TechX Sharing: MarTech เรื่องเล่าจาก Skooldio

ไทย

TechX Sharing 4

TechX Sharing ครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก คุณหน่อน ภาชรี ฑูรกฤษณา Head of Growth จาก Skooldio มาช่วยแชร์เรื่องราวของ MarTeach : Marketing for Engineers ที่ใช้ศาสตร์ของ Marketing, Data, Logic และ Technology เข้าด้วยกัน โดยหัวข้อความรู้นี้จะดึง 5 เรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นมาให้อ่าน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านจริงๆและสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้กับทุกธุรกิจ ซึ่งประกอบไปด้วย

  1. Performance Marketing คืออะไร
  2. การทำ SEO (Search Engine Optimization) เป็นแบบไหน
  3. Tracking โดยใช้ UTM ทำอย่างไร
  4. Website Tracking ควรติด Track อะไร แบบไหนบ้าง
  5. ยิง Ads ด้วย Facebook Pixel ช่วยเราได้จริงหรือ

ซึ่งเรื่องต่างๆเหล่านี้คุณหน่อนถ่ายทอดได้อย่างเข้าใจง่าย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงถ้าพร้อมแล้วเราไปเติมอาหารสมองกันเลย

Performance Marketing
Performance Marketing เป็น Digital Marketing อย่างหนึ่งที่ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน รันแคมเปญ ดูผลลัพธ์ ต้องเป็นสิ่งที่วัดได้ทั้งหมด เช่น เนื้อหา (Content) นี้สร้างให้คนกดลิงค์ เข้ามาหาเราได้ 54 คน จาก 54 คน มาซื้อของหรือใช้บริการเราจริงๆ (Convert) ได้ 20 คน แล้วกลับมาซื้อซ้ำ 10 คน สิ่งเหล่านี้จะเป็น Marketing สายที่ใช้ตัวเลขเป็นหลัก และเราจะทำงานกันเหมือน Dev เลยคือมีความ Active และมี Iterative Feedback วน loop อยู่เรื่อยๆเพื่อให้ผลออกมาดีที่สุด คือทำแล้วนำผลที่ได้มาแก้ไข ทำใหม่ รันแคมเปญ แก้ไข ทำใหม่ เป็นต้น

อย่างไรก็ดีการจะทำให้ Performance Marketing ได้ผลออกมาดีนั้นมีเทคนิคที่ควรมีติดตัวไว้คือความรู้ด้าน Marketing Funnel เพราะ Marketing Funnel เป็นตัวที่จะกำหนดว่าในแต่ละช่วงของลูกค้าเราควรจะสื่อสารอย่างไรและเราควรจะใช้เครื่องมือทางการตลาดหรือ ธุรกิจอะไรที่จะดึงลูกค้าไว้ได้

TechX Sharing 5

Marketing Funnel นั้นมีหลายแบบแต่แบบที่นำเสนอในวันนี้เป็นแบบเดียวกับที่ Google ใช้มี 4 ขั้นตอน ปากของ Funnel จะกว้างที่สุดสื่อถึงว่าในขั้นตอนแรกเราพยายามจะเอาคนเข้ามาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ พอผ่านแต่ละขั้นตอนของตัว Funnel ไป คนจะเริ่มน้อยลงเรื่อยๆจนกระทั่งคนที่มาซื้อจริงๆ และ คนที่กลับมาซื้อซ้ำ Loyal Customers จะเหลือน้อยลงที่สุด สำหรับแต่ละขั้นตอนของ Marketing Funnel มีดังต่อไปนี้

TechX Sharing 6

1. Awareness เป็นช่วงที่คนเพิ่งรู้จักเรา กลยุทธ์ต่างๆที่ใช้ในการสร้าง Awareness ได้มีหลายอย่างอาทิ

1.1 SEO ถ้าเราอยู่อันดับสูงๆ คนค้นหากด Search ใน Google มาเจอเราก็จะมารู้จักเราได้

1.2 SEM เหมือน SEO แต่เป็น Ads ถ้าไม่อยากเสียเวลามาปรับ Keywords ก็อัดเงินให้เราติดอันดับแรกๆได้

1.3 Display Ads คือ Ads ที่เราเห็นในลักษณะ Banner ตามหน้า Website ต่างๆ

1.4 Social Media Marketing เป็นการทำ Social Media ต่างๆอาทิ Facebook Page, Instagram, TikTok ฯลฯ

1.5 Social Media Advertising การซื้อ Ads ผ่านช่องทาง Social media ต่างๆ

1.6 Video Marketing เป็นการทำ VDO หลากหลายรูปแบบให้คนรู้จักเรา

1.7 Influencer Marketing เป็นการไปจ้าง หรือ อาศัยพลัง Connection ของ Influencer มาทำให้คนรู้จักเราในมุมกว้างขึ้น

1.8 Content Marketing การเขียนบล็อกต่างๆ

TechX Sharing 7

2. Consideration พอคนเริ่มสนใจสินค้า หรือ บริการของเราแล้วจะเริ่มพิจารณา ค้นหารายละเอียดว่าสินค้า บริการเราเป็นอย่างไร คู่แข่งเราคือใคร ระหว่างเรากับคู่แข่งควรจะซื้อของใคร ราคาใครถูกกว่าแพงกว่า โดยกลยุทธ์ที่ใช้ในช่วง Consideration ได้แก่

2.1 การบอกให้ลูกค้ารู้ว่า Unique Selling Proposition ของเราคืออะไร เรามีอะไรที่แตกต่างจากคู่แข่งบ้าง

2.2 เราอาจจะใส่ Testimonials ของลูกค้าที่พูดถึงเรา ให้คะแนน Rating ให้ดาวเรา เอามาโน้มน้าวให้ลูกค้าใหม่สนใจ

2.3 มี Case Studies ต่างๆให้เข้าใจว่าคนที่มาซื้อสินค้า หรือ ใช้บริการของเราได้ประโยชน์อะไรบ้าง

2.4 การทำ Remarketing Ads กับคนที่เคยเข้ามาหน้าเวปไซต์เราแล้วออกไปแล้ว เราก็นำ Ads ตามไปให้ลูกค้าเห็นแล้วกลับมาหาเราอีก เช่นการที่ลูกค้าเข้ามาแอปหรือเว็ปไซต์ เราเพียงแค่เลื่อนๆดูยังไม่กดซื้อ พอลูกค้าออกไปแล้วอาจจะมาเข้า Facebook ต่อเราก็นำ Ads เราไปให้ลูกค้าเห็นอีกครั้งในนั้น เป็นต้น

2.5 สร้าง Webinars ให้คนมารู้จักเรามากขึ้น เข้าใจว่าเรามีความเชี่ยวชาญในด้านไหน

2.6 การทำ Email Marketing หรือ Newsletter ส่งให้ทุกๆสัปดาห์ ทุกๆเดือน

2.7 Social media Marketing ยังคงทำ Social Media ต่างๆอาทิ Facebook Page, Instagram, TikTok ให้ลูกค้าเห็นอย่างต่อเนื่อง

TechX Sharing 8

3. Conversion คือทำยังไงให้ลูกค้าในอนาคตของเรากดซื้อ ให้มาลงทะเบียนกับเรา กลยุทธ์ที่ใช้ในช่วง Conversion ได้แก่

3.1 ทำ Optimize ตัวเว็ปไซต์ มีการติด Tracking วัดผลต่างๆว่าลูกค้าชอบคลิกในส่วนไหน สนใจแบบใดก็ปรับให้เข้ากับพฤติกรรมของลูกค้าที่สุด

3.2 Optimize Checkout Process ถ้าเราสามารถทำให้ขั้นตอนการซื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดาย ลูกค้าก็จะมีความสุข อยากที่จะซื้อสินค้าจากเว็ปไซต์เรามากกว่า

3.3 ทำรูปนำเสนอสินค้าและบริการให้สวยงามมากขึ้น

3.4 เขียน Copy ให้ดีขึ้น เขียนให้เข้าใจง่าย ชัดเจน

3.5 มี Live Chat ถ้าลูกค้าสนใจแต่ต้องการข้อมูลเพิ่มอยู่ก็สามารถถามได้เลย

3.6 อาจจะไปตามคนที่เค้าเคย Add to Cart ไว้แล้วยังไม่ได้ซื้อก็ไปชวนให้กลับมา

3.7 เพิ่ม Speed ความเร็วของเว็ปไซต์ให้ดีขึ้น เร็วขึ้น ลูกค้าก็จะมีความสุขและอยากใช้เว็ปไซต์เรามากขึ้น

3.8 มีการให้ลองใช้ก่อนแล้วค่อยคิดเงิน ถ้าใช้แล้วไม่ชอบยินดีคืนเงิน มีการันตีแบบนี้ลูกค้าก็อยากมาใช้มากขึ้น

3.9 ลอง AB Testing 2 อย่างพร้อมๆกัน อาจเป็นหน้าเวปไซต์ที่เปลี่ยนแค่สีปุ่มแล้วดูว่าสีปุ่มไหนทำให้คนชอบกดมากกว่ากัน

TechX Sharing 9

4. Loyalty คือการที่คนซื้อแล้วกลับมาซื้อซ้ำใหม่ หรือ คนที่มีความจงรักภัคดีกับแบรนด์เรา หรือ ชอบแล้วยังช่วยบอกต่อด้วย ซึ่งกลยุทธ์ที่ใช้ในช่วง Loyalty ได้แก่

4.1 การใช้ Reward Programs อย่างการเก็บสะสม Mile ทำให้อยากบินกับสายการบินเดิมเพราะว่ายิ่งบินมากก็จะยิ่งได้ Mile มากขึ้น

4.2 Email Marketing เป็นการเตือนลูกค้าให้กลับมาหาเราอยู่เรื่อยๆ

4.3 การใช้ Social Shares ต่างๆ

4.4 Remarketing เป็นลูกค้าที่เคยเข้ามาแล้วเราอยากให้กลับมาหาเราอีก ก็ใช้สื่อยิงไปหาลูกค้าเชิญลูกค้ากลับมา เช่น ถ้าเราเป็นบริษัทขายคอร์สเรียน เรามีลูกค้าที่เคยซื้อหรือใช้บริการคอร์สเรียน UX ไปแล้ว พอเรามีคอร์สเรียนเกี่ยวกับ UI เราก็สามารถ Remarket กลับไปหาคนที่เคยซื้อ UX ได้เพราะมีแนวโน้มน่าจะสนใจคอร์สใหม่ที่มีความใกล้เคียงหรือต่อยอดคอร์สเดิมได้

4.5 เชิญชวนให้ลูกค้าเก่ามารีวิว จะได้มี Testimonials ไปดึงลูกค้าใหม่ๆมาได้อีก

4.6 มีข้อเสนอพิเศษใน วันเกิด วันครบรอบ

4.7 มีของฟรีให้ลูกค้าบ้าง เป็นต้น

Working with SEO

SEO จัดอยู่ในช่วงของ Awareness ปากกว้างสุดของ Marketing Funnel โดย SEO คือ Search Engine Optimization หนึ่งใน Marketing Channel ที่มีข้อดีคือฟรี ถ้าเราทำติดอยู่ลำดับต้นๆใน Search ของ Google และยังคอยอัพเดตข้อมูลนำเสนอสิ่งดีๆที่ลูกค้าสนใจอยู่เรื่อยๆก็จะสามารถครองอันดับต้นๆได้ตลอด ไม่ต้องใช้เงินเลย แต่ข้อเสียก็มีอยู่บ้างคือต้องหมั่นอัพเดตเนื้อหาที่มีคุณค่า และ ใช้เวลาพอสมควรกว่าจะติดลำดับต้นๆในหน้าแรก

Picture7

หน้า Search Google นี้ถ้าไปเรียนคอร์ส Marketing ต่างๆจะใช้ชื่อว่า SERPs หรือ Search Engine Results Pages เวลาเรา Search มาปุ๊บจะเห็นข้างบนมี Ads อยู่ ตัว Ads คือ SEM ใส่เงินเข้าไปได้อยู่ข้างบนเลยทันที แต่ส่วนข้างล่างที่เป็น Search Listings เป็นส่วนที่เราสามารถ Optimize เวปไซต์ของเราให้ขึ้นมาอยู่ลำดับต้นๆของหน้าแรกได้ แต่หากเราอยู่หน้า 2 ของ Google น้อยมากที่คนจะไปกดหน้านั้นถ้าไม่อยู่ หน้าแรกไม่มีทางเลยที่คนจะหาเจอ

ปกติเราจะเห็น Search Result ที่มี ข้อความเป็นชื่อ เป็นเว็ปไซต์ เป็นคำอธิบาย จริงๆแล้ว Google ยังมีอีกหลายอย่างที่สามารถแสดงได้ บางที Google ก็ดึงออกมาเองแค่ต้องทำ เวปไซต์เราให้พร้อมที่ Google จะดึงออกมาเช่น Feature Snippet จะเป็นการแสดงบางส่วนของข้อความที่ออกมาจากเวปไซต์ของเราที่ Google เห็นว่าอธิบายได้ตรงกับสิ่งที่คนมักหาในช่อง Search เลย หรือเป็น Rich Result เป็นข้อมูลเพิ่มเติมสมมุติว่าเรา Search หนังสือเล่มหนึ่งจะมีขึ้นมาเลยว่าหนังสือเล่มนี้ Rating เท่าไร ราคาอย่างไร หรือ Images ถ้าคนค้นหาอันนี้แล้วกดหารูปบ่อยๆ Google ก็จะดึงรูปให้ขึ้นมาอยู่ด้านบน ส่วน VDO ก็เช่นกันถ้าคนชอบค้นหา VDO บ่อยๆก็จะดึง VDO ขึ้นมา

ดังนั้น SEO จึงเป็นขั้นตอนของการทำยังไงก็ได้ให้เว็ปไซต์ดีขึ้น สร้าง Visibility กับคนได้มากขึ้น ยิ่งเราอยู่ข้างบน คนก็จะเห็นเรามากขึ้น คนที่ไม่เคยรู้จักเรามาก่อนก็จะมารู้จักเราจากการที่ค้นหา Keywords สิ่งนี้สำคัญมากเพราะลูกค้าในอนาคตกำลังค้นหาสิ่งที่เรามีอยู่พอดี และถ้าเราให้สิ่งที่ลูกค้ากำลังต้องการแบบถูกที่ถูกเวลา ลูกค้าอาจจะรักเราและช่วยบอกต่อ นำลูกค้าใหม่ๆมาให้เราอีกมากมายก็เป็นได้ SEO จึงเป็น Match ที่ดีมากสำหรับ MarTech

วิธีการทำงานของ SEO ในแบบ Google

Animal Movement Flashcard 1

การทำงานจะเปรียบเหมือนแมงมุมที่ค่อยๆคืบคลานเข้าไปตามเวปไซต์ต่างๆแล้วดูว่าเนื้อหา Content เป็นอย่างไร มีรูปภาพอะไร มีรายละเอียดอะไรเกี่ยวกับเรื่องต่างๆบ้าง อาจใช้เวลากว่าจะคลานมาเจอเราแต่ว่าถ้าเราอัพเดตอยู่เรื่อยๆ Google ก็จะคลานมาหาเราเรื่อยๆ พอคลานมาหาเราเสร็จก็จะมา Index วิเคราะห์ว่าหน้าเว็ปไซต์ของเราเป็นอย่างไร ดีหรือ ไม่ดีอย่างไร แล้วเอาข้อมูลเหล่านี้เก็บไว้ หลังจากนั้นจะเอามาจัดลำดับให้เห็นตามปัจจัยที่ใช้ในการจัดลำดับ (Ranking)

ปัจจัยที่ใช้ในการจัดลำดับ (Ranking)

ปัจจัยจริงๆปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา เพราะ Google อัพเดตใหม่อยู่เรื่อยๆแต่โดยรวมเราต้องทำเนื้อหาให้มีคุณภาพที่ดีและมี User Experience ที่ดีถ้าเรามีทั้ง 2 อย่างนี้ Google จะดันให้เราขึ้นที่1 เพราะคนดูจะมีความสุขกับการใช้งานและมีความสุขกับ Search Result ซึ่งส่งผลให้มีความสุขกับ Google ด้วย สิ่งต้องห้ามคืออย่าเขียนเนื้อหาเพื่อแค่ให้ Google หาเจอ แต่ควรเขียนให้คนอ่านได้ประโยชน์จากเนื้อหาเราจริงๆ

ทำอย่างไรถึงติดลำดับแรก (Rank 1)

เราต้องทำ Keywords Research ก่อน หามาให้ได้ว่าลูกค้าที่เรากำลังมองหาอยากได้อะไร อยากรู้อะไร แล้วเราจะมอบสิ่งนั้นให้เค้าได้อย่างไร เครื่องมือ หรือ Tools ต่างๆที่ใช้กันมี Google Trends สามารถดูได้ว่า Keywords ต่างๆคืออะไร เช่นตอนนี้มีคนค้นหาคำว่า Python กันเยอะไหม คนค้นหาอะไรมากกว่ากัน เอามาเปรียบเทียบดูได้ อีกเครื่องมือคือ ahrefs.com เป็นเครื่องมือที่บอกว่าถ้าเราอยากมีลำดับติด Top 10 ของการค้นหา Keywords ต่างๆความยากคืออะไร ต้องทำอย่างไร นอกจากนี้บางทีไม่ต้องใช้เครื่องมืออะไรเลย Google ก็ช่วยได้เยอะมาก เช่นที่หน้า Search พอกดค้นหาอย่างหนึ่ง ก็จะขึ้น Keywords อื่นๆมากมายมาให้แล้วว่าคนที่ค้นหาสิ่งนี้ยังค้นหาคำอะไรที่ใกล้เคียงกันอีกบ้าง เราก็สามารถเลือกได้ว่าจะเอา Keywords ไหนมาเป็น Keywords ของเรา

ในการทำ บล็อก หรือ เว็ปไซต์ ต้องดูอะไรบ้างเพื่อช่วยเรื่อง SEO?

1. ชื่อ URL สามารถช่วยให้ Google เข้าใจว่า เว็ปไซต์ นั้นเกี่ยวกับเรื่องอะไร และ ให้ผู้คนทั่วไปเข้าใจด้วย ดังนั้นจึงควรใช้เป็นภาษาอังกฤษที่ชัดเจน อ่านแล้วรู้เลยว่า เว็ปไซต์ ทำเกี่ยวกับอะไร (ถ้าเป็นภาษาไทยบางทีเวลา Copy / Paste มักแสดงเป็นภาษาที่อ่านไม่ออกหรือเป็น % ที่ยาวมาก บางที Copy ก็ทำให้ Link ขาดมาไม่ครบ User Experience ไม่ดีอีกต่างหาก)

2. Header ที่ดีควรจะมี Keywords รวมอยู่ในนั้นด้วยเลย

3. Table of Contents ถ้าบล็อกมี Topics ย่อยๆเยอะๆ การที่เรามีตัวเนื้อหาหรือว่ามีสารบัญจะช่วยให้คนสามารถหา บล็อก เราง่ายขึ้น ช่วยให้ลูกค้าเกิดประสบการณ์ที่ดี แถมยังช่วยให้ Google รู้ด้วยว่าทั้ง บล็อก พูดถึงอะไรบ้าง

4. Alt Text เป็น Text ที่เราเขียนอธิบายว่าภาพนี้คืออะไร ช่วยเรื่อง Visibility ช่วยให้คนที่มองไม่เห็นได้เข้าใจว่า บล็อกเราคืออะไร Text นี้จะถูกฝังอยู่ในรูป ซึ่งผู้พิการทางสายตาจะมีโปรแกรมพิเศษช่วยอ่านทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนเว็ปไซต์ ได้ทั้งหมด พอถึงรูปนี้โปรแกรมก็จะอ่าน Alt Text ขึ้นมา ข้อดีคือมี User Experience ที่ดี และ Google เมื่อเห็นว่าเรามี Accessibility ช่วยตรงนี้ Google ก็จะจัดอันดับเว็ปไซต์เราให้สูงขึ้นไปอีก

5. Backlink การที่เรามีลิงค์ไปที่เว็ปไซต์ อื่นหรือว่าให้เว็ปไซต์ อื่นลิงค์กลับมาหาเราจะทำให้ Google รู้สึกว่า เว็ปไซต์ เราน่าเชื่อถือ มีทั้งคนที่ลิงค์ไปและคนที่ลิงค์กลับมา ยิ่งถ้าเป็นเว็ปไซต์ ที่ดังๆหน่อย คนเข้าเยอะๆยิ่งดีเลยทีเดียว

สรุปสั้นๆได้ว่า SEO มีรายละเอียดทั้งจากฝั่ง Technical และ Marketing ฝั่ง Technical ช่วยดูเรื่องการวางโครงสร้างของเว็ปไซต์ การฝังโค้ด ส่วน Marketing ดูว่าเนื้อหาควรเป็นอย่างไรถึงจะเสริมกัน ซึ่ง SEO ที่ดีจะต้องบาลานซ์ 2 อย่างนี้

Tracking with UTM

Picture3

UTM ย่อมาจาก Urchin Tracking Module เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการ Tracking เพื่อที่จะติดตามเนื้อหานั้นๆ ผ่านการติด Tag หลัง URL เช่น UTM Campaign ก็ให้ใส่ชื่อของแคมเปญลงไป UTM Source ก็คือเอาลิงค์นี้ไปแปะที่ไหน ส่วน UTM Medium บอกว่ามาจากสื่อไหน UTM Content มาจากเนื้อหาชื่ออะไร ใส่เสร็จใช้แล้วไปดูผลลัพธ์ได้ที่ Google Analytics ดูได้ว่ามาจาก Source หรือ Medium ไหน แคมเปญอะไร มีคนเข้ามาดูกี่คน เป็นคนใหม่กี่คน มี Bounce Rate ว่ามีคนกดเข้ามาแล้วหนีออกไปเลยไหม ใช้เวลาต่อ Session เท่าไร เหล่านี้เอาไว้ดูว่าเนื้อหาเรามีประสิทธิภาพมากแค่ไหน คนที่เข้ามาได้สิ่งที่ต้องการไหม ปกติคนที่ได้สิ่งที่ต้องการจะอยู่กับเรานาน อีกวิธีอาจให้ทีม Dev ติด Tracking ให้ตามที่เราต้องการวัดผล ออกมาเป็น Dashboard เช่นสามารถดูรายละเอียดแบบเจาะลึกว่า คนที่กดมาจากลิงค์นี้สุดท้ายแล้วเค้าไปซื้ออะไร บางทีกดมาจากอีกเนื้อหา และซื้ออีกเนื้อหา ซึ่งถ้าผลเป็นแบบนี้เราต้องปรับเนื้อหา ปรับรายละเอียดอื่นๆ ให้ดีขึ้นอยู่เรื่อยๆ

Website Tracking

แต่เดิมนี้เวลาที่เราจะ Track อะไรสักอย่าง เช่นอยากติด Facebook Pixel, Google Ads เราต้องขอ Dev ทำให้ตามรอบ Sprint ปัจจุบัน Google สร้าง Google Tag Manager ให้ทำงานง่ายขึ้น Dev เพียงติด Analytics Script ในเว็ปไซต์ ซึ่งเป็น Script ของ Google Tag Manager (GTM) ที่พอติดแล้วจะมีหน้าตาเหมือนเว็ปไซต์ทั่วไปมี UI เข้าใจง่าย ไม่ใช่โค้ด ซึ่ง Marketing สามารถเข้ามาใน Google Tag Manager ใส่รายละเอียดเข้าไปได้เองว่าอยากติด Google Analytics, Facebook Pixel Google หรือ Google Ads เป็นต้น

Case Study

ที่หน้าเว็ปไซต์เราจะมีปุ่ม Call To Action ซึ่งสามารถเอา Tracking ไปติดให้หมดทุกจุดของ Call To Action ได้ (ตอนนี้ Google Analytics มีเป็น Version ใหม่แล้วชื่อว่า GA4 แต่เนื้อหานี้จะยังเป็น GA3 อยู่ ซึ่งมีความแตกต่างกันเล็กน้อยแต่ Concept ยังคล้ายกัน) พอติด Tracking เราก็จะรู้ผลลัพธ์ได้เลย เช่นรู้ว่าปุ่มตรง Register มีลูกค้ากดเยอะแค่ไหน ถ้าน้อยเราก็ปรับปุ่มให้ไปอยู่ในที่ที่คนสนใจ นำไป Optimize เว็ปไซต์ให้ดีขึ้นได้ ให้คนอยากมากดมากขึ้น แก้ไขปรับปรุงข้อด้อยให้ดีขึ้น เป็นต้น

อีกอย่างที่เราใช้ในการ Tracking เว็ปไซต์ คือ Heat Map คือการที่ลูกค้าเอา Mouse ไปคลิก หรืออยู่ตรงไหนนานๆเราก็จะดูได้เลย ยิ่งมันแดงเท่าไรก็แสดงว่าคนไปคลิกตรงนั้นมากนั่นเอง 

Facebook Pixel

ถ้าใครเคยเข้าเว็ปไซต์อะไรไปแล้วพอออกมาไปเข้า Facebook ต่อแต่ดันเจอ Ads ของเว็ปไซต์ที่เราเพิ่งไปเข้ามา มาแสดงให้เห็น แสดงว่าเว็ปไซต์นั้นๆติด Facebook Pixel เพื่อ Retarget เรากลับไปที่เว็ปไซต์นั้นๆนั่นเอง ซึ่งการติด Facebook Pixel อาจติดที่ Add to Cart ก็ได้เช่นถ้าลูกค้าเก็บสินค้าใส่ในตะกร้าช้อปปิ้งไว้ก่อน ระบบเราจะรู้จักลูกค้าแล้ว ซึ่งตอนที่เราซื้อ Ads ก็สามารถเลือก Custom Audience เลือกคนที่กด Add to Cart ไปแต่ไม่ได้กดซื้อ เพื่อทำ Retarget Ads ไปหาลูกค้าได้นั่นเอง

Related Content

  • ทั้งหมด
  • Blogs
  • Insights
  • News
    •   Back
    • Blockchain
    • Finance
    • Tech innovation
    •   Back
    • Leadership
    • PointX Products
    • Events
    • Others
    • Joint ventures
    • Partnership
    • Services & Products
    •   Back
    • Data Science
    • Careers
    • Lifestyle
    • Product
    • Strategy
    • Technology
    • User Experience

Your consent required

If you want to message us, please give your consent to SCB TechX to collect, use, and/or disclose your personal data.

| การเพิกถอนความยินยอม

หากคุณต้องการเพิกถอนการให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล กรุณาส่งคำร้องหาเรา

Vector

Message sent

We have receive your message and We will get back to you shortly.