สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้กำหนดให้ KYC/ eKYC เป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 โดยเป็นการกำหนดให้สถาบันทางการเงินต่าง ๆ มีการจัดทำ KYC/ eKYC เพื่อสร้างความปลอดภัยและความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมของผู้บริโภค ซึ่งหน่วยงานที่ต้องจัดทำ KYC/ eKYC มีดังนี้
- ผู้ให้บริการทางการเงิน เช่น ธนาคาร
- ผู้ให้บริการ e-Wallet และ e-Payment
- บริษัทซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล - บริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัย
ปัจจุบันประเทศไทยมีมาตรฐานการพิสูจน์ และยืนยันตัวตนที่เรียกว่า eKYC (Electronic know your customer) ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบของการทำ Digital Onboarding เพื่อทำธุรกรรมออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งมาตรฐานนี้ถูกกำหนดโดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ Identity Assurance Level (IAL) และ Authenticator Assurance Level (AAL)
ในการทำธุรกรรมต่าง ๆ การทำ eKYC นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าหากองค์กรใดที่ไม่มีการทำ eKYC มักจะมีผลกระทบต่าง ๆ ตามมา ดังนี้
1. องค์กรขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากไม่มีการพิสูจน์ตัวตนลูกค้า
2. ขาดโอกาสในการในการดำเนินการธุรกิจใหม่ ๆ ที่ต้องมีการติดต่อกับภาครัฐ เช่น กรมสรรพากร ที่ต้องมีการกำหนดให้องค์กรหรือธุรกิจนั้น ๆ ต้องมีการรู้จักตัวตนลูกค้า
3. เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด fraud เช่น การโจรกรรมทางการเงิน หรือการปลอมแปลงตัวตนของผู้ทำธุรกรรม
4. มีต้นทุนทางด้านเอกสาร การจัดเก็บเอกสาร และด้านแรงงาน
5. มีความเสี่ยงในการเกิด human error ที่ส่งผลต่อความถูกต้องของการกรอกข้อมูล เนื่องจากว่าไม่ได้มีการนำข้อมูลที่ลูกค้ากรอกไปตรวจสอบกับระบบหลังบ้านเพื่อตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง
6. ขาดโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจเนื่องจากลูกค้าไม่ได้รับความสะดวกสบายในการรับบริการ เพราะลูกค้าต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพื่อไปยืนยันตัวตนยังจุด touch point ส่งผลให้เกิดความยุ่งยาก และอาจทำให้ลูกค้าไม่พึงพอใจในการให้บริการได้
จากผลกระทบข้างต้น จะเห็นได้ว่าองค์กรที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ KYC/ eKYC อาจจะประสบปัญหาทางธุรกิจได้ทั้งวันนี้และในอนาคต จะดีกว่าไหม หากองค์กรจะนำ eKYC เข้ามาปรับใช้กับธุรกิจของตน เพื่อเสริมความน่าเชื่อถือ และต่อยอดทางธุรกิจให้องค์กรเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้
หากองค์กรหรือธุรกิจของคุณประกอบธุรกิจเกี่ยวกับทางด้านการเงิน บริการ e-Wallet และ e-Payment การซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประกันชีวิตและประกันวินาศภัย และต้องการที่จะทำ eKYC เพื่อให้ได้รับโอกาสในการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจให้สูงขึ้น บริษัท SCB TechX พร้อมให้คำปรึกษาและสามารถแนะนำโซลูชัน eKYC ที่ตอบโจทย์ธุรกิจได้อย่างตรงจุด
บริการ eKYC จาก SCB TechX
SCB TechX มีบริการ eKYC ที่ครอบคลุม พร้อมทั้งมีบริการให้คำปรึกษาและแนะนำโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจ โดยแบ่ง eKYC ที่แบ่งออกได้เป็น 4 ฟีเจอร์เด่น ดังนี้
1. Liveness & Optical Character Recognition (OCR)
บริการตรวจสอบผู้ใช้บริการกับบุคคลในบัตรประชาชนว่าเป็นบุคคลเดียวกันจริงหรือไม่ พร้อมเปลี่ยนภาพถ่ายบัตรประชาชนของผู้ใช้บริการให้เป็นข้อมูลดิจิทัลได้ทันที เพื่อลดขั้นตอนในการกรอกข้อมูลของผู้ใช้บริการและเจ้าหน้าที่
2. Liveness & Face Recognition
บริการตรวจสอบว่าผู้ใช้บริการกับบุคคลในภาพถ่ายเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ โดยใช้ภาพถ่ายและระบบ Face Recognition เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับรูปในบัตรประชาชน
3. DOPA Gateway
ตรวจสอบข้อมูลบัตรประชาชนของผู้ใช้บริการว่าตรงกับฐานข้อมูลของกรมการปกครองหรือไม่
4. NDID Proxy
เชื่อมต่อแพลตฟอร์มดิจิทัลไอดีเพื่อยืนยันตัวตนแบบ Cross Platform ช่วยให้ธุรกิจไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับ NDID โดยตรง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อและดูแลระบบ
องค์กรหรือธุรกิจใดสนใจระบบยืนยันตัวตน eKYC ของ SCB TechX เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษา พร้อมทั้งช่วยประเมินความพร้อมของระบบในการใช้งาน eKYC โดยสามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้
Email: contact@scbtechx.io
Website: https://scbtechx.io/ekyc/
Facebook: https://www.facebook.com/scbtechx/
Linkedin: www.linkedin.com/company/scb-tech-x/
Medium: https://medium.com/scb-techx