เมื่อความต้องการในตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา “ความรวดเร็ว” ในการส่งมอบซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพจึงกลายมาเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับธุรกิจ แต่การจะพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีคุณภาพในระยะเวลาจำกัดไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป
ในบทความนี้ SCB TechX จะพาไปรู้จักกับ DevOps กลยุทธ์ที่ธุรกิจระดับแนวหน้าเลือกใช้ เพื่อส่งมอบซอฟต์แวร์คุณภาพให้กับผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
DevOps คืออะไร?
DevOps คือ แนวทางปฏิบัติที่ผสานการทำงานของทีมพัฒนา (Development) และทีมปฏิบัติการ (Operation) เข้าด้วยกัน เพื่อให้ธุรกิจสามารถส่งมอบซอฟต์แวร์คุณภาพสูงให้กับผู้ใช้งานได้ในช่วงเวลาสั้นๆ โดย DevOps พัฒนามาจากรูปแบบการทำงานเดิม ซึ่งทีมพัฒนา และทีมปฏิบัติการ ทำงานแบบแยกส่วนกัน ส่งผลให้เกิดข้อจำกัดด้านคุณภาพและระยะเวลาในการทำงาน
ทำไมต้องมี DevOps?
แม้การพัฒนาซอฟต์แวร์จะอาศัยเพียง 2 ทีมหลัก แต่ทั้ง 2 ทีม มีตำแหน่งย่อยๆแตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างดังนี้
ทีมพัฒนา
- Product Owner: รับผิดชอบในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ และบริการออกสู่ตลาด
- Project Manager: รับผิดชอบการบริหารโครงการ
- Software Architect: รับผิดชอบการออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์
- Software Developer: รับผิดชอบการพัฒนาซอฟต์แวร์
- UI/UX Designer: รับผิดชอบการออกแบบ UI และ UX
ทีมปฏิบัติการ
- Systems Administrator/Engineer: รับผิดชอบจัดการ และบริหารเครือข่าย
- Site Reliability Engineer: รับผิดชอบด้านความเสถียรของไซต์
- Cloud Engineer: รับผิดชอบ และจัดการโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์
- Security Engineer: รับผิดชอบการทดสอบ และเพิ่มประสิทธิภาพของกลไกรักษาความปลอดภัย
- Database Administrator: รับผิดชอบการรักษา และปรับปรุงประสิทธิภาพของการจัดเก็บข้อมูล
นอกจากนี้ ทั้ง 2 ทีม ยังประกอบไปด้วยตำแหน่งอื่นๆ อีกหลายตำแหน่ง ซึ่งไม่เหมาะกับการปฏิบัติงานแบบ “ต่างคนต่างทำ” เพราะก่อให้เกิดการทำงานอย่างกระจัดกระจาย ส่งผลให้มีความล่าช้า และโอกาสผิดพลาดสูง ดังนั้นหลายองค์กรจึงเปลี่ยนมาใช้แนวทางปฏิบัติ DevOps แทน เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันของแต่ละตำแหน่งจากทั้ง 2 ทีม
DevOps ทำงานอย่างไร?
การทำงานของ DevOps มุ่งเน้นไปที่การทำงานแบบสอดประสานระหว่างทีมพัฒนาและทีมปฏิบัติการ โดยมีแพลตฟอร์ม DevOps เข้ามาเป็นเครื่องมือกลางที่ช่วยให้ทั้ง 2 ทีม ทำงานร่วมกันได้อย่างลื่นไหล ซึ่งมีให้เลือกใช้หลากหลาย ทั้งแพลตฟอร์มแบบครบวงจรและแพลตฟอร์มเฉพาะ อาทิ GitLab, GitHub, Jenkins และอื่นๆ
โดยแพลตฟอร์มเหล่านี้จะครอบคลุม 6 กระบวนการหลัก ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development Life Cycle หรือ SDLC) ดังนี้
1. การวางแผนและวิเคราะห์ (Planning and Analysis)
กระบวนการกำหนดขอบเขตการทำงาน รวบรวมของต้องการของผู้ใช้ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ และวางแผนการดำเนินงาน
2. การออกแบบ (Design)
กระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งาน (User Interface หรือ UI) ฐานข้อมูล กลไกความปลอดภัย และอื่นๆ
3. การพัฒนา (Development)
กระบวนการเขียนโค้ด (Coding) และใช้เครื่องมือพัฒนาต่างๆ เพื่อสร้างซอฟต์แวร์ตามที่ออกแบบไว้
4. การทดสอบ (Testing)
กระบวนการทดสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและไม่มีข้อผิดพลาด อาทิ การทดสอบความเข้ากันได้ของระบบปฏิบัติการ การทดสอบฟังก์ชัน และการทดสอบความปลอดภัย
5. การปรับใช้ (Deployment)
กระบวนการนำซอฟต์แวร์ไปปรับใช้ในสภาพแวดล้อมจริง หรือสภาพแวดล้อมอื่นๆ เช่น สภาพแวดล้อมสำหรับการทดสอบ (Testing Environment) และสภาพแวดล้อมสำหรับการสาธิต (Staging Environment)
6. การบำรุงรักษา (Maintenance)
กระบวนการบำรุงรักษา เพื่อเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน แก้ไขข้อผิดพลาด และปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของ DevOps
การนำ DevOps มาประยุกต์ใช้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงวัฒนธรรมองค์กรอย่างหนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ อาทิ
1. ความรวดเร็วในการส่งมอบซอฟต์แวร์
ธุรกิจสามารถส่งมอบซอฟต์แวร์ให้กับผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจาก DevOps ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานระหว่างทีมพัฒนาและทีมปฏิบัติการ
2. ปรับปรุงคุณภาพและความน่าเชื่อถือของซอฟต์แวร์
DevOps เอื้อการตรวจสอบ และทดสอบซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่องตลอดวงจรการพัฒนา ส่งผลให้ทีมสามารถแก้ไข และปรับปรุงซอฟต์แวร์ได้อย่างรวดเร็ว
3. ลดต้นทุน
การทำงานร่วมกันของ DevOps อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยลดการทำงานซ้ำซ้อน และลดความผิดพลาดที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการแก้ไข
4. สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า
ธุรกิจสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถส่งมอบซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพให้กับลูกค้าได้ในระยะเวลาอันสั้น
โดยประโยชน์เหล่านี้ช่วยสร้างข้อได้เปรียบให้กับธุรกิจท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้น ซึ่งช่วยผลักดันให้ธุรกิจจำนวนไม่น้อยขึ้นไปสู่แนวหน้าของอุตสาหกรรม เช่น Amazon, Netflix, Facebook, Google และธุรกิจอื่นๆ อีกมากมาย
อย่างไรก็ตาม หลายธุรกิจเลือกใช้บริการจากบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์แทนการว่าจ้างทีมพัฒนาและทีมปฏิบัติการ เนื่องจากไม่ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นบริการหลัก แต่ยังมีความจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์คุณภาพ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งาน อาทิ สถาบันทางการเงิน บริษัทประกันภัย ผู้ให้บริการอี-คอมเมิร์ซ (E-Commerce) โดยแนะนำให้เลือกใช้บริการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความน่าเชื่อถือ มีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ที่ทันสมัย และมีกลไกการรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน
ปลดล็อกศักยภาพธุรกิจด้วยบริการ xPlatform จาก SCB TechX
SCB TechX พร้อมให้บริการ xPlatform เพื่อแก้ปัญหาและข้อจำกัดต่างๆ ที่มักเกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมีให้เลือก 2 แพคเกจ คือ
Professional Package
สำหรับองค์กรขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นแพคเกจมาตรฐานที่ xPlatform ได้ออกแบบ DevOps best practices ไว้ เพียงลูกค้าสมัครใช้งาน องค์กรของคุณจะสามารถเข้าใช้งานแบบ shared executor บนพื้นฐาน Ecological system ของแพลตฟอร์มได้ทันที
Enterprise Package
สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ในระดับ Enterprise-grade ลูกค้าจะมี Workflow Executor Account บน Server เฉพาะขององค์กรเท่านั้น รวมทั้งมีระบบ Network และระบบ Security เพิ่มเติม ซึ่งสามารถติดตั้งระบบยืนยันตัวตนเข้าใช้งานตามหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานภายในองค์กรของตนเอง ทำให้องค์กรสามารถควบคุมสิทธิ์การเข้าถึง Environment และ Data ต่างๆ ได้ดีขึ้น
หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญงานพัฒนาซอฟต์แวร์ สามารถติดต่อทีม xPlatform ของเราได้ที่ Email: contact@scbtechx.io
ติดตาม SCB TechX เพื่ออัปเดตข่าวสารใหม่ๆ ก่อนใคร
Facebook: SCB TechX
Medium: medium.com/scb-techx
LinkedIn: www.linkedin.com/company/scb-tech-x/
YouTube: SCB TechX