TechX Sharing : วิธีการทำงานแบบ remote อย่างมีประสิทธิภาพ

ไทย

TechX Sharing : How to work remotely and productively

SCB TechX มีการจัด Share Experiences เมื่อวันที่ 19/11/2564 โดยมี K.Mek Srunyu Stittri ซึ่งเป็น Vice President of Quality จาก GitLab , San Francisco Bay Area ซึ่งเป็นคนไทยคนแรกที่ GitLab และก็ยังคงเป็นคนเดียวอยู่ ณ ตอนที่เขียน Blog นี้ มาแชร์ประสบการณ์ให้เราฟังกันในหัวข้อ How to work remotely and productively

 

Blog นี้ จึงทำการสรุปมาให้ทุกคนได้อ่านกันว่า How to work remotely and productively ที่พี่เมฆมาเล่าให้ฟังเนี่ย มันมีเนื้อหายังไงกันบ้างนะ บอกไว้ก่อนเลยว่า Share Experience รอบนี้เนี่ยเป็น Exclusive Session สุดๆเลยยยย

47

✅ About GitLab
GitLab เนี่ยตั้งแต่ปี 2012 เริ่มต้นโดยการไม่มี Office ตั้งแต่ต้น โดยมีการทำงานแบบ 100% Fully remote company ตั้งแต่ก่อนที่จะมี COVID-19 มานานมากแล้ว ซึ่งก็มีข้อดีสำหรับตัวบริษัทเอง เช่น

  • ไม่มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ Office
  • สามารถ Recruit ได้จากทั่วโลก

แล้ว ก็ยังมีข้อดีสำหรับพนักงานเองอีก เช่น

  • มี เวลา เหลือสำหรับคนรอบข้าง ครอบครัว คู่สมรส หรือ ลูก
  • มีความยืดหยุ่นในการจัดสรรเวลาของตัวเอง
  • อยู่ใกล้บ้าน ใกล้ครอบครัวในกรณีฉุกเฉิน


ซึ่งทาง GitLab วัดที่คุณค่าของงาน ไม่ได้วัดเวลาที่เรานั่งโต๊ะทำงาน สามารถทำงานที่ไหนก็ได้ ทำให้ช่วยแก้ปัญหาของพนักงานบางส่วนที่บางครั้งมีเหตุต้องย้ายที่อยู่อาศัยทำให้ต้องย้ายงานตามไปด้วย แต่ที่ GitLab งานจะตามคุณไปทุกที่

✅ Team Communication
แน่นอนว่าการทำงานแบบ 100% Fully remote เนี่ย การสื่อสารสำคัญมาก ทั้งภายในทีม และภายในองค์กรเอง โดยที่ GitLab ทำกันเนี่ยจะมีอยู่ 5 ส่วนหลักๆ ดังนี้

Daily Company Call
โดยจะ Run ตอน 8 โมงเช้าทุกวัน(เวลาที่อเมริกา) โดยแต่ละแผนกเนี่ยจะมา Update ของแต่ละแผนกตัวเองว่า KPI ของตัวเอง ดีขึ้น หรือแย่ลง เพราะอะไร วันนี้อาจจะเป็น Marketing พรุ่งนี้อาจจะเป็น Engineer และวันถัดไปก็จะเป็นของแผนกอื่นๆ และจะมีการบันทึก Presentation ไว้ตลอด เพื่อให้คนที่ไม่สามารถ Join ได้มาเปิดดู Recording ย้อนหลังได้

Weekly 1:1 Meeting
ก็คือการ 1:1 ระหว่างหัวหน้ากับสมาชิกในทีมรายสัปดาห์ เพื่อพบปะ ติดต่อกัน ถามไถ่กันว่าเป็นยังไง สบายดีมั้ย งานเยอะเกินไปมั้ย ยังมีความสุขกับงานอยู่มั้ย เพื่อที่หากเกิดอะไร หรือมีเรื่องที่สมาชิกในทีมไม่สบายใจ จะได้ช่วยกันแก้ปัญหาได้

Weekly Team Meeting
Session นี้จะคล้ายกับ Daily Company Call แต่จะเล็กกว่า โดยจัดให้แต่ละทีม แต่ละแผนกโดยมีความเป็นกันเองมากกว่า สบายๆชิวๆ กว่า Daily Company Call

Coffee Chats
ก็คือทุกคนสามารถ Schedule เวลากับใครก็ได้ ข้ามแผนกก็ได้ แบบ 1:1 ประมาณ 15 นาที เพื่อคุยกัน

AMA Meetings
AMA ย่อมาจาก Ask me anything ส่วนใหญ่จะเป็น Session ที่จัดโดย Leader , VP , C-Level โดยเปิดให้คนอื่นถามอะไรเราก็ได้

โดย 5 ส่วนนี้เป็นการสื่อสารกัน ซึ่งหลายๆส่วนก็ดูเป็นอะไรที่น่า Follow ตาม Use Case ของ GitLab เหมือนกันนะ

✅ Core Value
โดย GitLab ได้เปิด Public ให้ทุกคนที่สนใจได้เข้าไปอ่านกันได้แบบไม่ปิดบังที่ GitLab Values

โดย Core Value ของทาง GitLab เนี่ยส่วนนึงก็ Support Culture การทำงานแบบ 100% Fully remote ขององค์กรเองด้วย โดยหลักๆ ก็มี 6 ข้อตามนี้

🤝 Collaboration
เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์เดียวกัน ในทีมต้องทำงานด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ การช่วยเหลือผู้อื่นคือเรื่องสำคัญ แม้ว่าจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับเป้าหมายของเราหรือว่าของทีม แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่ทุกคนควร และควรร้องขอเมื่อต้องการการช่วยเหลือจากผู้อื่น

Work asynchronously with fully remote workforce.

📈 Results
เน้นเรื่องผลลพธ์ของงาน มากกว่าเวลาที่อยู่ที่โต๊ะทำงาน เพราะถ้าหากคุณใช้เวลาในการทำงานแค่ 4 ชั่วโมง แต่ได้ผลลัพธ์ทำกับคนอื่นที่ใช้เวลาแค่ 8 ชั่วโมงเนี่ย ก็เป็นผลดีกับทั้งบริษัท แล้วก็กับตัวคุณเอง

ข้อนี้นี่ผมชอบมาก แล้วก็น่าจะเอามาใช้กับ Thai Culture มากๆ ในบริษัทที่ยังมีการลงชื่อเข้างาน เลิกงาน หรือแม้กระทั่ง Communication Tools ขึ้น Status Away แล้วมองว่าคนนั้นไม่ทำงาน

Track outcomes, not hours.

🌐 Diversity
สร้างความหลากหลายทางเพศ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความหลากหลายทางสภาพแวดล้อม ที่ทุกคนสามารถพูดคุย ร่วมงาน และ เติบโตไปด้วยกันได้

Hire those who add to culture, not those who fit with culture. We want cultural diversity instead of cultural conformit

👣 Iteration
เน้นการทำงานโดยแบ่งให้เล็กที่สุด และก็ทำให้เร็วที่สุด โดยการ Scope งานให้เพียงพอต่อ Ship Time เพื่อให้เรามีเวลามากพอในการเปลี่ยน Solution หรือ ปรับแก้สิ่งต่างๆให้ดีขึ้น

Minimum Viable Change (MVC); if the change is better than the existing solution, ship it.

👁️ Transparency
ไม่มีการปิดบังอะไรกัน ทุก Agenda meetings ที่ไม่เกี่ยวกับ Legal หรือ เกี่ยวกับ Profit or Revenue เนี่ยเปิดเป็น Public หมดทุก Meetings

Everything at GitLab is public by default: Strategy, Roadmap, Quarterly goals, Handbook, and others

ก็จะคำถามในหลายๆคนที่มาอ่านว่า เอ๊ะ Core Value เนี่ยจะมีคน Follow ตามหรอโดยจากการพูดคุยกับพี่เมฆ Case นี้เนี่ย ทาง GitLab มองว่าเป็น Job Description ของทุกๆคนเลยที่จะต้องช่วยกันผลักดันให้มันเกิดขึ้นจริง และยังคงอยู่ต่อไป

✅ Culture of Collaboration
หัวข้อนี้จะพูดถึง 1 ใน 6 Core Value ด้านบน ว่าการสร้าง Culture ให้มี Collaboration ของทาง GitLab เนี่ยทำกันยังไง สร้างกันในรูปแบบไหน

หลักๆเลยก็คือ ทุกคนควรช่วยเหลือกันมันไม่ได้หมายความว่าการที่คนอื่นมาช่วยคุณเค้าจะได้ผลงานชิ้นนั้นไป เช่นกันกับว่าการที่คุณไปช่วยคนอื่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะได้ผลงานของเค้าเช่นกันโดยพี่เมฆก็ยกหัวข้อสำคัญๆ มาทั้งหมด 6 หัวข้อ ให้เราได้อ่านกันดังนี้

Kindness
ความเมตตาต่อเพื่อนร่วมงาน เราต้องเน้นเรื่องนี้ ถ้าเราอยากจะมีองค์กรที่ไม่ Toxic ไม่มีการใส่ร้ายป้ายสีกัน โดยการเมตตากัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

Blameless problem solving
เวลาแก้ปัญหาเนี่ย เราไม่ควรที่จะชี้ไปที่คน เราจะต้องเน้นแก้ปัญหากันที่ Process โดยหลักการง่ายๆก็คือ เราแข็งกระด้าง ดุดัน ต่อ Process แต่เราอ่อนโยนต่อเพื่อนร่วมงาน แก้ที่ปัญหา ไม่ใช่ตัวบุคคล

 

Be hard on the process , But be kind to the people

Say thanks
ขอบคุณในที่สาธารณะ ในที่ที่ทุกคนมองเห็น อย่าง GitLab ก็จะ thanks กันผ่าน Slack channel ที่ชื่อว่า thanks เพราะไม่ได้เจอหน้ากันเนื่องจากทำงานแบบ remote

No Ego
อย่าเถียงเพื่อที่จะชนะอย่างเดียว เราไม่ได้วัดคุณค่าของคุณที่ตัวบุคคล เราวัดกันที่งาน และ คนไม่ใช่งาน ถ้ามีปัญหาก็คือคุณมีปัญหากับงาน ไม่ใช่กับคน

Short toes
การเหยียบเท้ากัน เช่น การที่คุณนำเสนอ Solution A แต่มีคนไม่เห็นด้วยแล้วเสนอ Solution B ที่เป็นทางที่ดีกว่า เราควรจะรับฟังและให้เค้าเหยียบเท้า เพราะเค้าเข้ามาแนะนำการทำงานเราให้ดีขึ้น ยื่นมือเข้ามาช่วยในงานของเรา

Negative feedback is 1:1
เวลามีข้อเสีย หรือเรื่องที่จะต้องติ ตำหนิคนอื่น ไม่ทำในที่สาธารณะ ต้องนัด 1:1 Session กับเค้า

✅ Culture of Efficiency
หัวข้อนี้จะพูดถึง 1 ใน 6 Core Value ด้านบน ว่าการสร้าง Culture ให้มี Efficiency ของทาง GitLab เนี่ยทำกันยังไง สร้างกันในรูปแบบไหน

Write things down
เขียนทุกอย่างลงไปให้หมด ทุก Meeting Agenda ต้องมีคน Noted โดยคนที่ไม่ได้มีคิวพูด Summary ทุกอย่างลงไป เพราะทาง GitLab เชื่อว่า

“ The faintest pencil is better than the sharpest memory. ”

หรือว่า ดินสอที่จางที่สุด ดีกว่าความจำที่แม่นที่สุด เพราะว่า เมื่อมีการเขียนคนที่สามารถรับรู้ได้จะไม่ได้มีแค่คนเดียว แต่ถ้าเป็นความจำก็จะรู้แค่คนเดียว

Boring solutions
เลือก Tools ที่ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องใหม่สุดเสมอไป มันอาจจะดูน่าเบื่อ แต่ว่าทุกคนรู้จักมันทุกคนใช้งานมันได้ ทุกคนจะได้ไม่สร้าง Technical Debt เพิ่ม

Manager of One
เป็น 1 ใน Value ของ GitLab ที่มี Impact มากๆ ทุกๆคนเป็นผู้จัดการตัวเอง จัดการเวลาของตัวเอง จัดการงานของตัวเอง และจัดการครอบครัวของตัวเอง เพราะทุกคนมีความเป็นผู้นำ มีความรับผิดชอบ มีแรงผลักดันของตัวเอง เพื่อทำงานให้มีประสิทธิภาพ นั่นและ Manager of One ที่คุณจะต้องเป็นผู้จัดการของตัวเอง

Be respectful of other’s time
เวลาของคนอื่นสำคัญมากๆ เราต้องเคารพเวลาของคนอื่น เช่น การ Meeting ต้องเริ่ม และจบ ตามเวลาที่กำหนด ไม่ปล่อยให้ Meeting อื่นโดนกินเวลาไป และ หากเรามีอะไรจะต้องถามกัน คนอื่นไม่จำเป็นต้องตอบทันที สามารถมาตอบในเวลาที่เค้าสะดวกได้

 

สุดท้ายพี่เมฆแชร์ว่าเราไม่สามารถ Change Culture ได้ในทีเดียว แต่เราต้องค่อยๆเริ่มจากทีมเล็กๆ แล้วค่อยๆ ขยายออกไปเรื่อยๆ โดยมีวิธีทำที่ชัดเจน มีการวัดผลที่ชัดเจน องค์กรของเราก็จะค่อยๆเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ แค่ต้องใช้เวลา

ถ้าหากอยากมีโอกาสพูดคุยกับตัวจริงสาย Tech ทั้งภายในและภายนอกประเทศ SCB TechX มองหาผู้ร่วมงานจำนวนมาก หากใครสนใจอยากจะร่วมงานกับ Tech Company ที่มี Culture คูลๆ แบบนี้ ก็สามารถตามไปดูก็ได้ที่ด้านล่างนี้เลยยยย

สนใจร่วมงานกับเรา คลิก

Related Content

  • ทั้งหมด
  • Blogs
  • Insights
  • News
    •   Back
    • Blockchain
    • Finance
    • Tech innovation
    •   Back
    • Joint ventures
    • Leadership
    • Service & Products
    • Partnership
    • Events
    • Others
    •   Back
    • Product
    • Strategy
    • Technology
    • User Experience
    • Careers
    • Data Science
    • Lifestyle

Your consent required

If you want to message us, please give your consent to SCB TechX to collect, use, and/or disclose your personal data.

| การเพิกถอนความยินยอม

หากคุณต้องการเพิกถอนการให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล กรุณาส่งคำร้องหาเรา

Vector

Message sent

We have receive your message and We will get back to you shortly.