แม้เทคโนโลยีหลายอย่างจะถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อสร้างสังคมโลกที่ดีขึ้น แต่เทคโนโลยีจำนวนไม่น้อยกลับถูกใช้เป็นเครื่องมือก่ออาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ (Cybercrime) ซึ่งทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบในวงกว้าง โดยหนึ่งในเป้าหมายยอดนิยมของเหล่าอาชญากรไซเบอร์ คือ ซอฟต์แวร์ที่กำลังอยู่ในกระบวนการพัฒนา ส่งผลให้นักพัฒนา และวิศวกรคิดค้นโมเดลการทำงานที่เรียกว่า “DevSecOps” ขึ้นมา เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับซอฟต์แวร์ตลอดวงจรการพัฒนา
ในบทความนี้ SCB TechX จะพาเจาะลึกเกี่ยวกับ DevSecOps พร้อมไขข้อสงสัยว่า องค์กรของคุณควรนำโมเดล DevSecOps ไปปรับใช้หรือไม่?
วิวัฒนาการของ DevSecOps
เดิมทีทีมนักพัฒนา (Development Team) และทีมปฏิบัติการ (Operation Team) จะทำงานแบบแยกส่วนกันในการพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่เนื่องจากโมเดลการทำงานนี้มีความล่าช้าและความผิดพลาดสูง ซึ่งทำให้องค์กรไม่สามารถส่งมอบซอฟต์แวร์ เพื่อตอบสนองความต้องการตลาดได้อย่างทันท่วงดี ดังนั้นจึงมีการพัฒนาแนวทางปฏิบัติ หรือโมเดลการทำงานแบบใหม่ขึ้นมา โดยเรียกว่า DevOps
โมเดล DevOps มุ่งเน้นไปที่การทำงานร่วมกันระหว่างการพัฒนา (Development) และการปฏิบัติการ (Operations) เพื่อให้การพัฒนาซอฟต์แวร์รวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น แต่ถึงกระนั้น โมเดลนี้ยังมีช่องว่างด้านความปลอดภัยอยู่ ดังนั้นการตรวจสอบและแก้ไขความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Security) จึงเข้ามาในช่วงท้ายของวงจรพัฒนา ส่งผลให้มีการคิดค้นโมเดล DevSecOps ในที่สุด
โดย DevSecOps คือ โมเดลการทำงานที่ผสานการพัฒนา (Development) ร่วมกับ การรักษาความปลอดภัย (Security) และการปฏิบัติการ (Operations) เข้าด้วยกัน ผ่านการทำระบบอัตโนมัติและใช้เครื่องมือที่ช่วยระบุความเสี่ยงในขั้นตอนการพัฒนาซอฟแวร์แต่ละส่วน ทำให้การรักษาความปลอดภัยของระบบเป็นเรื่องของทุกคนต้องตระหนักถึง เพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยให้ซอฟต์แวร์ตลอดวงจรการพัฒนา
DevSecOps ทำงานอย่างไร?
การรักษาความปลอดภัยของโมเดล DevSecOps จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตั้งแต่ขั้นตอนวางแผน พัฒนา ทดสอบ ปรับใช้ ตลอดจนการบำรุงรักษา โดยมีหลักการทำงาน คือ
1. Shift Left
กระบวนการตรวจสอบความปลอดภัยในขั้นตอนวางแผนและออกแบบ เช่น การวิเคราะห์โค้ดเพื่อหาข้อบกพร่องและช่องโหว่ด้านความปลอดภัยโดยไม่ต้องรันโค้ด และการตรวจสอบการทำงานของโค้ดแต่ละส่วนแบบแยกกัน
2. Shift Right
กระบวนการตรวจสอบความปลอดภัยในขั้นตอนการปรับใช้บนสภาพแวดล้อมจริง หรือสภาพแวดล้อมจำลองที่ใกล้เคียงสภาพแวดล้อมจริง เพื่อหาข้อผิดพลาดและช่องโหว่ เช่น การตรวจสอบการโจมตีทางไซเบอร์ และการวิเคราะห์การทำงานของโค้ดรักษาความปลอดภัย
3. Automation
กระบวนการนำเครื่องมืออัตโนมัติมาใช้ในขั้นตอนทดสอบ เช่น การตรวจสอบโค้ด สแกนหาช่องโหว่ และทดสอบการรักษาความปลอดภัยในส่วนการพัฒนาย่อยๆ ทำให้พบและแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้แก้ไขข้อผิดพลาดได้ทันท่วงที
นอกจากนี้ การส่งเสริมการทำงานร่วมกันยังถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของโมเดล DevSecOps เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการทำงานและความปลอดภัยของผู้ใช้ อาทิ ทีมปฏิบัติการตรวจสอบระบบอย่างต่อเนื่อง และแจ้งเตือนทีมรักษาความปลอดภัยเมื่อพบปัญหาที่อาจเป็นอันตราย และทีมรักษาความปลอดภัยสแกนหาช่องโหว่ในโค้ด และให้คำแนะนำแก่ทีมพัฒนาในการแก้ไข
ข้อดีของ DevSecOps
ปัจจุบันมีธุรกิจมากมายที่นำโมเดล DevSecOps มาปรับใช้ อาทิ Microsoft, Google และ Netflix โดย DevSecOps ช่วยให้ธุรกิจได้ประโยชน์ในหลายแง่มุม อาทิ
1. ลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์
การจู่โจมทางไซเบอร์ไม่เพียงสร้างความโกลาหลให้กับเจ้าหน้าที่ภายในองค์กร แต่ยังส่งผลกระทบต่อลูกค้าและผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลสำคัญถูกขโมย และอื่นๆ ซึ่งผู้เสียหายสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้
2. เพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
ซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ และสามารถส่งมอบได้อย่างรวดเร็ว คือ กุญแจสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจจำนวนไม่น้อยเหนือกว่าคู่แข่ง และก้าวขึ้นสู่แนวหน้าของอุตสาหกรรมในที่สุด
3. สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและพันธมิตร
ลูกค้า และพันธมิตรสามารถมั่นใจได้ในมาตรฐานการทำงาน ความรวดเร็ว และคุณภาพของซอฟต์แวร์ ซึ่งเพิ่มโอกาสที่ธุรกิจจะมีลูกค้าเพิ่มขึ้น และพันธมิตรทางธุรกิจใหม่ๆ ที่แข็งแกร่ง
4. ลดต้นทุน
ซอฟต์แวร์ที่มีช่องโหว่ด้านความปลอดภัย และประสิทธิภาพการทำงานต่ำมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดต้นทุนแฝงเพิ่มขึ้น ทั้งต้นทุนในการแก้ไข ปรับปรุง และการรับผิดชอบต่อสังคม
5. สร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
DevSecOps ช่วยให้เจ้าหน้าที่แต่ละฝ่ายทำงานร่วมกันได้อย่างลื่นไหล เพิ่มประสิทธิภาพของงาน และความโปร่งใสในการสื่อสาร ซึ่งเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมองค์กรที่มีคุณภาพ
อย่างไรก็ตาม การนำโมเดล DevSecOps ไปปรับใช้ไม่ได้เหมาะกับทุกธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นการพัฒนาซอฟต์แวร์
ทั้งนี้ ควรเลือกใช้ซอฟต์แวร์ และบริการพัฒนาจากผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือ เช่น SCB TechX ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ และนวัตกรรมที่ทันสมัย ประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง ตอบโจทย์ธุรกิจได้จริง และครอบคลุมหลากหลายธุรกิจ อีกทั้งยังมีเจ้าหน้าที่มืออาชีพคอยให้คำปรึกษาและแนะนำ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีสุด
แนะนำบริการ xPlatform จาก SCB TechX
SCB TechX พร้อมให้บริการ xPlatform เพื่อแก้ปัญหาและข้อจำกัดต่างๆ ที่มักเกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมีให้เลือก 2 แพคเกจ คือ
Professional Package
สำหรับองค์กรขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นแพคเกจมาตรฐานที่ xPlatform ได้ออกแบบ DevOps best practices ไว้ เพียงลูกค้าสมัครใช้งาน องค์กรของคุณจะสามารถเข้าใช้งานแบบ shared executor บนพื้นฐาน Ecological system ของแพลตฟอร์มได้ทันที
Enterprise Package
สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ในระดับ Enterprise-grade ลูกค้าจะมี Workflow Executor Account บน Server เฉพาะขององค์กรเท่านั้น รวมทั้งมีระบบ Network และระบบ Security เพิ่มเติม ซึ่งสามารถติดตั้งระบบยืนยันตัวตนเข้าใช้งานตามหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานภายในองค์กรของตนเอง ทำให้องค์กรสามารถควบคุมสิทธิ์การเข้าถึง Environment และ Data ต่างๆ ได้ดีขึ้น
หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญงานพัฒนาซอฟต์แวร์ สามารถติดต่อทีม xPlatform ของเราได้ที่ Email: contact@scbtechx.io
ติดตาม SCB TechX เพื่ออัปเดตข่าวสารใหม่ๆ ก่อนใคร
Facebook: SCB TechX
Medium: medium.com/scb-techx
LinkedIn: www.linkedin.com/company/scb-tech-x/
YouTube: SCB TechX