แชร์ประสบการณ์ในสไตล์ UX: แพลตฟอร์ม Robinhood ให้อะไรมากกว่าที่คิด

ไทย

blog robinhood platform5

เคยมีโอกาสได้พูดคุยกับคุณท็อปทีม UX ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของแพลตฟอร์ม Robinhood ซึ่งเจ้าตัวบอกว่าดีใจมากที่ได้ทำงานนี้เพราะนอกจากจะได้ทำงานที่ท้าทายแล้วยังได้ความรู้ประสบการณ์การทำงานที่หาที่ไหนไม่ได้ง่ายๆ เลยชวนมาเล่าวิถีการทำงานพร้อมแชร์ Key Takeaways ที่ได้รับเผื่อเป็นประโยชน์กับคนทำงานทั่วไปและคนที่สนใจงาน UX ไปตามอ่านกันค่ะ

เมื่อช่วงเดือนเมษายน 2020 ที่ผ่านมา เป็นช่วงที่ COVID-19 กำลังระบาดหนัก ทางทีม Product Designers ที่มี UX/UI Designer 2 คน และ UX Writer 1 คน ร่วมกับทีมอื่นๆได้รับมอบหมายให้ดูแลงานใหม่ที่น่าสนใจมากนั่นคือ แพลตฟอร์ม Robinhood หรือ แพลตฟอร์ม ฟู้ดเดลิเวอรีที่ตั้งใจช่วยเหลือ และ สนับสนุนผู้ประกอบการร้านอาหารเล็กๆ ในการเพิ่มโอกาสทางการขาย ซึ่งตอนรับงานนี้ทุกคนตื่นเต้นมากแต่เป็นความตื่นเต้นที่แฝงไปด้วยความกังวล เพราะนอกจากความท้าทายที่จะได้ทำงานที่แตกต่างจากงานธนาคารที่คุ้นเคยแล้ว ยังเป็นครั้งแรกที่ต้องปรับสไตล์การทำงานของทีมเป็น Work from Home 100% นั่นคือทีมต้องวางแผนงาน พร้อมๆกับ กำหนดวิถีการทำงานร่วมกันใหม่ทั้งหมดเพื่อให้งานออกมามีประสิทธิภาพสูงสุดในระยะเวลาที่จำกัด หลังจากได้รับโจทย์มาแล้ว ทีมงานทุกคนจึงช่วยกันวางแผนการทำงาน วิเคราะห์หาวิธีแก้ปัญหาหลายๆ ทาง เมื่อโครงสร้างการทำงานเริ่มชัดเจน ทีมก็ใส่เกียร์เดินหน้าเต็มที่เพื่อพิชิตเส้นชัยให้ได้ตามเป้าหมาย

วิธีการทำงานของทีม

blog robinhood platform1

เราทำงานกันแบบ Agile ดังนั้นทีม Product Designers จึงได้กระจายตัวไปทำงานอยู่ในกลุ่มต่างๆ ของทีมงานแพลตฟอร์ม Robinhood หน้าที่หลักของทีมคือการออกแบบหน้าตา ขั้นตอน และฟังก์ชันการใช้งานของแอป (Wireframe, Flow) รวมถึงสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานบนหน้าจอมือถือทั้งหมด โดยได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น สอดคล้องกับสไตล์การทำงานแบบ Work from Home นั่นคือการนำโปรแกรม Figma ที่อำนวยความสะดวกให้ทีมสามารถทำงานในเวลาเดียวกันได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยที่ไม่จำเป็นต้องรอให้ใครคนใดคนนึงทำงานเสร็จแล้วอีกคนถึงจะเข้ามาทำงานต่อ นอกจากนี้ทาง UX writer ยังสามารถนำคำที่คิดไว้ไปลองวางบนหน้าจอจริงๆ ได้เลย แล้วยังสามารถแชร์ลิงก์กระจายงานต่อให้กับทีมอื่นๆ ได้โดยง่าย และแก้ไขงานแบบเรียลไทม์ในที่ประชุมให้ทุกคนเห็นพร้อมกันได้อย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ดี ความท้าทายของ แพลตฟอร์ม Robinhood คือการมีรายละเอียดที่คาดไม่ถึงหลายอย่าง แต่ทีมเอาชนะสิ่งนี้ได้ด้วยการนำผลิตภัณฑ์มาวิเคราะห์หาความเชื่อมโยงระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย (User Journey) อย่างละเอียดและเป็นขั้นตอน จากนั้นจึงค่อยๆออกแบบ หน้าตาของแอป แล้วนำเสนอให้ทีมและลูกค้า (Business Unit) ช่วยกันมองในมุมของผู้ใช้งานว่าหน้าตาและขั้นตอนของ แพลตฟอร์ม Robinhood ตามที่ออกแบบมานั้นตอบโจทย์ความต้องการหรือไม่ เพื่อให้ประสบการณ์ที่ส่งมอบแด่ผู้ใช้งานเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ดีที่สุด

การออกแบบ

blog robinhood platform2

การออกแบบไม่ใช่แค่การมี Pixel ที่สมบูรณ์แบบใน Layout ที่สมบูรณ์แบบเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงประสบการณ์ที่เน้นผู้ใช้งานเป็นหลักด้วย เมื่องานออกแบบหน้าตาของแอปและขั้นตอนต่างๆเบื้องต้นเรียบร้อยแล้วทีม PO (Product Owner), BA (Business Analyst), SA (System Analyst) และ SolAr (Solution Architect ) จะมาช่วยวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ทางเทคนิคและระบบให้อีกที หากงานค่อนข้างเป็นไปได้ยาก ก็จะช่วยแนะนำและหาวิธีการอื่นๆมานำเสนอ เพื่อให้ความต้องการของลูกค้าบรรลุผลสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ อย่างไรก็ดีในช่วงแรก ๆ ของการสร้าง แพลตฟอร์ม Robinhood ยังไม่มีระบบการออกแบบ (Design system) ทีมต้องเรียนรู้และปรับการทำงานไปพร้อมกัน แต่หลังจากผ่านไปประมาณ 3 เดือนทุกอย่างเริ่มลงตัวมากขึ้น ทีมจึงได้พัฒนา Design System เครื่องมือที่เป็นเหมือนไบเบิลว่าการจะพัฒนางานขึ้นมาชิ้นหนึ่งนั้นต้องทำอะไรบ้างและทำอย่างไร มีเชคลิสต์อย่างไร

หลังจากเปิดตัว แพลตฟอร์ม Robinhood ไประยะหนึ่ง พบว่าแพลตฟอร์มได้รับความสนใจจากผู้ใช้งานจริงเป็นอย่างมาก ทางลูกค้า จึงตัดสินใจต่อยอดการบริการด้านอื่นๆเพิ่มเข้ามาอาทิบริการ ซื้อของ, ส่งของ และท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งช่วงนี้เองทีมจึงได้ขยายสมาชิกเพิ่มขึ้น มี Product Designers 4 คน และ UX Writer 1 คนพร้อมกับมีการปรับปรุง Design System ของแพลตฟอร์ม Robinhood ด้วยโดยนำเทคโนโลยีใหม่ๆอย่าง Global Language Unified Experience (Global Design Systems) หรือ GLUE เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ แพลตฟอร์ม ได้ดีขึ้นทั้งการตรวจสอบความถูกต้องขององค์ประกอบทุกอย่างในแพลตฟอร์มอย่างละเอียด เช่นสีที่ใช้ ลักษณะปุ่มที่ใช้ ตัวอักษรมีขนาดเหมาะสมกับหน้าจอมือถือหรือไม่ และยังรวมไปถึงการช่วยลดระยะเวลาการทำงานให้แก่ทีม เป็นต้น

Key Takeaways
จากประสบการณ์ที่ได้มีโอกาสทำ แพลตฟอร์ม Robinhood นั้นมีสิ่งที่ทีมได้เรียนรู้จากการทำงานและขอสรุปออกมาเป็น Key Takeaways 3 หัวข้อย่อยดังนี้

  1. Call for help and collaborate
blog robinhood platform3

คนที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และสามารถช่วยให้งานออกแบบมีคุณค่าตอบโจทย์ความต้องการได้ดีที่สุดก็คือ ตัวลูกค้า (Business unit), ผู้ใช้งาน (End user) และ เพื่อนร่วมงานของเรานั่นเอง เมื่อมีคำถามหรือเริ่มมี “เอ๊ะ” อยู่ในใจขอให้รวบรวมข้อคำถามเหล่านั้นพร้อมทั้งความเห็นหรือวิธีการแก้ปัญหาของเราเอาไว้ เพื่อเช็คความถูกต้องจากลูกค้าอีกครั้ง หรืออาจทำการสอบถามจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายกลุ่มเล็กๆได้ว่ามีความคิดเห็นอย่างไร หรือลองสอบถามความเห็นกับเพื่อนร่วมงานแม้ว่าเราจะรับผิดชอบคนละงานกันก็ตามแต่ประสบการณ์ตรงที่แต่ละคนมีเชื่อหรือไม่ว่า กลับกลายเป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์มากจริงๆ

2. Be user-oriented and always put your design to a test

blog robinhood platform4

เพื่อให้งานออกแบบออกมาดี ตอบโจทย์ลูกค้า หรือ สร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้งาน ต้องหมั่นนำเครื่องมือหรือ เครื่องทุ่นแรงต่างๆมาลองคิด ลองทำ ลองผิดลองถูกดูบ่อยๆเพราะหลายๆครั้งที่การทดลองใช้เครื่องมือใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆกลับได้ผลลัพธ์ที่ดีเกินคาด เช่น การออกแบบวิธีการประชุมแบบใหม่ในช่วง Work from Home กลับกลายเป็นว่าสามารถเปลี่ยนปัญหาการทำงานคนละที่ให้กลายเป็นการแก้ปัญหา จากที่เคยใช้เวลาประชุมกันยาวๆ กลับกลายเป็นสั้นลงและได้งานหรือ Productivity ที่ดีขึ้นกว่าเดิมด้วย

3. Forge bonds with other teams

blog robinhood platform5

การทำงานในองค์กร ไม่ใช่ระบบการทำงานแบบคนเดียว แต่เป็นการร่วมมือกันทำงานหลายคน และหลากหลายทีม การเป็นคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในองค์กรนั้น ทำให้การทำงานร่วมกันเป็นไปได้อย่างราบรื่น ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องช่วยเหลือคนอื่น หรือการได้รับการช่วยเหลือเกื้อกูลจากทีมเดียวกันหรือต่างทีมก็ตาม เหล่านี้ช่วยส่งผลให้งานบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ท้ายนี้ขอสรุปสั้นๆว่า บทความนี้เป็นการบอกเล่าถึงประสบการณ์ของ Robinhood UX Team ที่ได้รับจากการทำแพลตฟอร์ม Robinhood ตั้งแต่เริ่มโปรเจค ซึ่งสมาชิกทุกคนรู้สึกโชคดีที่มีโอกาสได้ทำแพลตฟอร์มดีๆที่ช่วยเหลือคนตัวเล็กและสนับสนุนร้านอาหารเล็กๆในการเพิ่มช่องทางการขายได้ ดังนั้นทีมจึงอยากแชร์ความรู้ ประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานเผื่อเป็นประโยชน์แก่ทุกคนค่ะ สำหรับใครที่อยากทำงานสายเทคฯที่มาพร้อมกับโอกาสมากมายแบบนี้คลิก Link สมัครงานด้านล่างได้เลย แล้วมาเป็นเพื่อนร่วมงานกันนะคะ

Related Content

  • ทั้งหมด
  • Others
  • Jobs
  • Tech innovation
  • Events
  • Services & Products
  • Joint ventures
  • Leadership
  • User experience
  • Technology
  • Strategy
  • Product
  • Lifestyle
  • Data science
  • Careers
  • Finance
  • Blockchain
45

SCB TechX มีการจัด TechX Sharing กันทุกวันศุกร์เป็นประจำอยู่แล้ว สำหรับ Session แรกของปี 2022 เมื่อวันที่ 14/01/2022 ที่ผ่านมานั้น พี่รูฟ Twin Panitsombat ซึ่งเป็น Software Stylist...

December 14, 2021

Your consent required

If you want to message us, please give your consent to SCB TechX to collect, use, and/or disclose your personal data.

| The withdrawal of consent

If you want to withdraw your consent to the collection, use, and/or disclosure of your personal data, please send us your request.

Vector

Message sent

We have receive your message and We will get back to you shortly.