ธุรกิจหน้าใหม่ต้องรู้! eSignature คืออะไร มีประโยชน์มากแค่ไหน?

ไทย

SCB TechX SEO MAR C01 1

ในการทำธุรกรรมออนไลน์ ทั้งในนามบุคคลและนิติบุคคลแน่นอนว่าต้องมีการใช้เอกสารต่างๆ ที่มีการลงนามหรือลายเซ็นเพื่อยืนยันตัวตนเสมอ ซึ่งหลายคนอาจคุ้นเคยกับวิธีดั้งเดิมคือการสแกนเอกสารที่มีลายเซ็นและอัปโหลดขึ้นไปยังฐานข้อมูล แต่ในทุกวันนี้จะเห็นได้ว่าหลายๆ องค์กรเริ่มเปลี่ยนระบบการลงนามมาเป็นแบบดิจิทัลหรือ eSignature กันมากขึ้น

สำหรับผู้ประกอบธุรกิจหน้าใหม่ ต้องบอกเลยว่า eSignature คือสิ่งที่สำคัญและมีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างมาก แล้วจะมีรายละเอียดอะไรบ้างที่ธุรกิจควรทราบ? SCB TechX จะมาเฉลยให้กระจ่างในบทความนี้

eSignature คืออะไร?

eSignature มีชื่อเต็มว่า “Electronic Signature” แปลเป็นไทยคือ “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” ที่มีไว้สำหรับยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของลายเซ็นกับข้อมูลที่ระบุในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (eDocument) โดยใช้เทคโนโลยีในการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งผู้เซ็นสามารถที่จะใช้ “ลายมือ” ในรูปแบบตัวอักษร อักขระ ตัวเลข สัญลักษณ์ หรือเสียง ที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือได้

ตัวอย่างของรูปแบบ eSignature หรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่พบได้บ่อย: 

  • การพิมพ์ชื่อไว้ท้ายเนื้อหาของอีเมล
  • การสแกนภาพของลายมือชื่อที่เขียนด้วยมือและแนบไปกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
  • การใช้ปากกาสไตลัส (Stylus) เซ็นชื่อลงบนหน้าจอและบันทึกไว้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
  • การคลิกปุ่ม “Submit” หรือ “ยอมรับ” หรือ “ตกลง” 
  • การทำเครื่องหมายในช่องแสดงการยอมรับ

พูดได้เลยว่า แม้ไม่เคยได้ยินหรือรู้จักมาก่อน หลายคนก็อาจเคยได้เซ็น eSignature กันอยู่แล้ว โดยเฉพาะเมื่อต้องทำธุรกรรมออนไลน์อย่างการเปิดบัญชีธนาคาร เปิดบัญชี e-Wallet หรืออนุมัติ e-Payment รวมไปถึงการยืนยันคำสั่งซื้อออนไลน์ 

นอกจากนี้ ยังมี Digital Signature ที่เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของลายเซ็นที่หลายคนอาจเคยได้ยินผ่านหูกันมา จนทำให้เกิดความรู้สึกสับสนหรือเข้าใจผิดว่าเป็นอันเดียวกันกับ eSignature แต่ความจริงแล้ว ลายเซ็นทั้งสองรูปแบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน

Digital Signature คืออะไร?

Digital Signature คือ การลงนามด้วยลายมือชื่อดิจิทัลรูปแบบหนึ่งที่ได้จากกระบวนการเข้ารหัสลับ (Encrypt) หรือใบอนุญาต (License) มายืนยันข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  โดยจะยืนยันตัวตนผ่านการเซ็นชื่อเท่านั้น ซึ่งเปรียบลายเซ็นเป็นเหมือน “ลายนิ้วมือ” จึงสามารถตรวจสอบตัวตนของผู้เซ็นและการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่เกิดขึ้นได้

ดังนั้น Digital Signature จึงมีความมั่นคง ปลอดภัย และความน่าเชื่อถือมากกว่า เพราะสามารถตรวจสอบได้ว่าใครเป็นผู้ลงนาม เซ็นเอกสารอะไร เวลาไหน และตรวจสอบได้ว่ามีการแก้ไขเอกสารหลังลงนามหรือไม่ 

เปรียบเทียบ eSignature กับ Digital Signature ให้เห็นกันชัดๆ

SCB TechX SEO MAR C01 2

สรุปให้เข้าใจง่ายๆ ได้ว่า ระหว่าง eSignature กับ Digital Signature มีความแตกต่างกันที่รูปแบบการเข้ารหัสและระดับความปลอดภัย โดย Digital Signature เป็นการลงนามด้วยลายมือชื่อดิจิทัลที่มีความปลอดภัยสูง เหมาะกับเอกสารสำคัญหรือเอกสารขององค์กรที่มีความเสี่ยงถูกปลอมแปลง ส่วน eSignature  เป็นลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่มีการเข้ารหัสลับ (Encrypt) หรือใบอนุญาต (License) จึงเหมาะกับการเซ็นเอกสารทั่วไป อย่างการพิมพ์ลงท้ายในอีเมล หรือเป็นไฟล์ลายเซ็นที่สแกนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพราะแม้จะตรวจสอบได้ว่าเจ้าของลายเซ็นคือใคร แต่ก็ทำได้ยากกว่า

eSignature (ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์)

  • เป็นลายเซ็นที่ใช้สำหรับยืนยันความถูกต้องของเนื้อหาในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
  • ไม่มีใบรับรองจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้
  • มีลายเซ็นหลากหลายรูปแบบ เช่น การสแกนภาพของลายมือ วาจา สัญลักษณ์
  • มีความปลอดภัยน้อยกว่า Digital Signature
  • เหมาะสำหรับการแสดงเจตจำนงหรือยินยอมเนื้อหาในสัญญา


Digital Signature (ลายเซ็นดิจิทัล)

  • เป็นลายเซ็นที่ใช้สำหรับยืนยันและรักษาความปลอดภัยของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
  • มีใบรับรอง (License) และการเข้ารหัสลับ (Encrypt) ป้องกันข้อมูล ซึ่งถูกควบคุมโดยหน่วยงานที่มีหน้าที่ออกใบรับรองดิจิทัล
  • เปรียบให้ลายเซ็นเป็นเหมือนกับ “ลายนิ้วมือ” ที่สามารถตรวจสอบได้ จึงมีความถูกต้อง แม่นยำในระดับสูงกว่า E-Signature
  • เหมาะสำหรับเอกสารที่ต้องการความปลอดภัยของข้อมูลเป็นพิเศษ
 

กฎหมาย eSignature และพรบ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

SCB TechX SEO MAR C01 3

หากใครที่สงสัยว่าในประเทศไทยมีกฎหมาย e-signature อยู่หรือไม่? ขอตอบเลยว่าในประเทศไทยจะเรียกว่ากฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ที่ได้รองรับการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลรับรองทางกฎหมาย เช่นเดียวกับการลงลายมือชื่อบนเอกสารกระดาษ หมายความว่า e-Signature และ Digital Signature มีผลทางกฎหมายทั้งคู่ และมีผลเช่นเดียวกับการเซ็นบนกระดาษ ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้เป็น 3 ประเภท ตามเกณฑ์การรองรับของกฎหมาย ดังนี้

  1. มาตรา 9 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบทั่วไป
    ประเภทลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ก็คือ eSignature ที่อาจเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบอักษร อักขระ สัญลักษณ์ การกดปุ่ม “ตกลง” รวมไปถึงรูปแบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้กล่าวไปข้างต้น ซึ่งใช้งานง่าย สะดวกรวดเร็ว และ “ยอมรับได้” ในทางกฎหมาย แต่หากว่ามีข้อพิพาทเกิดขึ้น อาจจะทำให้การพิสูจน์เป็นไปได้ยาก
  2. มาตรา 26 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้
    คือ การลงนามด้วยลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ที่มีมาตรการป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร แก้ไขเนื้อหาเอกสาร หรือขโมยข้อมูล สามารถตรวจสอบได้ด้วยกระบวนการเข้ารหัส โดยทางสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ได้มีการยกตัวอย่างลายเซ็นดิจิทัลชนิดนี้ว่า เป็นลายเซ็นที่อาศัย Public Key Infrastructure (PKI) หรือโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะอีกด้วย
  3. มาตรา 28 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้และผ่านการรับรอง
    มีลักษณะคล้ายกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทที่ 2 ที่มีระบบป้องกันการปลอมแปลงลายเซ็น ป้องกันการแก้ไขเนื้อหาเอกสาร แต่จะอาศัยใบรับรอง Certificate Authority (CA) ที่ได้มาจากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ร่วมด้วย ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถค้นหาและตรวจสอบการระบุตัวตนของเจ้าของลายเซ็นนั้นๆ ได้

ประโยชน์ของการใช้ eSignature และ Digital Signature

พอได้ทราบถึงเรื่องของ eSignature กันไปบ้างแล้ว เชื่อว่าผู้ประกอบการหลายๆ คนคงเห็นแล้วว่า eSignature สามารถให้ประโยชน์กับธุรกิจหรือองค์กรได้อย่างไร โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลนี้ที่การทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์กลายมาเป็นช่องทางหลักของผู้บริโภคทั่วโลก ดังนั้นมาดูข้อดีต่างๆ ของการใช้ “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” กันเลย

  • ลดค่าใช้จ่ายของธุรกิจ
    ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการลงนามด้วยลายมือชื่อดิจิทัลสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนกระดาษ ต้นทุนการพิมพ์ พื้นที่จัดเก็บ ค่าส่งเอกสาร รวมไปถึงต้นทุนด้านเวลาอีกด้วย เพราะไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเซ็นเอกสารและส่งจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งเลยนั่นเอง
  • ความสะดวกสบาย
    ผู้ใช้งานหรือลูกค้าสามารถลงลายมือชื่อลงบนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างสะดวก ผ่านแพลตฟอร์มของผู้ให้บริการ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสามารถทำได้ทั้งบนสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ จึงไม่ต้องเดินทางไปยังสาขาหรือสำนักงาน ส่วนฝั่งองค์กรก็สามารถรับเอกสารผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทันท่วงที ส่งผลให้การดำเนินการเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
  • มีความปลอดภัยสูง
    โดยเฉพาะการลงลายมือชื่อแบบ Digital Signature  มีระบบพิสูจน์ตัวตนในการเซ็นเอกสาร และมีการเข้ารหัสลับในการเข้าถึงหรือตรวจสอบเอกสาร ด้วยเทคโนโลยีเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะหรือ Public Key Infrastructure (PKI)
  • รับรองและมีผลทางกฎหมาย
    อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น การลงลายมือผ่าน eSignature นั้นมีผลรับรองทางกฎหมาย หากเกิดการเปลี่ยนแปลง ปลอมแปลง หรือข้อพิพาทใดๆ ทางธุรกิจจึงสามารถยื่นคำร้องต่อศาลได้

จากทั้งหมดที่เราได้มาแนะนำเกี่ยวกับ eSignature ในวันนี้ ผู้ประกอบธุรกิจคงจะเห็นชัดแล้วว่า “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” นั้นสามารถเข้ามายกระดับธุรกรรมออนไลน์ได้ดีเพียงไหน เพราะนอกจากจะมีระบบความปลอดภัยสูงแล้ว ยังให้ความสะดวก รวดเร็ว ต่อทั้งองค์กรและลูกค้า อีกทั้งมีการรับรองทางกฎหมาย ช่วยให้การดำเนินงานของธุรกิจและองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สำหรับธุรกิจใดที่สนใจในการทำ eSignature แล้ว ต้องไม่ลืมที่จะนึกถึง eKYC ที่มีความสำคัญในการระบุและพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าก่อนทำธุรกรรมออนไลน์เป็นอย่างยิ่ง สามารถขอคำปรึกษาการวางระบบยืนยันตัวตนดิจิทัล และโซลูชันทางเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เหมาะกับธุรกิจของคุณกับ SCB TechX ได้เลยวันนี้

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการของ SCB TechX ได้ที่

Email: contact@scbtechx.io

ดูรายละเอียดบริการยืนยันตัวตน eKYC (e-KYC Thailand) คลิก


ติดตาม SCB TechX เพื่อข่าวสารและอัปเดตใหม่ๆ ก่อนใคร

Facebook: SCB TechX

Medium: medium.com/scb-techx 

LinkedIn: www.linkedin.com/company/scb-tech-x/

YouTube: SCB TechX 

Related Content

  • ทั้งหมด
  • Blogs
  • Insights
  • News
    •   Back
    • Blockchain
    • Finance
    • Tech innovation
    •   Back
    • Joint ventures
    • Leadership
    • Service & Products
    • Partnership
    • Events
    • Others
    •   Back
    • Product
    • Strategy
    • Technology
    • User Experience
    • Careers
    • Data Science
    • Lifestyle

Your consent required

If you want to message us, please give your consent to SCB TechX to collect, use, and/or disclose your personal data.

| การเพิกถอนความยินยอม

หากคุณต้องการเพิกถอนการให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล กรุณาส่งคำร้องหาเรา

Vector

Message sent

We have receive your message and We will get back to you shortly.