การตรวจจับใบหน้าและการจดจำใบหน้า หรือที่เรียกว่า Liveness Detection หรือ Face Recognition เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการรู้จักลูกค้าขององค์กรหรือธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่ากระบวนการ Electronic Know Your Customer (eKYC) ซึ่งการตรวจจับใบหน้าหมายถึงการตรวจสอบว่าข้อมูลไบโอเมตริกซ์ (Biometrics) บนใบหน้าของบุคคลที่ถูกบันทึกหรือภาพถ่ายที่อยู่ในฐานข้อมูลเป็นบุคคลเดียวกันหรือไม่และเพื่อเป็นยืนยันตัวตนของบุคคลนั้น ๆ
Liveness Detection หรือ Face Recognition ช่วยให้มั่นใจได้ว่ากระบวนการจดจําใบหน้าจะดําเนินการแบบเรียลไทม์และตรวจสอบว่าเป็นบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริง สามารถช่วยเสริมความแข็งแกร่งทั้งทางด้านความปลอดภัยและความถูกต้องให้กับกระบวนการ eKYC ซึ่งเป็นระบบการยืนยันตัวตนที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ ได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้องค์กรหรือธุรกิจสามารถเปรียบเทียบไบโอเมตริกซ์ (Biometrics) ใบหน้าของบุคคลกับภาพที่อยู่ในฐานข้อมูลว่าเป็นบุคคลเดียวกันหรือไม่ โดยที่ระบบ eKYC นั้น สามารถป้องกันการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวหรือการหลอกลวงโดยใช้ภาพพิมพ์หรือภาพดิจิทัลได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
นอกจากประโยชน์ของ Liveness Detection and Face Recognition ที่ได้กล่าวไปเบื้องต้นแล้ว เรามาทำความรู้จักประโยชน์ที่หลากหลายในเชิงลึก โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
- การป้องกันการฉ้อโกง: องค์กรหรือธุรกิจสามารถลดความเสี่ยงของการฉ้อโกงและการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวได้อย่างดีโดยการรตรวจจับใบหน้าและการจดจำใบหน้า เทคโนโลยีเหล่านี้ทําให้บุคคลที่ใช้รูปภาพหรือวิดีโอปลอมแปลงเพื่อหลอกลวงระบบสามารถทำได้ยากขึ้น
- มีกระบวนการที่คล่องตัว: ระบบตรวจจับใบหน้าและระบบจดจําใบหน้าช่วยให้กระบวนการยืนยันตัวตนมีประสิทธิภาพและคล่องตัว สามารถจัดการกับการตรวจสอบทีละจํานวนมาก ๆ ได้อย่างรวดเร็วประหยัดเวลาและทรัพยากรทั้งภาคองค์กรหรือธุรกิจและลูกค้า
- สร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้งาน: การตรวจจับใบหน้าและการจดจําใบหน้าสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้งาน เพราะง่ายสําหรับบุคคลที่มีความจำเป็นในการยืนยันตัวตน ซึ่งเทคโนโลยีนี้ช่วยลดขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารด้วยตนเอง
- บริการส่วนบุคคล: เทคโนโลยีการจดจําใบหน้าสามารถช่วยให้ธุรกิจปรับแต่งการให้บริการโดยสามารถรับรู้ตัวตนของลูกค้าได้เป็นอย่างดี เช่น นำไปสร้างแคมเปญการตลาดที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย
- ปฏิบัติตามข้อกําหนดที่ถูกต้อง: การตรวจจับใบหน้าและการจดจําใบหน้าสอดคล้องกับข้อกําหนดด้านกฎระเบียบและมาตรฐานการปฏิบัติตามข้อกําหนดสําหรับการยืนยันตัวตน เช่น กฎระเบียบของ eKYC ซึ่งการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้องค์กรหรือธุรกิจสามารถมั่นใจได้ว่าปฏิบัติตามภาระผูกพันทางกฎหมายและความปลอดภัยที่จําเป็น
โดยสรุปแล้วการตรวจจับใบหน้าและการจดจําใบหน้านํามาซึ่งความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น มีความแม่นยํา สามารถป้องการฉ้อโกง มีความคล่องตัว สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติตามกฎระเบียบทําให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรหรือธุรกิจ รวมทั้งฝั่งของลูกค้า
หากองค์กรหรือธุรกิจของคุณประกอบธุรกิจเกี่ยวกับทางด้านการเงิน บริการ e-Wallet และ e-Payment การซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประกันชีวิตและประกันวินาศภัยต้องการที่จะทำ eKYC เพื่ออำนวยความสะดวกให้ทั้งองค์รวมทั้งลูกค้าเพื่อให้ได้รับโอกาสในการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจให้สูงขึ้น บริษัท SCB TechX พร้อมให้คำปรึกษาและสามารถแนะนำโซลูชัน eKYC ที่ตอบโจทย์ธุรกิจได้อย่างตรงจุด โดยมีบริการดังนี้
บริการ eKYC จาก SCB TechX
SCB TechX มีบริการ eKYC ที่ครอบคลุม พร้อมทั้งมีบริการให้คำปรึกษาและแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจ โดยแบ่ง eKYC ที่แบ่งออกได้เป็น 4 ฟีเจอร์เด่น ดังนี้
- Liveness & Optical Character Recognition (OCR)
บริการตรวจสอบผู้ใช้บริการกับบุคคลในบัตรประชาชนว่าเป็นบุคคลเดียวกันจริงหรือไม่ พร้อมเปลี่ยนภาพถ่ายบัตรประชาชนของผู้ใช้บริการให้เป็นข้อมูลดิจิทัลได้ทันที เพื่อลดขั้นตอนในการกรอกข้อมูลของผู้ใช้บริการและเจ้าหน้าที่ - Liveness & Face Recognition
บริการตรวจสอบว่าผู้ใช้บริการกับบุคคลในภาพถ่ายเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ โดยใช้ภาพถ่ายและระบบ Face Recognition เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับรูปในบัตรประชาชน - DOPA Gateway
ตรวจสอบข้อมูลบัตรประชาชนของผู้ใช้บริการว่าตรงกับฐานข้อมูลของกรมการปกครองหรือไม่ - NDID Proxy
เชื่อมต่อแพลตฟอร์มดิจิทัลไอดีเพื่อยืนยันตัวตนแบบ Cross Platform ช่วยให้ธุรกิจไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับ NDID โดยตรง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อและดูแลระบบ
หากสนใจระบบยืนยันตัวตน eKYC ของ SCB TechX เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษา พร้อมทั้งช่วยประเมินความพร้อมของระบบในการใช้งาน eKYC โดยสามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้
Email: contact@scbtechx.io
Website: https://scbtechx.io/ekyc/
Facebook: https://www.facebook.com/scbtechx/
LinkedIn: www.linkedin.com/company/scb-tech-x/
Medium: https://medium.com/scb-techx