7 ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน สะท้อนศักยภาพองค์กร

7-methods-of-application-developing

คนส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบันมักคุ้นเคยกับการใช้งานแอปพลิเคชันกันอยู่แล้ว ทั้งแอปพลิเคชันนำทาง แอปพลิเคชันเพื่อการสื่อสาร และอื่นๆ อีกมากมาย แต่การพัฒนาแอปพลิเคชันให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป เพราะตัวแอปพลิเคชันต้องตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้อย่างรอบด้าน และมีการปรับปรุงอยู่เสมอ

การพัฒนาแอปพลิเคชัน คืออะไร?

การพัฒนาแอปพลิเคชัน คือ กระบวนการที่ครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ สร้าง เผยแพร่ ไปจนถึงติดตามผลการทำงานของแอปพลิเคชัน ซึ่งแอปพลิเคชันเป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานบนอุปกรณ์ประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือแม้กระทั่งสมาร์ตวอทช์

การพัฒนาแอปพลิเคชัน สําคัญอย่างไร?

การพัฒนาแอปพลิเคชันมีประโยชน์หลายประการ แต่อาจมีความแตกต่างกันออกไปบ้าง ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันการใช้งาน และจุดประสงค์ในการพัฒนา อาทิ

1. ยกระดับบริการออนไลน์

สำหรับองค์กรที่นำเสนอบริการออนไลน์ผ่านเว็บไซต์อยู่แล้ว การพัฒนาแอปพลิเคชันจะช่วยให้ผู้ใช้บริการบนสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตมีประสบการณ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น เพราะแอปพลิเคชันที่ออกแบบมาจะทำให้ระบบปฏิบัติการเฉพาะจะมีประสิทธิภาพมากกว่า เมื่อเทียบกับเว็บไซต์ที่ออกแบบมาสำหรับทุกระบบปฏิบัติการ ซึ่งต้องเข้าถึงผ่านเบราว์เซอร์

2. สร้างฟีเจอร์ใหม่

แอปพลิเคชันสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ได้โดยตรง เช่น กล้อง เซนเซอร์ และอื่นๆ ซึ่งองค์กร ใช้ประโยชน์นี้ในการออกแบบฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่มีเฉพาะบนแอปพลิเคชันได้ ไม่ว่าจะเป็นฟีเจอร์ยืนยันตัวตนผ่านการสแกนใบหน้า ฟีเจอร์ตรวจจับจำนวนครั้งในการเดิน และอีกมากมาย

3. เพิ่มช่องทางการสื่อสาร

องค์กรสามารถใช้แอปพลิเคชันเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสื่อสารกับผู้ใช้งาน ทั้งในรูปแบบป้ายประกาศ การแจ้งเตือน หรือข้อความอัตโนมัติ เป็นต้น

4. เพิ่มความสะดวกให้ผู้ใช้งาน

ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการหรือติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้สะดวกผ่านแอปพลิเคชัน เพราะอุปกรณ์สื่อสารแบบเคลื่อนที่สามารถพกพาได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ

5. ไม่จำเป็นต้องอาศัยอินเทอร์เน็ตเสมอไป

หลายแอปพลิเคชันสามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอินเทอร์เน็ต ในขณะที่การเข้าใช้งานเว็บไซต์จำเป็นต้องอาศัยอินเทอร์เน็ตในการดาวน์โหลดหน้าเว็บอยู่เสมอ

ยกตัวอย่างแอปพลิเคชัน SCB EASY ของธนาคารไทยพาณิชย์ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงธุรกรรมทางการเงินได้อย่างสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่สาขาเสมอไป

รู้จัก 7 ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน

การพัฒนาแอปพลิเคชันที่ประสบความสำเร็จประกอบไปด้วย 7 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

1. วิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์

ขั้นตอนแรกของการพัฒนาแอปพลิเคชัน คือ การวิเคราะห์ความต้องการตลาดและคู่แข่ง แล้วจึงนำมากำหนดกลยุทธ์ เช่น ผู้ใช้งานแอปพลิเคชันจองห้องพักมีความต้องการจองบริการรถรับ-ส่งร่วมด้วย แต่คู่แข่งยังไม่มีฟีเจอร์ให้จองบริการรถรับ-ส่ง

2. วางแผนการพัฒนา

การพัฒนาแอปพลิเคชันใช้เวลาประมาณ 2 – 18 เดือน ขึ้นอยู่กับขนาด และความซับซ้อนของแอปพลิเคชัน หากไม่มีการวางแผนพัฒนาอย่างรัดกุมอาจทำให้ต้องใช้เวลานานกว่าที่ควร และใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

3. ออกแบบ UX/UI

ขั้นตอนของการออกแบบแอปพลิเคชัน จะต้องมี UX (User Experience) ที่ทำให้แอปพลิเคชัน ใช้งานง่ายอย่างต่อเนื่องแบบไร้รอยต่อและมีประสิทธิภาพภายใต้ UI (User Interface) ที่สวยงามน่าใช้

4. สร้างแอปพลิเคชัน

การสร้างแอปพลิเคชัน คือ การเขียนโค้ด (Coding) ขึ้นมาตามข้อกำหนด และแผนงานที่ได้วางไว้ โดยนักพัฒนาอาจใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ในการเขียนโค้ดที่แตกต่างกันออกไป เช่น Java เหมาะสำหรับการสร้างแอปพลิเคชันที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) ในขณะที่ Swift เหมาะกับการสร้างแอปพลิเคชันที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS)

5. ทดสอบ

การทดสอบแอปพลิเคชันมีจุดประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 

    • ทดสอบการทำงานของแอปพลิเคชัน
    • ทดสอบช่องโหว่ด้านความปลอดภัย

 

หากพบข้อบกพร่องด้านการทำงาน หรือด้านความปลอดภัย ทีมนักพัฒนาจะต้องทำการแก้ไขในทันที ก่อนที่จะเผยแพร่ให้ผู้ใช้งานเริ่มต้นใช้จริง

6. เผยแพร่

เมื่อทดสอบแอปพลิเคชันเรียบร้อยแล้ว องค์กรสามารถเผยแพร่ และอนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้ โดยควรอาศัยกลยุทธ์ด้านการตลาดร่วมด้วย เช่น การโปรโมตผ่านโซเชียลมีเดีย การจัดกิจกรรมแจกของรางวัลให้กับผู้ดาวน์โหลด และอื่นๆ

7. ติดตามและวัดผล

การติดตาม และวัดผลจะช่วยให้องค์กรสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันให้ดีขึ้นได้ โดยควรทำขั้นตอนนี้อย่างสม่ำเสมอ เพื่ออัปเดตเวอร์ชันใหม่ๆ ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น

วงจรการพัฒนาแอปพลิเคชันทั้งหมดจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหลายตำแหน่ง ทั้งนักออกแบบ UX/UI นักพัฒนา ผู้บริหารโครงการ นักออกแบบซอฟต์แวร์ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งถือเป็นการลงทุนด้านทรัพยากรบุคคลครั้งใหญ่ และมีต้นทุนสูง อีกทั้งยังมีต้นทุนด้านเครื่องมือ เซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ เป็นต้น

 

ดังนั้น หลายองค์กรจึงหันมาใช้บริการพัฒนาแอปพลิเคชันกับผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือแทน เพราะช่วยประหยัดงบประมาณได้มากกว่า โดยเฉพาะองค์กรที่ไม่ได้ทำเงินจากการพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นหลัก แต่จำเป็นต้องมีแอปพลิเคชัน เพื่อขยายการเข้าถึง หรือเสริมประสบการณ์ให้กับลูกค้า เช่น หน่วยงานรัฐ ธนาคาร บริษัทนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ และอื่นๆ 

DevOps ช่วยในการพัฒนาแอปพลิเคชันได้อย่างไร?

DevOps เป็นแนวคิดที่รวมการพัฒนา (Development) และการปฏิบัติการ (Operations) เข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการพัฒนาแอปพลิเคชันได้หลายด้าน ดังนี้

1. ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

DevOps ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างทีมพัฒนาและทีมปฏิบัติการ จึงแก้ไขปัญหา และพัฒนาแอปพลิเคชันได้เร็วขึ้น

2. ส่งมอบงานอย่างต่อเนื่อง

ด้วยการใช้เครื่องมือ Continuous Integration และ Continuous Delivery (CI/CD) ทีมจึงปรับปรุง และส่งมอบแอปพลิเคชันได้เร็วขึ้น และผู้ใช้เองก็ได้รับฟีเจอร์ใหม่ๆ เร็วขึ้นเช่นกัน

3. ทดสอบอัตโนมัติ

DevOps สนับสนุนการทดสอบที่เป็นอัตโนมัติ เพื่อช่วยลดข้อผิดพลาด และเพิ่มคุณภาพของแอปพลิเคชัน

4. จัดการโครงสร้างพื้นฐาน

ด้วยแนวคิด Infrastructure as Code ทีมจึงจัดการโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสม่ำเสมอมากขึ้น

5. ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่รวดเร็ว

DevOps ช่วยในการติดตามประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันแบบเรียลไทม์ จึงตรวจจับและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

6. ปรับปรุงด้านความปลอดภัย

DevOps ยกระดับความปลอดภัยในทุกขั้นตอนของการพัฒนา (DevSecOps) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับแอปพลิเคชันอย่างครอบคลุมรอบด้าน

7. ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยการใช้เทคโนโลยีคลาวด์และการทำ Containerization นั้น DevOps ช่วยให้การใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนในการพัฒนาและดำเนินการ

การนำ DevOps มาใช้ในกระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดเวลาในการพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพของแอปพลิเคชันทั้งระบบ จึงทำให้องค์กรตอบสนองต่อความต้องการของตลาด และผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

DevOps concept, Woman hand using laptop computer with DevOps ico

แนะนำสุดยอดเครื่องมือจัดการข้อมูลจาก SCB TechX

SCB TechX พร้อมให้บริการ xPlatform เพื่อแก้ปัญหาและข้อจำกัดต่างๆ ที่มักเกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ โดยมีแพคเกจให้เลือก 2 แบบ คือ

 

Professional Package

สำหรับองค์กรขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นแพคเกจมาตรฐานที่ xPlatform ได้ออกแบบ DevOps Best Practices ไว้ เพียงลูกค้าสมัครใช้งาน ก็สามารถเข้าใช้งาน แบบ Shared Executor บนพื้นฐาน Ecological System ของแพลตฟอร์มได้ทันที

Enterprise Package

สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ในระดับ Enterprise-grade ลูกค้าจะมี Workflow Executor Account บน Server เฉพาะขององค์กรเท่านั้น รวมทั้งมีระบบ Network และระบบ Security เพิ่มเติม สามารถติดตั้งระบบยืนยันตัวตนเข้าใช้งานตามหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานภายในองค์กรของตนเอง ทำให้องค์กรสามารถควบคุมสิทธิ์การเข้าถึง Environment และ Data ต่างๆ ได้ดีขึ้น

 

หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญงานพัฒนาซอฟต์แวร์ สามารถติดต่อทีม xPlatform ของเราได้ที่ contact@scbtechx.io 

Related Content

  • ทั้งหมด
  • Blogs
  • Insights
  • News
    •   Back
    • Careers
    • Data Science
    • Lifestyle
    • Product
    • Strategy
    • Technology
    • User Experience
    • xPlatform
    • DevOps
    •   Back
    • PointX Products
    • Events
    • Others
    • Leadership
    • Partnership
    • Services & Products
    • Joint ventures
    •   Back
    • Blockchain
    • Finance
    • Tech innovation

Your consent required

If you want to message us, please give your consent to SCB TechX to collect, use, and/or disclose your personal data.

| การเพิกถอนความยินยอม

หากคุณต้องการเพิกถอนการให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล กรุณาส่งคำร้องหาเรา

Vector

Message sent

We have receive your message and We will get back to you shortly.