เคยไหมเวลาเลือกใช้ปลั๊กอิน Jenkins แล้วพบว่าไม่มีสิ่งที่เราต้องการ หรือไม่มีสิ่งที่เราอยากได้ และบางองค์กรมี Policy ในการติดตั้งปลั๊กอินด้วย วันนี้คุณกษิดิ์เดช คำมูล Platform Services Engineer จาก SCB TechX จะพาไปรู้จัก 3 สิ่งควรรู้สู่การสร้างปลั๊กอิน Jenkins ใช้เองในองค์กรแบบมืออาชีพค่ะ
- Logical: เราต้องรู้จักว่าส่วนนี้ใช้เก็บลอจิกที่เขียนด้วยภาษา Java อยู่ใน src/main/java จัดโครงสร้างตามแพ็กเกจเพื่อค้นหาไฟล์ได้ง่าย และยังมี src/test/java ใช้เก็บไฟล์ที่ทำการทดสอบ เพื่อให้มั่นใจว่าปลั๊กอินทำงานได้สมบูรณ์แบบ
- Resource: ใช้เก็บไฟล์ Jelly ที่กำหนด UI ของปลั๊กอิน ซึ่งอยู่ใน src/main/resources โดยไฟล์ Jelly ใช้ในการสร้างฟอร์มและหน้าจอแสดงผลใน Jenkins โดยต้องมีโครงสร้างตรงกับแพ็กเกจของคลาส Java เช่น หากมีลอจิกชื่อ HelloWorldBuilder.java ก็ต้องสร้าง โฟลเดอร์ชื่อ HelloWorldBuilder ใน src/main/resources เพื่อเก็บ ไฟล์ Jelly นอกจากนี้ยังมีไฟล์ XML และ Properties ที่จำเป็นต่อการกำหนดค่าและการทำงานของปลั๊กอินด้วย
- Pom.xml File: เป็นไฟล์สำคัญใช้กำหนดโครงสร้างโปรเจกต์ การจัดการ Dependencies (การพึ่งพาซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่ต้องทำงานร่วมกัน) การตั้งค่าอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาและทดสอบปลั๊กอิน เช่น การตั้งค่าการสร้าง Artifact และการกำหนด Jenkins version
การทำความเข้าใจส่วนประกอบข้างต้นจะช่วยให้เราเริ่มพัฒนาปลั๊กอิน Jenkins ที่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้บทความหน้าทีมจะมาแชร์ Use Cases ของการสร้างปลั๊กอิน Jenkins หากเพื่อนๆสนใจกดติดตามเพจไว้ได้เลยนะคะ
หากองค์กรท่านกำลังมองหาโซลูชันด้าน DevOps ช่วยปรับรูปแบบการทำงานให้เป็นอัตโนมัติ ลดต้นทุนการทำธุรกิจ SCB TechX พร้อมเป็นโซลูชันที่ช่วยพัฒนา และ Deliver ผลิตภัณฑ์และบริการ ออกสู่ตลาด ต่อยอดองค์กรของท่านให้เติบโตอย่างยั่งยืน
สนใจบริการโปรดติดต่อเราที่ contact@scbtechx.io
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://bit.ly/4c2GdZI