แน่นอนว่าข้อมูลกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของธุรกิจในปัจจุบัน แต่ก็ต้องอาศัยกระบวนการและเครื่องมือต่างๆ ในด้าน Data Engineering เพื่อให้ธุรกิจสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ โดยกระบวนการทาง Data Engineering ที่มักเห็นผ่านตาบ่อยๆ คือ ETL ส่วน Reverse ETL ถือเป็นแนวคิดใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากนัก
ในบทความนี้ SCB TechX จะพาไปทำความรู้จักว่า Reverse ETL คืออะไรและมีความแตกต่างกับ ETL อย่างไรบ้าง
ทำความรู้จักกับ ETL และ Reverse ETL คืออะไร
โดย ETL และ Reverse ETL คือ กระบวนการในการจัดการกับข้อมูลดิบ เพื่อให้แผนกต่างๆ ในองค์กรสามารถนำข้อมูลมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้
- ความหมายของ ETL
ก่อนอื่นขอแนะนำให้รู้จักกับ ETL ซึ่งย่อมาจาก Extract-Transform-Load โดยเป็นกระบวนการดึงข้อมูลดิบ (Extract) จากต้นทางหลายแหล่ง เช่น ข้อมูลจากแผนกการตลาด ข้อมูลจากแผนกพัฒนาธุรกิจ ไปจนถึงข้อมูลจากฝ่ายดูแลลูกค้า แล้วทำการแปลงข้อมูล (Transform) ให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อจัดเก็บ (Load) ใน Data Warehouse
หลังจากนั้น ทีมวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) จะนำข้อมูลที่ถูกจัดเก็บใน Data Warehouse ไปทำการประมวลผลข้อมูล เพื่อส่งต่อให้กับแผนกอื่นๆ ต่อไป อาทิ แผนกบัญชี แผนกการตลาด ไปจนถึงแผนกทรัพยากรบุคคล อย่างไรก็ตาม การส่งต่อข้อมูลไปยังแผนกอื่นๆ อาจล่าช้าได้ เพราะกระบวนการ ETL ใช้เวลานาน ในกรณีที่ข้อมูลมีจำนวนมากและมีรูปแบบหลากหลาย จะทำให้การแปลงข้อมูลล่าช้าตามไปด้วย ซึ่งเป็นปัญหาที่มักเกิดกับองค์กรและธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะมีข้อมูลปริมาณมหาศาลให้จัดการ ส่งผลให้ความล่าช้ากระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือการดำเนินงานภายใน
ยกตัวอย่างเช่น ฝ่ายการตลาดที่บางครั้งต้องการรีบใช้ข้อมูลด่วนสำหรับการทำ Churn Prediction หรือการวิเคราะห์ว่าลูกค้าคนไหนมีแนวโน้มยกเลิกบริการ เพื่อหาแนวทางรักษาลูกค้าเอาไว้ แต่ฝ่ายการตลาดอาจไม่สามารถรักษาลูกค้าเอาไว้ได้ทัน เพราะการทำ Churn Prediction ต้องรอข้อมูลจากกระบวนการ ETL ที่ล่าช้า
- ความหมายของ Reverse ETL
เมื่อกระบวนการ ETL ไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้งานข้อมูลได้อย่างทันท่วงที กระบวนการที่เรียกว่า Reverse ETL จึงถือกำเนิดขึ้นมา โดยการทำ Reverse ETL คือ การที่เราทำการ Extract Transform เหมือนเดิมแต่การทำ Load ของข้อมูลนั้นจะทำการ Load ข้อมูลเข้า Data Warehouse และเข้าระบบฐานข้อมูลของ Applications หรือ SaaS Platform ต่างๆ เช่น Salesforce, Zendesk เพื่อที่จะเอาข้อมูลที่ผ่านการ ETL ไปใช้ใน Applications ได้ในทันที
โดยเครื่องมือที่ใช้ทำ Reverse ETL มักจะเชื่อมต่อกับหลายแพลตฟอร์ม เช่น Salesforce, Marketo, Google Ads, Zendesk และ Mailchimp เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือทำ Reverse ETL จะทำหน้าที่ดึงข้อมูลจาก Data Warehouse แล้วแปลงให้อยู่ในรูปแบบเดียวกันกับแพลตฟอร์มปลายทางที่แต่ละฝ่ายในธุรกิจใช้แตกต่างกัน
การนำ Data มาใช้งานด้วย Reverse ETL
สำหรับตัวอย่างในการนำ Data มาใช้งานด้วย Reverse ETL ได้แก่
1. Reverse ETL กับ Mailchimp
โดย Mailchimp เป็นแพลตฟอร์มส่งอีเมลที่ใช้ทางการตลาด ซึ่งข้อมูลของลูกค้าที่ถูกดึงเข้าไปใน Mailchimp จะถูกใช้เพื่อทำ Personalize Marketing ด้วยฟีเจอร์ต่างๆ ของ Mailchimp เช่น การส่งอีเมลสอบถามไปยังลูกค้าที่ซื้อสินค้าครั้งล่าสุดครบ 30 วัน เป็นต้น
2. Reverse ETL กับ Salesforce
แพลตฟอร์มทางการขายอย่าง Salesforce มีบทบาทในการส่งเสริมประสิทธิภาพของฝ่ายขาย เมื่อมีการทำ Reverse ETL ข้อมูลของลูกค้าเข้าไปใน Salesforce จะช่วยให้ฝ่ายขายเห็นข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าและสามารถวางแผนปิดการขายได้
3. Reverse ETL กับระบบ Call Center
การ Reverse ETL ข้อมูลของลูกค้าไปยังระบบ Call Center จะช่วยให้แผนก Call Center ได้รับข้อมูลจากลูกค้า เช่น รีวิวความพึงพอใจต่อสินค้าและบริการจากลูกค้า ในกรณีที่รีวิวออกมาเชิงลบ แผนก Call Center จะสามารถติดต่อและดูแลเกี่ยวกับความพึงพอใจของลูกค้าได้
ทั้งนี้แพลตฟอร์มที่แต่ละแผนกใช้อาจมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ฟีเจอร์การทำงานของแพลตฟอร์ม ต้นทุนและเสถียรภาพ เป็นต้น
ตัวอย่างเครื่องมือ Reverse ETL
โดย TechX Data Platform จาก SCB TechX คือ หนึ่งในเครื่องมือทำ Reverse ETL ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลให้กับธุรกิจได้ในราคาที่ย่อมเยากว่า ซึ่ง TechX Data Platform จะทำการ Reverse ETL ด้วยการดึงข้อมูลจาก Data Warehouse แล้วประมวลผลออกไปยังเครื่องมือต่างๆ ที่รองรับการเชื่อมต่อกับ TechX Data Platform เช่น แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย แอปพลิเคชัน ไปจนถึงระบบ Call Center
นอกจากนี้ TechX Data Platform ยังมีฟีเจอร์สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งรองรับการวิเคราะห์ขั้นสูงด้วย AI และ Machine Learning ด้วย ช่วยอำนวยความสะดวกให้บุคลากรหลายตำแหน่งทำงานร่วมกันได้ในแพลตฟอร์มเดียว อาทิ Business Analysts, Data Engineer และ Data Scientist เป็นต้น
โดยธุรกิจสามารถไว้ใจในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลได้ เมื่อเลือกใช้งาน TechX Data Platform เพราะมีทั้งเครื่องมือและนโยบายรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลที่น่าเชื่อถือ พร้อมรองรับการจัดการข้อมูลตามกรอบการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance Framework) และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (PDPA)
แนะนำ TechX Data Platform จาก SCB TechX
SCB TechX พร้อมให้บริการแพลตฟอร์มจัดการข้อมูลแบบครบวงจร TechX Data Platform ที่ช่วยให้ธุรกิจจัดการข้อมูลจำนวนมากได้ ตั้งแต่ขั้นตอนนำข้อมูลเข้าระบบ จัดเก็บ จัดการ วิเคราะห์ และรักษาความปลอดภัยของข้อมูล อีกทั้งยังมีความสามารถในการปรับแต่ง ส่งผลให้รองรับได้ทั้งธุรกิจขนาดเล็กอย่าง Startup ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่
หากสนใจดูรายละเอียดบริการแพลตฟอร์ม TechX Data Platform (คลิก)
สอบถามบริการนวัตกรรม E-KYC, Data Platform และโซลูชันอื่นๆ เพิ่มเติม ได้ที่ Email: contact@scbtechx.io
ติดตาม SCB TechX เพื่ออัปเดตข่าวสารใหม่ๆ ก่อนใคร
Facebook: SCB TechX
Medium: medium.com/scb-techx
LinkedIn: www.linkedin.com/company/scb-tech-x/
YouTube: SCB TechX