มาทำความรู้จัก BNPL กัน

ไทย

BNPL คืออะไร

blog bnpl 1

ในช่วงโควิดที่ผ่านมาเป็นปัจจัยผลักดันให้ผู้คนหันมาซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ และแบบผ่อนจ่ายมากขึ้น บริการ Buy Now, Pay Later (ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า BNPL เป็นตัวเลือกบริการผ่อนจ่ายแบบใหม่ที่มีการเติบโตสูงมาก โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี 2565 จะมีขนาดตลาดถึง 6.2 พันล้านเหรียญ และในปี 2573 คาดว่าจะโตถึง 3.9 หมื่นล้านเหรียญ ยิ่งดึงดูดผู้ให้บริการเจ้าใหม่ ๆ โดดเข้ามาในตลาดนี้ ตัวอย่างเช่น Amazon ได้มีการทำพาร์ทเนอร์กับ Affirm ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ BNPL เพื่อให้ลูกค้าเลือกผ่อนจ่ายได้โดยไม่เสียดอกเบี้ย และล่าสุด Apple ได้เพิ่มบริการ Apple Pay Later เข้าไปเพื่อให้ผู้ซื้อสินค้าผ่าน Apple Pay สามารถเลือกผ่อนจ่ายเงินผ่านบริการ BNPL ได้แล้ว

ความแตกต่างระหว่าง BNPL กับการผ่อนจ่ายผ่านบัตรเครดิต
ถึงแม้บริการผ่อนจ่ายเพื่อซื้อสินค้าจะมีให้บริการผ่านบัตรเครดิตอยู่แล้ว แต่บริการ BNPL นั้นมีความแตกต่างจากการผ่อนจ่ายแบบเดิม ได้แก่

ขั้นตอนการขอสินเชื่อใน BNPL ง่ายกว่าบัตรเครดิต — โดยผู้ให้บริการ BNPL ไม่จำเป็นต้องขอเอกสาร และข้อมูลเครดิตจากศูนย์กลางเพื่อพิจารณาวงเงินสินเชื่อ ผู้ให้บริการสามารถใช้ข้อมูลภายในเพื่อพิจารณาความเสี่ยง เช่น เจ้าของแพลตฟอร์ม E-commerce สามารถนำประวัติการใช้จ่ายภายในระบบ หรือจำนวนเงินคงเหลือในบัญชีมาใช้เป็นเกณฑ์การประเมินวงเงินที่จะได้รับ เป็นต้น ส่วนการพิจารณา และอนุมัติของ BNPL นั้นจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้าที่จุดขาย (POS) ต่างกับบัตรเครดิตที่ให้สินเชื่อแบบหมุนเวียน (Revolving Credit) ซึ่งสามารถนำวงเงินสินเชื่อมาใช้จ่ายได้เรื่อย ๆ

อัตราดอกเบี้ย และวิธีการผ่อนจ่ายที่หลากหลายกว่าบัตรเครดิต — ผู้ให้บริการมีข้อเสนอการผ่อนจ่ายแบบไม่คิดดอกเบี้ยในงวดแรก ๆ และคิดดอกเบี้ยในงวดหลังซึ่งอาจสูงถึง 30% ต่อปี ผู้ให้บริการบางเจ้าไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือค่าปรับแต่จะมีผลต่อคะแนนเครดิตหากผิดนัดชำระหนี้ ส่วนวิธีการผ่อนจ่ายจะแบ่งเป็นเท่ากันทุกงวดโดยผู้ซื้อสินค้าที่มีมูลค่าสูงอาจต้องมีการชำระเงินดาวน์บางส่วนก่อนด้วย

อย่างไรก็ตามบัตรเครดิตก็ยังเป็นที่ยอมรับในการใช้จ่ายมากกว่าบริการ BNPL เนื่องจากเป็นเครือข่ายการจ่ายเงินที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางกับร้านค้าทั่วโลก แต่บริการ BNPL อาจจะใช้ได้เฉพาะกับภายในแพลตฟอร์มของตัวเอง หรือกับพาร์ทเนอร์เท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะเจาะจงกับสินค้าหมวดแฟชั่น เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ผู้ให้บริการ​ BNPL รายใหญ่ในปัจจุบัน
เนื่องจากบริการ BNPL อยู่ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจทำให้บริษัทต่าง ๆ มีการแข่งขันกันเพื่อขยายฐานลูกค้าโดยจะมีจุดขาย คือ การมีช่วงปลอดดอกเบี้ย ยกเว้นค่าธรรมเนียม และค่าปรับ ขั้นตอนการพิจารณาวงเงินสินเชื่อที่รวดเร็ว การออกสินเชื่อโดยไม่กระทบกับคะแนนเครดิต และจำนวนร้านค้าที่รองรับการจ่ายเงินที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งหน้าร้าน และออนไลน์ เช่น

Affirm — ที่มีจุดเด่นในการออกสินเชื่อวงเงินน้อยที่ไม่กระทบกับคะแนนเครดิต และปลอดดอกเบี้ย โดยมีร้านค้าเข้าร่วมมากกว่า 200,000 ร้าน รองรับการจ่ายเงินบนแพลตฟอร์ม E-commerce เจ้าใหญ่ เช่น Amazon, Wallmart, American Airlines และ Agoda เป็นต้น ปัจจุบันบริษัทได้มีการรองรับการจ่ายเงินไปถึง 1.3 หมื่นล้านเหรียญ

Klarna — ผู้ให้บริการ BNPL ที่เน้นสินค้าประเภทแฟชั่น จุดเด่นคือการผ่อนจ่ายโดยไม่คิดดอกเบี้ยจำนวนสี่งวด โดยที่แพลตฟอร์มได้มีการรองรับการจ่ายเงินไปแล้วถึง 8 หมื่นล้านเหรียญ รวมถึงมีร้านค้าที่รองรับมากกว่า 400,000 ร้าน ปัจจุบันได้มีการขยายธุรกิจไปยังธุรกิจบัตรเครดิต และทำระบบ loyalty ด้วย

ในปี 2564 ก็ได้มีการเข้าซื้อกิจการจากบริษัทผู้ให้บริการทางการเงินเจ้าใหญ่ ๆ เช่น Paidy ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกบริการ BNPL ในประเทศญี่ปุ่นที่มีร้านค้าเข้าร่วมมากกว่า 700,000 ร้าน ได้ถูกซื้อกิจการจากบริษัทส่งเงินข้ามประเทศอย่าง PayPal ในมูลค่าสูงถึง 2.7 พันล้านเหรียญ และบริษัท Block ผู้ให้บริการจ่ายเงินแบบดิจิตอลก็ได้มีการเข้าซื้อบริษัท AfterPay ด้วยมูลค่าสูงถึง 2.9 หมื่นล้านเหรียญ ซึ่งนับว่าเป็นการเข้าซื้อกิจการที่มีมูลค่าสูงที่สุดที่เกิดขึ้นในประเทศออสเตรเลีย

บริการ BNPL ส่งผลกระทบต่อ SCB TechX อย่างไร
บริการ BNPL จะส่งผลกระทบเชิง Disrupt กับธนาคาร และผู้ออกสินเชื่อต่างๆ อย่างมาก เนื่องจาก BNPL จะเข้ามาเปลี่ยน Customer Journey โดยจะมาเป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อ และธุรกิจสินเชื่อทำให้เกิดการแย่งส่วนแบ่งในส่วนของดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมร้านค้า รวมถึงโอกาสที่ผู้ให้บริการ BNPL จะสร้างนวัตกรรม และผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นทาง SCB TechX จึงได้มีการเพิ่มความสามารถในการสร้างนวัตกรรมด้านธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลโดยได้มีการพาร์ทเนอร์กับ Mambu (ผู้ให้บริการธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบ SaaS บนแพลตฟอร์มคลาวด์) AWS และ Publicis Sapient เพื่อช่วยต่อยอดสำหรับการสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับสภาพการแข่งขันในปัจจุบัน และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

References
https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/buy-now-pay-later-market-report
https://www.affirm.com/press/releases/amazon-partners-with-affirm
https://www.apple.com/newsroom/2022/06/apple-unveils-new-ways-to-share-and-communicate-in-ios-16/
https://investor.pypl.com/news-and-events/news-details/2021/PayPal-to-Acquire-Paidy/default.aspx
https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-08-01/square-to-buy-australia-payment-firm-afterpay-for-29-billion
https://scbtechx.io/?p=7322

Related Content

  • ทั้งหมด
  • Blogs
  • Insights
  • News
    •   Back
    • Blockchain
    • Finance
    • Tech innovation
    •   Back
    • Leadership
    • PointX Products
    • Events
    • Others
    • Joint ventures
    • Partnership
    • Services & Products
    •   Back
    • Data Science
    • Careers
    • Lifestyle
    • Product
    • Strategy
    • Technology
    • User Experience

Your consent required

If you want to message us, please give your consent to SCB TechX to collect, use, and/or disclose your personal data.

| การเพิกถอนความยินยอม

หากคุณต้องการเพิกถอนการให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล กรุณาส่งคำร้องหาเรา

Vector

Message sent

We have receive your message and We will get back to you shortly.