันอย่างมาก เวลาที่เราสัมภาษณ์ก็มักจะใช้คำถามนี้แหละ ว่าระหว่าง UX Writer กับ Copy Writer ต่างกันยังไง คือถ้าเป็นสาย Copy Writer, PR อะไรพวกนี้ก็จะออกแนว เขียนเพื่อเชิญชวนให้คนมาใช้ Product แต่ UX Writer มันเป็นการเขียนเพื่อให้คนใช้ Product ของเราได้อย่าง Smooth ให้เค้าสามารถใช้งานได้ สมมติว่า UX Designer คือคนวางแผนให้ Journey ของ User ใน App ใน Feature Smooth ใช่มั้ย แต่ “UX Writer คือเป็นคนที่เขียนคำ ใน Screen นั้น ๆ ข้อความ ให้ User เข้าใจแล้วก็สามารถทำ Task นั้นได้อย่างถูกต้อง อะไรแบบนี้” อย่างเช่นใน EASY Application คุณมะนาวบอกว่า ก็คือทั้งหมดใน Screen ที่มันมี Wording เป็น UX Writer หมดเลย ในแต่ละ Step ที่ User ต้องคลิก ต้องกด รวมไปถึง Error case ทาง UX Writer ก็จะมีบทบาทในการช่วยคิด และหาทางแก้ไขให้ User

UX Writer มันเป็นการเขียนเพื่อให้คนใช้ Product ของเราได้อย่าง Smooth ให้เค้าสามารถใช้งานได้

ผมเลยถามเพิ่มไปอีกนิด แล้วก่อนหน้านี้ที่ไม่มีตำแหน่งนี้ แล้วใครหละเป็นคนทำ คุณมะนาวตอบว่า มันก็แล้วแต่ที่ คือถ้าไม่มี UX Writer ก็อาจจะเป็น UX Designer หรือไม่ก็พวก Product Owner

หน้าที่ความรับผิดชอบของคุณมะนาวในทีม ก็จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ อย่างแรกเลยก็คือส่วนที่เรามีหน้าที่รับผิดชอบใน Product ต่าง ๆ ที่ตนเองดูแลกับอีกหน้าที่นึงก็จะเป็น Mentor ให้น้อง ๆ ใน Lab อื่น ๆ อย่างที่ได้บอกไปว่า UX Writer มันยังไม่บูมในประเทศเรา คือน้อยมากที่เราจะได้ UX Writer ที่เคยเป็น UX Writer จากที่อื่นมา คือมันน้อยมาก “ถ้ามีก็ขอให้ส่งมา อันนี้คุณมะนาว Request มา” ส่วนใหญ่ก็อาจจะมาจากสาย Copy Writer หรือไม่ก็ Marketing communication เราก็จะมีหน้าที่ฝึกน้อง ๆ เพื่อที่จะ Shape พวกเขาให้กลายเป็น UX Writer

UX Writer ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กสายภาษา ศิลป์ภาษา ภาษาไทยกับอังกฤษนี่ต้องดีก่อน ส่วนสิ่งที่ต้องเพิ่ม ที่ต้องมีก็คือการคิดแบบมีระบบ เพราะว่าเราต้องทำอะไรที่มันเป็น Flow เป็น Feature เราต้องคิดแบบเป็นระบบให้เป็น เช่น User เค้ามี Pain point อะไรยังไง แล้วเราจะเข้าไปช่วยเค้าแก้ปัญหาได้อย่างไร ซึ่งเราก็ต้องนำ Design Thinking มาปรับใช้ คือเด็กที่มาจากภาษาอะ ต้องมาฝึกให้เค้าทำบ่อย ๆ เพราะถ้าเค้าไม่เข้าใจ Flow เขาจะไม่สามารถคิดคำออกมาได้เลยว่า ตรงนี้ต้องการให้ User ทำอะไร คือเขาต้องคิดอย่างเป็นระบบก่อน

อยากร่วมงานกับคนแบบไหน
ถ้าในฐานะ UX Writer ด้วยกัน สิ่งที่สำคัญมากเลยก็คือความรอบคอบ อันนี้สำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็น Grammar ตัวสะกดใด ๆ ต้องเป๊ะ Alignment ต้องเป๊ะ อย่างเช่นว่า คำนี้เคยใช้ใน Feature นี้ อยู่ ๆ จะมาเปลี่ยนอะไรงี้ไม่ได้ Alignment สำคัญ ต้องเป็นคนเอ๊ะเก่ง สงสัยเก่ง จะรักมากเวลาที่ UX Designer หรือ PO walk flow แล้ว UX Writer เกิดมีคำถามขึ้นมาว่าอันนี้คืออะไร แปลว่าเค้าฟังอยู่ แล้วเค้าคิดตาม แล้วเค้าก็เกิดความสงสัยแล้วก็ถามอะไรงี้ เพราะถ้าเค้าไม่เอ๊ะ ไม่สงสัยแล้วเขียนอะไรลงไปถ้าไม่เข้าใจอะไรงี้ คือบางที Flow error ก็ควรที่จะเอ๊ะ ตรงนี้ตายแล้วไปไหน ทำอะไรต่อ เราจะได้บอก User ได้ว่าเค้าต้องทำอะไรต่อ (ยิ่งคุยยิ่งรู้สึกคล้าย QA)

ชอบคนเอ๊ะเก่ง

ชอบหัวหน้า และเพื่อนร่วมงานที่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพราะด้วยความที่เราทำงานสาย UX อะ เราก็ต้องรับฟัง User อย่าคิดเองเออเอง มันคือเราอะ แต่มันไม่ใช่ User อะ อะไรงี้

blog ux writer nichakorn unjaranussorn
Nichakorn Kunjaranussorn

UX ยังต้องมี Writer แล้วถ้าอยาก Like เธอต้องทำยังไง ถ้าอยากให้ User ชอบสินค้าหรือบริการของเรา เราก็ควรชอบเขา เข้าใจเขาก่อน

ก่อนจากกัน
จะเห็นว่าทั้ง UX Designer และ UX Writer นั้นมีความต่างกันค่อนข้างชัดเจนนะ แม้จะเป็นเรื่องของ User Experience เหมือนกันก็ตาม ต้องบอกว่าตัวเองผมไม่ได้อยู่ในฟิลด์นี้ บางคำถามอาจจะไม่เป๊ะ ไม่ตรง แต่ก็พยายามเรียบเรียงถามมาให้เพื่อน ๆ ได้พอสมควรแหละ ที่สำคัญผมได้รับความรู้จากทั้ง 2 Roles นี้เป็นอย่างมาก ได้เห็นมุมมอง เห็นวิธีคิดของฝั่ง User Experience มากขึ้น หวังว่าผู้อ่านก็น่าจะได้รับความรู้ และมุมมองของทั้ง 2 Roles นี้ไม่มากก็น้อยนะครับ

Related Content

  • ทั้งหมด
  • Blogs
  • Insights
  • News
    •   Back
    • Blockchain
    • Finance
    • Tech innovation
    •   Back
    • Joint ventures
    • Leadership
    • Service & Products
    • Partnership
    • Events
    • Others
    •   Back
    • Product
    • Strategy
    • Technology
    • User Experience
    • Careers
    • Data Science
    • Lifestyle

Your consent required

If you want to message us, please give your consent to SCB TechX to collect, use, and/or disclose your personal data.

| การเพิกถอนความยินยอม

หากคุณต้องการเพิกถอนการให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล กรุณาส่งคำร้องหาเรา

Vector

Message sent

We have receive your message and We will get back to you shortly.