Face Recognition คือเทคโนโลยีที่ปลอดภัยจริงไหม? กฎหมายว่ายังไง?

ไทย

SEB-TechX-SEO-MAY-C01-1

การสแกนใบหน้าดูเหมือนจะเป็นเทคโนโลยีที่เราทุกคนคุ้นเคยกันดีแล้ว เพราะไม่ว่าจะปลดล็อกมือถือ เข้ารหัสในแอปฯ หรือจะสมัครใช้บริการธุรกรรมต่างๆ ก็ล้วนสามารถใช้ใบหน้าของเรายืนยันตัวตนได้ ทั้งสะดวก รวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องจำหรือนึกรหัสผ่านให้เสียเวลา

อย่างไรก็ตาม การใช้งาน Face Recognition อาจยังมี “ช่องโหว่” และเคยมีข้อพิพาททางกฎหมายเกี่ยวกับนวัตกรรมนี้เกิดขึ้นด้วย แล้วแบบนี้ Face Recognition คือเทคโนโลยีที่ปลอดภัยจริงไหม? SCB TechX จะมาอธิบายให้รู้กันในบทความนี้

Face Recognition คืออะไร?

เชื่อว่าทุกคนคงทราบดีอยู่แล้วว่า Face Recognition คือ เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าที่มีความสามารถในการจดจำและแยกแยะใบหน้าของแต่ละบุคคล แต่เคยทราบไหมว่า เทคโนโลยีการจดจำใบหน้ามีพื้นฐานจากการใช้ “AI (Artificial Intelligence)” เข้ามาวิเคราะห์เอกลักษณ์บนใบหน้าของเรา ซึ่งสามารถจดจำได้ทั้งดวงตา จมูก คิ้ว ปาก และโครงหน้า ถือเป็นเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำ รวดเร็ว และช่วยให้ธุรกิจเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าในการทำ eKYC ได้ จึงเป็นเหตุให้สถาบันและองค์กรต่างๆ ทั่วโลกหันมาประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนี้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Face Recognition และ eKYC

Facial Recognition ถือเป็นข้อมูลประเภทใด?

Face Recognition เป็นวิธียืนยันตัวตนประเภท Biometric Authentication ดังนั้น ข้อมูลใบหน้าจึงถือเป็นข้อมูลประเภท “ข้อมูลชีวภาพ” ซึ่งหากอ้างอิงตามข้อกฎหมาย ก็นับว่าเป็นข้อมูลอ่อนไหว (Sensitive Infomation) เพราะข้อมูลนี้สามารถใช้ในการระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้นั่นเอง

Face Recognition ข้อดี ข้อเสีย

SEB-TechX-SEO-MAY-C01-2

เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าอาจดูเป็นสิ่งที่เข้ามาอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตและธุรกิจได้อย่างดี ทั้งนี้เมื่อมีข้อดีก็มีข้อเสีย ดังนั้นมาดูรายละเอียดเพิ่มเติมกันเลย

ข้อดีของ Face Recognition

  • ความปลอดภัยสูง – การจดจำใบหน้า สามารถช่วยยกระดับความปลอดภัยได้ดี จำกัดสิทธิ์การเข้าถึงเฉพาะเจ้าของข้อมูลได้เท่านั้น ป้องกันการขโมยข้อมูลหรือการปลอมแปลงตัวตนได้ดีขึ้น
  • สะดวกรวดเร็ว – การยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าเป็นกระบวนการที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที ระยะเวลาการทำธุรกรรม ลดปัญหาอย่างการลืมรหัสผ่านได้
  • ต่อยอดการใช้งานได้ – Facial Recognition สามารถนำไปเชื่อมต่อกับระบบ API อื่นๆ ได้ เอื้อต่อการทำ KYC หรือระบุตัวตนแบบอัตโนมัติ เพื่อรักษาความปลอดภัย

ข้อเสียของ Face Recognition

  • มีโอกาสผิดพลาด – ถึงแม้ Face Recognition จะมีความแม่นยำสูง แต่ก็สามารถเกิดความผิดพลาดได้ เนื่องจาก AI ต้องอาศัยคุณภาพและความละเอียดของกล้องในการตรวจสอบใบหน้า ทั้งนี้หากผู้ใช้งานสวมแว่นตาหรือหมวก หรือรูปหน้าเปลี่ยนไป ก็อาจทำให้ไม่สามารถระบุตัวตนได้
  • การใช้งานผิดจุดประสงค์ – ผู้ควบคุมข้อมูลที่ไม่โปร่งใส อาจนำข้อมูลใบหน้าของผู้ใช้บริการไปใช้ในทางที่ผิด เช่น การส่งต่อข้อมูลให้กับ Third-Party เป็นประโยชน์เชิงพาณิชย์
  • การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล – ระบบ Face Recognition ใช้งาน AI ที่สามารถระบุตัวตนจากข้อมูลรูปภาพหรือวิดีโอได้ ซึ่งอาจเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หากเจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม นำไปสู่การฟ้องร้องได้นั่นเอง

เรื่องน่ารู้: Facial Recognition กับ ประเด็นทางกฎหมาย

SEB-TechX-SEO-MAY-C01-3

การพัฒนาเทคโนโลยี Facial Recognition สามารถอำนวยความสะดวกแก่ทั้งลูกค้า ผู้ใช้บริการ และธุรกิจได้อย่างมาก แต่อย่างที่บอกไปว่าข้อมูลใบหน้าถือเป็นข้อมูลอ่อนไหว จึงมีประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงเกิดขึ้นมากมาย

ประเด็นแรก คือ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล (Privacy and Civil Rights) ที่ขัดกับสิทธิขั้นพื้นฐาน ละเมิดข้อกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น GDPR, CCPA และ PDPA ของไทย รวมไปถึงการล่วงล้ำเสรีภาพของพลเมือง (Civil Liberty) อีกด้วย จนเกิดการฟ้องร้องต่อศาล ที่บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook และ Google เคยตกเป็นจำเลยมาแล้ว

อีกหนึ่งประเด็นที่เกิดขึ้น คือ เรื่องความแม่นยำของเทคโนโลยี โดยสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีสหรัฐอเมริกา (NIST) ได้มีการศึกษา Accuracy Rate หรือความแม่นยำของอัลกอริทึมที่นำมาใช้ในการตรวจสอบใบหน้า แล้วพบว่า ผลการตรวจสอบใบหน้าไม่ได้ตรงเสมอไป ซึ่งข้อผิดพลาดมักเกิดขึ้นกับการยืนยันตัวบุคคลที่มีผิวสีและใบหน้าคนเอเชีย อีกทั้งมักตรวจสอบใบหน้าของเพศหญิงคลาดเคลื่อนมากกว่าเพศชายอีกด้วย แต่ถึงอย่างนั้น ในปัจจุบัน AI ก็ได้ถูกพัฒนา ทำให้อัตราการเกิดปัญหาดังกล่าวลดลงแล้ว

Facial Recognition ในประเทศไทย

หากพูดถึงกฎหมายไทย ข้อมูลที่ได้จาก Face Recognition ถือเป็นข้อมูลอ่อนไหว โดยในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 26 ได้ระบุไว้ว่า

ห้ามมิให้เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใด ซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด โดยไม่ได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อมูลชีวภาพตามวรรคหนึ่งให้หมายถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดจากการใช้เทคนิคหรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการนำลักษณะเด่นทางกายภาพหรือทางพฤติกรรมของบุคคลมาใช้ทำให้สามารถยืนยันตัวตนของบุคคลนั้นที่ไม่เหมือนกับบุคคลอื่นได้ เช่น ข้อมูลภาพจำลองใบหน้า ข้อมูลจำลองม่านตา หรือข้อมูลจำลองลายนิ้วมือ

สรุปได้ง่ายๆ ว่า กฎหมายจะให้ความคุ้มครองข้อมูลชีวภาพเป็นพิเศษ และธุรกิจจะไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ หากไม่ได้รับความยินยอมที่ “ชัดแจ้ง” จากเจ้าของข้อมูล

SEB-TechX-SEO-MAY-C01-4

สรุป

ในภาคธุรกิจ กฎหมายไทยก็ให้การยอมรับการใช้ Face Recognition และ Biometrics ต่างๆ สำหรับการทำ KYC ในการตรวจสอบและยืนยันตัวตนลูกค้า ก่อนทำธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชีเงินฝาก ซื้อขายหลักทรัพย์ สมัครประกันวินาศภัย และธุรกรรมอื่นๆ แม้กฎหมายจะค่อนข้างสนับสนุนเทคโนโลยีเหล่านี้ และเป็นเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยสูง แต่ผู้ควบคุมข้อมูลก็ต้องมีความรับผิดชอบ ประกอบกับมาตรการในการดูแลความปลอดภัยของข้อมูล ส่วนผู้บริโภคเอง ก็จำเป็นต้องตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ให้ครบถ้วน ก่อนกดยินยอมนั่นเอง

บริการ eKYC จาก SCB TechX

สำหรับผู้ประกอบการกำลังวางแผนนำ Face Recognition เข้ามาใช้งานกับธุรกิจ เพื่อทำ eKYC สร้างความปลอดภัย และความสะดวกในการดำเนินการ ทาง SCB TechX มีบริการ eKYC ที่ครอบคลุมและชาญฉลาด พร้อมมีบริการให้คำปรึกษาและแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจ โดยแบ่ง eKYC ออกได้เป็น 4 ฟีเจอร์เด่น ดังนี้

  • Liveness & Optical Character Recognition (OCR)
    บริการตรวจสอบผู้ใช้บริการกับบุคคลในบัตรประชาชนว่าเป็นบุคคลเดียวกันจริงหรือไม่ พร้อมเปลี่ยนภาพถ่ายบัตรประชาชนของผู้ใช้บริการให้เป็นข้อมูลดิจิทัลได้ทันที เพื่อลดขั้นตอนในการกรอกข้อมูลของผู้ใช้บริการและเจ้าหน้าที่
  • Liveness & Face Recognition
    บริการตรวจสอบว่าผู้ใช้บริการกับบุคคลในภาพถ่ายเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ โดยใช้ภาพถ่ายและระบบ Face Recognition เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับรูปในบัตรประชาชน
  • DOPA Gateway
    ตรวจสอบข้อมูลบัตรประชาชนของผู้ใช้บริการว่าตรงกับฐานข้อมูลของกรมการปกครองหรือไม่
  • NDID Proxy
    เชื่อมต่อแพลตฟอร์มดิจิทัลไอดีเพื่อยืนยันตัวตนแบบ Cross platform ช่วยให้ธุรกิจไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับ NDID โดยตรง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อและดูแลระบบ

หากสนใจ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Email: contact@scbtechx.io
ดูรายละเอียดบริการยืนยันตัวตน eKYC (e-KYC Thailand) คลิก

ติดตาม SCB TechX เพื่อข่าวสารและอัปเดตใหม่ๆ ก่อนใคร
Facebook: SCB TechX
Medium: medium.com/scb-techx
LinkedIn: www.linkedin.com/company/scb-tech-x/
YouTube: SCB TechX

Related Content

  • ทั้งหมด
  • Blogs
  • Insights
  • News
    •   Back
    • Blockchain
    • Finance
    • Tech innovation
    •   Back
    • Leadership
    • PointX Products
    • Events
    • Others
    • Joint ventures
    • Partnership
    • Services & Products
    •   Back
    • Data Science
    • Careers
    • Lifestyle
    • Product
    • Strategy
    • Technology
    • User Experience

Your consent required

If you want to message us, please give your consent to SCB TechX to collect, use, and/or disclose your personal data.

| การเพิกถอนความยินยอม

หากคุณต้องการเพิกถอนการให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล กรุณาส่งคำร้องหาเรา

Vector

Message sent

We have receive your message and We will get back to you shortly.