ในยุคดิจิทัลที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Threats) มีความซับซ้อนและมีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้องค์กรต่างๆ ต้องเผชิญกับความท้าทายด้านความปลอดภัยที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีด้วยไวรัส มัลแวร์ หรือแรนซัมแวร์ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ “Cybersecurity” กลายเป็นประเด็นสำคัญที่องค์กรต้องให้ความใส่ใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ DevSecOps ที่ต้องป้องกันการขโมยและต้องการปกป้องข้อมูลที่มีความอ่อนไหว และเพื่อสร้างความมั่นใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์ว่าจะเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย
Cybersecurity คืออะไร?
Cybersecurity หรือความปลอดภัยทางไซเบอร์ คือ การป้องกันและรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่าย และข้อมูลขององค์กรจากการโจมตีทางไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ความปลอดภัยด้านโครงสร้าง (Infrastructure Security) ความปลอดภัยเครือข่าย (Network Security) ความปลอดภัยในระบบคลาวด์ (Cloud Security) และความปลอดภัยของอุปกรณ์ IoT (IoT Security)
กล่าวได้ว่า Cybersecurity นั้นมีความสำคัญต่อองค์กรในปัจจุบันอย่างมาก เนื่องจากสามารถช่วยให้องค์กรลดความเสี่ยงต่างๆ เช่น
- ลดความสุ่มเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ ซึ่งจากการศึกษาของ University of Maryland พบว่า ระบบคอมพิวเตอร์ทั่วโลกถูกแฮกเกอร์พยายามโจมตีเฉลี่ยทุกๆ 39 วินาที หรือประมาณ 2,244 ครั้งต่อวัน
- ช่วยป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลที่มีความอ่อนไหว ไม่ให้หลุดออกสู่ภายนอก หรือตกไปในมือของผู้ไม่ประสงค์ดี
- รักษาชื่อเสียงความน่าเชื่อถือขององค์กร เพราะเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยอาจส่งผลเสียต่อชื่อเสียงธุรกิจที่ยากจะกู้คืน
ซึ่งแน่นอนว่าหากละเลยความปลอดภัยใน DevSecOps แล้วเกิดเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย อาจส่งผลเสียต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านการเงิน ชื่อเสียง รวมถึงสูญเสียความไว้วางใจจากพาร์ทเนอร์และลูกค้า ดังนั้นธุรกิจจึงควรใส่ใจในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งปัจจุบันนี้มีแนวทางอย่าง DevSecOps ที่ออกแบบมาเพื่อยกระดับความปลอดภัยในการสร้างและพัฒนาซอฟต์แวร์
การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ DevSecOps
DevSecOps เป็นแนวทางการทำงานที่ผสานการพัฒนา (Development) การรักษาความปลอดภัย (Security) และการปฏิบัติการ (Operations) ร่วมเข้าด้วยกัน โดยมุ่งเน้นการสร้างความปลอดภัยตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ผ่านการใช้งาน DevOps tools ต่างๆ ซึ่งโมเดล DevSecOps มีบทบาทในการพัฒนาซอฟต์แวร์ตั้งแต่เริ่มต้นวางแผน พัฒนา ทดสอบ ปรับใช้ และการบำรุงรักษา โดยมีหลักการทำงานดังนี้
1. Shift Left
Shift Left คือ การนำมาตรการรักษาความปลอดภัยมาใช้ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อตรวจสอบและค้นหาช่องโหว่ด้านความปลอดภัย อาทิ การวิเคราะห์โค้ด และการตรวจสอบการทำงานของโค้ดแต่ละส่วนแบบแยกกันโดยละเอียด
2. Shift Right
Shift Right คือ การตรวจสอบความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมการใช้งานจริง หรือในสภาพแวดล้อมจำลองที่ใกล้เคียงของจริง เพื่อค้นหาข้อบกพร่องและช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้นในการใช้งานซอฟต์แวร์จริง
3. Automation
สุดท้าย Automation คือ การนำเครื่องมืออัตโนมัติมาใช้ในการรักษาความปลอดภัยตั้งแต่ในขั้นทดสอบ ทั้งการตรวจสอบโค้ด สแกนหาช่องโหว่ ทำให้สามารถค้นพบและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งรักษามาตรฐานการทำงานให้สม่ำเสมอ
ข้อดีของการรักษาความปลอดภัยตามโมเดล DevSecOps
ความปลอดภัยใน DevSecOps สามารถสร้างประโยชน์ให้องค์กรหลายประการ ซึ่งปัจจุบันนี้ บริษัทใหญ่ระดับโลกหลายรายก็ได้หันมาใช้แนวทางดังกล่าว ด้วยข้อได้เปรียบในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ดังนี้
ลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ (Cyber Threats)
การผสานการตรวจสอบด้านความปลอดภัยเข้ากับทุกขั้นตอนการพัฒนาช่วยป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงป้องกันการโจรกรรมข้อมูล แต่ยังลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับลูกค้าและผู้ใช้งาน รวมถึงป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลสำคัญขององค์กร
ยกระดับความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจ
ด้วยความสามารถในการรักษาความปลอดภัยของซอฟต์แวร์และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง องค์กรจึงสามารถพัฒนาและส่งมอบซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจแข่งขันได้ในตลาดปัจจุบัน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง และต้องการความเร็วในการพัฒนาและความปลอดภัยสูง เช่น ซอฟต์แวร์ e-KYC ที่ทำงานร่วมกับระบบ NDID เป็นต้น
ลดต้นทุนการดำเนินงาน
แน่นอนว่าการยกระดับความปลอดภัยตั้งแต่ช่วงต้นการพัฒนาซอฟต์แวร์นั้นมีส่วนช่วยในการลดต้นทุน โดยเฉพาะการลดค่าใช้และประหยัดทรัพยากรในการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดในภายหลังเกิดเหตุ
สร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้าและพาร์ทเนอร์
เมื่อองค์กรสามารถวางมาตรฐานความปลอดภัยที่รัดกุม ก็จะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้าในการใช้บริการ พร้อมเพิ่มโอกาสในการจับมือกับพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจใหม่ๆ
ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
DevSecOps ช่วยสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ดีขึ้นผ่านการทำงานร่วมกันอย่างราบรื่นระหว่างทีมพัฒนา ทีมความปลอดภัย และทีมปฏิบัติการ พร้อมสนับสนุนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส และทำให้การทำงานเป็นระบบระเบียบ สามารถตรวจสอบได้
ในยุคที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์มีความซับซ้อนมากขึ้น การผสานความปลอดภัยด้าน Cybersecurity เข้ากับกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ผ่านโมเดล DevSecOps จึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อทุกองค์กร ซึ่ง SCB TechX พร้อมให้บริการ xPlatform ที่ช่วยองค์กรพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
แนะนำ xPlatform แพลตฟอร์ม DevOps จาก SCB TechX
1. Professional Package
สำหรับองค์กรขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นแพคเกจมาตรฐานที่ xPlatform ได้ออกแบบ DevOps Best Practices ไว้ เพียงลูกค้าสมัครใช้งาน ก็สามารถเข้าใช้งาน แบบ Shared Executor บนพื้นฐาน Ecological System ของแพลตฟอร์มได้ทันที
2. Enterprise Package
สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ในระดับ Enterprise-grade ลูกค้าจะมี Workflow Executor Account บน Server เฉพาะขององค์กรเท่านั้น รวมทั้งมีระบบ Network และระบบ Security เพิ่มเติม สามารถติดตั้งระบบยืนยันตัวตนเข้าใช้งานตามหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานภายในองค์กรของตนเอง ทำให้องค์กรสามารถควบคุมสิทธิ์การเข้าถึง Environment และ Data ต่างๆ ได้ดีขึ้น
หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญงานพัฒนาซอฟต์แวร์ สามารถติดต่อทีม xPlatform ของเราได้ที่ Email: contact@scbtechx.io