Know Your Customer คืออะไร? แล้ว KYC ต่างกับ eKYC อย่างไร?

ไทย

SCB TechX SEO MAR C02 1

ในการดำเนินธุรกิจหรือการทำธุรกรรมต่างๆ แน่นอนว่าฝ่ายธุรกิจจำเป็นต้องรู้ข้อมูลของลูกค้าหรือผู้มาเข้าใช้บริการ เพื่อยืนยันตัวตนและสร้างความปลอดภัยให้กับทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าลูกค้าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ KYC หรือ Know Your Customer นั่นเอง

สำหรับธุรกิจหรือผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่ยังไม่รู้จักกระบวนการนี้ ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะในบทความนี้ SCB TechX จะมาแนะนำให้รู้จัก KYC แบบฉบับที่เข้าใจง่ายๆ พร้อมเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง KYC กับ eKYC ให้เห็นกัน

 

Know Your Customer คืออะไร?

Know Your Customer (KYC) คือ กระบวนการที่มีไว้เพื่อ “ทำความรู้จักลูกค้า” ที่สามารถระบุตัวตนตัวตนของลูกค้าก่อนให้บริการ รวมไปการพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าในการทำธุรกรรมต่างๆ ภายหลัง หรืออีกนัยหนึ่ง KYC คือตัวช่วยในการเพิ่มระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรม ป้องกันการปลอมแปลงตัวตนหรือข้อมูล คุ้มครองข้อมูลส่วนตัวและสิทธิประโยชน์ของลูกค้า

ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากระบวนการ KYC ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำธุรกรรมทางการเงินด้านต่างๆ ทั้งนี้การทำงานของ KYC จะเริ่มตั้งแต่ตอนที่ลูกค้าได้เข้าสมัครสมาชิกหรือลงทะเบียนเพื่อใช้บริการ เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับข้อมูลที่ธุรกิจได้รับมาจากลูกค้าและยืนยันตัวตนของลูกค้าว่าไม่ใช่มิจฉาชีพแต่อย่างใด ลดความเสี่ยงของการกระทำที่ผิดกฎหมาย รวมไปถึงสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจต่อผู้บริโภคอีกด้วย

การทำ KYC มีขั้นตอนอย่างไร?


ปัจจุบัน การพิสูจน์ตัวตนของลูกค้า หรือ KYC Verification นั้นเป็นกระบวนการที่องค์กรหรือธุรกิจสามารถทำได้ผ่านวิธีที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม แต่ก่อนนั้นแนวทางการตรวจสอบจะเป็นการพิสูจน์ตัวตนแบบเห็นหน้า (Face-to-Face) หรือก็คือการตรวจสอบโดยที่เจ้าพนักงานของธุรกิจจะต้องเห็นใบหน้าของผู้ใช้บริการ และมีการยืนยันด้วยบัตรประชาชนว่าบุคคลดังกล่าวเป็นบุคคลคนเดียวกัน รวมถึงอาจมีการอ่านข้อมูลจากชิปบนบัตรประชาชนด้วย

SCB TechX SEO MAR C02 2

นอกจากนี้ ในการทำธุรกรรมต่างๆ ภายหลัง ต้องใช้บัตรประชาชนตัวจริงเพื่อยืนยันตัวตน ซึ่งอาจไม่สามารถทำได้ในกรณีที่ผู้ทำธุรกรรมไม่ได้เดินทางมาด้วยตนเอง ยกตัวอย่างที่เห็นได้บ่อยๆ เช่น การไปที่สาขาธนาคารเพื่อเปิดบัญชีเงินออม หรือการสมัครใช้บริการกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ฉะนั้นปัจจุบันนี้จึงได้มีการพิสูจน์ได้ด้วย eKYC เกิดขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกนั่นเอง

 

KYC ต่างกับ eKYC อย่างไร?

ผู้บริโภคในยุค “Next Normal” ได้หันมาให้ความสำคัญต่อเทรนด์ต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นหลังจากที่ได้ปรับตัวกับสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะการเปิดรับเทคโนโลยีและบริการดิจิทัลใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์เรื่องความสะดวกสบายและความปลอดภัย ซึ่ง eKYC หรือ Electronic Know Your Customer ก็เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกิดขึ้นมา

eKYC เป็นการทำความรู้จักลูกค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสะดวกรวดเร็วและทันสมัยมากขึ้น โดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนกระบวนการทำความรู้จักลูกค้า อาทิ

  • การใช้ Optical Character Recognition (OCR) เพื่อแปลงข้อมูลต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อยืนยันตัวตนลูกค้าได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
  • Biometric Authentication ที่เป็นการใช้ข้อมูลทางชีวมิติ อย่างลายนิ้วมือ ใบหน้า หรือม่านตา เพื่อยืนยันตัวตนของลูกค้าก่อนเข้าใช้บริการทางธุรกรรม
  • National Digital ID (NDID) คือ แพลตฟอร์มกลางที่ใช้ในการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล ซึ่งสถาบันทางการเงินอย่างธนาคารสามารถยืนยันข้อมูลอัตลักษณ์ของลูกค้าแต่ละบุคคลได้อย่างสะดวกและแม่นยำ

สรุปได้ว่า eKYC คือ อีกหนึ่งรูปในการยืนยันตัวตนลูกค้า ซึ่งเป็นกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่จุดเด่นในเรื่องของความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และตอบโจทย์ผู้บริโภคสมัยใหม่ที่หันมาใช้งานระบบออนไลน์ได้ดีกว่าการทำ KYC แบบดั้งเดิม รวมถึงเป็นการเปิดโอกาสให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ได้มากขึ้น

องค์กรหรือธุรกิจอะไรบ้างที่ต้องทำ KYC/eKYC

ในด้านกฎหมาย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้กำหนดให้ KYC/eKYC เป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 โดยเป็นการกำหนดให้สถาบันทางการเงินต่างๆ มีการจัดทำ KYC/eKYC เพื่อสร้างความปลอดภัยและความมั่นใจในการทำธุรกรรมของผู้บริโภค ซึ่งหน่วยงานที่ต้องจัดทำ KYC/eKYC มีดังนี้

  • ผู้ให้บริการทางการเงิน เช่น ธนาคาร
  • ผู้ให้บริการ e-Wallet และ e-Payment
  • บริษัทซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
  • ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล​​
  • บริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัย

นอกจากนี้ หน่วยงานดังกล่าวต้องมีการจัดทำ Customer Due Diligence (CDD) หรือ การตรวจสอบตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อมูลแสดงตนที่ลูกค้าให้ไว้ ประกอบกับการประเมินและบริหารความเสี่ยงก่อนอนุมัติให้บริการด้านธุรกรรมกับลูกค้า เพื่อป้องกันการทำผิดกฎหมาย

ถ้าไม่ทำ KYC จะมีผลกระทบอย่างไร?

พอจะได้ทราบกันไปเบื้องต้นแล้วสำหรับการทำ Know Your Customer และความแตกต่างระหว่าง KYC กับ eKYC ซึ่งแน่นอนว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจจะต้องทำ ถ้าองค์กรไม่ทำ KYC อาจเกิดปัญหาและข้อพิพาทต่างๆ ตามมา ผู้ใช้บริการจะไม่สามารถทำธุรกรรมได้อย่างมั่นใจ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการทุจริตอีกด้วย

ในทางกฎหมาย หากมีการตรวจสอบแล้วพบว่าองค์กรไม่มีกระบวนการในการกำกับดูแลการทำ KYC และ CDD ตามที่ปปง. กำหนด จะมีความผิด และอาจถูกปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท และปรับต่อเนื่องอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท จนกว่าองค์กรจะปรับปรุงระบบหรือกระบวนการ KYC และ CDD ให้ถูกต้องได้

เริ่มทำความรู้จักลูกค้ากับ KYC Solution Provider ดีกว่า!

SCB TechX SEO MAR C02 3 1

KYC Solution Provider คือ ผู้ให้บริการด้านการทำ KYC หรือ eKYC ที่สามารถช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจสามารถสร้างกระบวนการทำความรู้จักลูกค้าได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยผู้ให้บริการแต่ละเจ้านั้นก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป บางแห่งอาจมีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยระบุตัวตนลูกค้า ในขณะที่ผู้ให้บริการบางรายสามารถ Integrate ระบบ KYC เข้ากับแพลตฟอร์มของธุรกิจได้ ช่วยให้ธุรกิจพัฒนาและขึ้นระบบได้อย่างรวดเร็ว โดยชุดโปรแกรมที่ง่ายในการเชื่อมต่อ พร้อมมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าอีกด้วย

หากผู้ประกอบการ บริษัท หรือองค์กรของคุณประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเงิน และต้องการที่จะทำ eKYC ผู้เชี่ยวชาญจาก SCB TechX พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำโซลูชัน eKYC ที่ตอบโจทย์ธุรกิจอย่างตรงจุด

บริการ eKYC จาก SCB TechX

SCB TechX มีบริการ eKYC ที่ครอบคลุมและชาญฉลาด พร้อมมีบริการให้คำปรึกษาและแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจ โดยแบ่ง eKYC ที่แบ่งออกได้เป็น 4 ฟีเจอร์เด่น ดังนี้

  1. Liveness & Optical Character Recognition (OCR)
    บริการตรวจสอบผู้ใช้บริการกับบุคคลในบัตรประชาชนว่าเป็นบุคคลเดียวกันจริงหรือไม่ พร้อมเปลี่ยนภาพถ่ายบัตรประชาชนของผู้ใช้บริการให้เป็นข้อมูลดิจิทัลได้ทันที เพื่อลดขั้นตอนในการกรอกข้อมูลของผู้ใช้บริการและเจ้าหน้าที่
  2. Liveness & Face Recognition
    บริการตรวจสอบว่าผู้ใช้บริการกับบุคคลในภาพถ่ายเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ โดยใช้ภาพถ่ายและระบบ Face Recognition เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับรูปในบัตรประชาชน
  3. DOPA Gateway
    ตรวจสอบข้อมูลบัตรประชาชนของผู้ใช้บริการว่าตรงกับฐานข้อมูลของกรมการปกครองหรือไม่
  4. NDID Proxy
    เชื่อมต่อแพลตฟอร์มดิจิทัลไอดีเพื่อยืนยันตัวตนแบบ Cross Platform ช่วยให้ธุรกิจไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับ NDID โดยตรง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อและดูแลระบบ
 

หากสนใจ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Email: contact@scbtechx.io


ดูรายละเอียดบริการยืนยันตัวตน eKYC (e-KYC Thailand) คลิก

 

ทำความเข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่าง eKYC และ Face Recognition

 

ติดตาม SCB TechX เพื่อข่าวสารและอัปเดตใหม่ๆ ก่อนใคร
Facebook: SCB TechX
Medium: medium.com/scb-techx
LinkedIn: www.linkedin.com/company/scb-tech-x/
YouTube: SCB TechX

Related Content

  • ทั้งหมด
  • Blogs
  • Insights
  • News
    •   Back
    • Blockchain
    • Finance
    • Tech innovation
    •   Back
    • Leadership
    • PointX Products
    • Events
    • Others
    • Joint ventures
    • Partnership
    • Services & Products
    •   Back
    • Data Science
    • Careers
    • Lifestyle
    • Product
    • Strategy
    • Technology
    • User Experience

Your consent required

If you want to message us, please give your consent to SCB TechX to collect, use, and/or disclose your personal data.

| การเพิกถอนความยินยอม

หากคุณต้องการเพิกถอนการให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล กรุณาส่งคำร้องหาเรา

Vector

Message sent

We have receive your message and We will get back to you shortly.