
การนำ AI เข้ามาช่วยพัฒนา software ในช่วงแรกมักเป็นลักษณะของการใช้ AI เป็นผู้ช่วยเขียนโค้ด หรือเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการ generate code ที่ตอบสนองต่อ prompt ที่นักพัฒนาป้อนเข้ามาซึ่ง AI ก็จะทำการสร้าง source code หรือทำการแก้ไข error ตามคำสั่ง ซึ่งแม้มันจะช่วยเพิ่มความเร็วในการเขียน code ได้ แต่ยังขาดความเข้าใจ context เชิงลึกของ project ทั้งหมด การทำงานแบบนี้ หรือที่เรียกว่า Prompt Engineering ทำให้การพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วย AI ขาดความสามารถในการทำซ้ำ (repeatability) และการตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) และนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า Vibe Coding ซึ่งเป็นการพัฒนาแบบไม่มีโครงสร้างซึ่งอาจทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่สอดคล้องกับ project standard
หลังจากยุคของ vibe coding ที่ AI ตอบสนองต่อ prompt ที่นักพัฒนาป้อนเข้าเพียงอย่างเดียว การพัฒนา AI ก็ได้ก้าวเข้าสู่ยุคของ Agentic AI ที่ AI ไม่ได้เพียงแค่ตอบสนองต่อคำสั่งหรือทำตามกฎที่ตั้งไว้ล่วงหน้า แต่มีความสามารถในการทำงานอย่างอิสระ มีความคิดริเริ่ม และปรับตัวเพื่อบรรลุเป้าหมายได้ แต่ AI สามารถตัดสินใจ วางแผน และดำเนินการเพื่อทำงานที่ซับซ้อนให้สำเร็จ โดยแบ่งงานที่ซับซ้อนออกเป็นงานย่อย ๆ และทำงานร่วมกับเครื่องมือหรือระบบ AI อื่นๆ ทำให้ AI จัดการกับงานที่มี workflow ที่ซับซ้อนได้
ซึ่งการมาของ Kiro นั้นยกระดับ Agentic AI ไปอีกขั้นโดย focus ไปที่การกำหนด Specification ที่ชัดเจน ก่อนที่จะเริ่มทำงาน ซึ่งตัว spec นี้เองจะทำหน้าที่เป็นเหมือนเข็มทิศนำทางสำหรับ AI และทีมพัฒนา ทำให้ Agentic AI ดำเนินการได้อย่างมีทิศทาง ตรวจสอบย้อนกลับได้ และสอดคล้องกับ project standard ที่ทีมได้ทำการกำหนดไว้

Kiro คืออะไร และต่างจาก Agentic AI ตัวอื่นอย่างไร?
Kiro คือ AI‑powered IDE ที่ถูกพัฒนาโดย AWS ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของ VS Code (Code OSS) ควบคู่กับ Claude AI จาก Anthropic โดยมีการนำเสนอแนวคิดที่เรียกว่า Spec-Driven Development ในการทำงานซึ่งแตกต่างจากการใช้ AI coding assistant ตัวอื่นๆ ในตลาด
จากประสบการณ์การใช้งาน AI tools อื่น ๆ เช่น GitHub Copilot, Windsurf, และ Cursor ปัญหาที่พบได้บ้างคือเกิด Limited Memory หรือ Context Truncation แม้จะมี memory หรือ long-context แต่ LLM ยังไม่สามารถเก็บ state แบบ persistent เหมือนโปรแกรมทำให้อาจ “ลืม” instruction เก่าไปถ้า input ยาวเกิน token limit
แต่ Kiro นั้นต่างออกไป แทนที่จะให้เราใส่ prompt แล้วได้ code ออกมาทันที Kiro จะช่วยแปลงความต้องการให้กลายเป็น specification ที่ชัดเจนและให้เรา review โดยจะแบ่งเป็น
- Requirements Analysis – การกำหนด requirement ออกเป็น user stories พร้อม acceptance criteria
- Technical Design – การออกแบบ architecture และเลือก technology stack
- Implementation Plan – แผนการพัฒนาแบบแบ่งเป็นขั้นตอน พร้อม task ย่อย ๆ
จากนั้นเมื่อเริ่มงาน Kiro ก็จะทำงานตาม spec ที่ถูกกำหนดไว้ ทำให้ code ที่ได้เป็นไปตาม standard ที่เรากำหนดไว้

ลองเล่นกันดูซักหน่อย
ยกตัวอย่าง เราอยากลองให้ Kiro สร้าง Todo app ขึ้นมาโดยเลือกใช้ technology stack เป็น react กับ shadcn/ui ซึ่งการเริ่มต้นง่ายมาก แค่ป้อน prompt ไปตรงๆ เลยว่าเราอยากได้อะไร

ซึ่งในขั้นแรกตัว Kiro ก็จะนำความต้องการของเราไป analyze ให้กลายเป็น requirement และ acceptance criteria ของระบบที่เราต้องการออกมา หาก prompt ในตอนแรกยังขาด requirement ไปก็ review และเพิ่มลงไปทีหลังได้

ในขั้นตอนต่อมา จะเป็นส่วนของการ design ที่เป็นตัวกำหนดว่า project structure จะต้องวางอย่างไรมีกำหนดว่าใน application จะต้องแบ่ง components ต่างๆ ออกเป็นอย่างไรบ้าง data model เป็นอย่างไร ซึ่งส่วนนี้จะเป็นตัวที่คอยควบคุมให้ code ที่จะถูก generate ออกมานั้นเป็นไปตาม standard ที่เราได้กำหนดเอาไว้

และส่วนสุดท้ายคือการวาง implemetation plan หลังจากที่เราทำการ setup spec ของ requirement และ design เรียบร้อยแล้วตัว Kiro ก็จะทำการ list task ที่ต้องทำออกมาเพื่อให้เราสั่งงานและยังสามารถที่จะ trackback change ในแต่ละ step ได้

หลังจากเรา setup spec ต่างๆ ครบแล้วเราก็เริ่มงานตาม task list ที่ plan ไว้ได้เลยโดยนอกจาก Kiro จะช่วยเราเขียน code ได้แล้วมันยัง setup agent hook เพื่อช่วยให้งานบางอย่างทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ เช่นเรามีการ setup lint ไว้เพื่อควบคุม code format ต่างๆ ภายใน project เราก็ใช้ agent hook เพื่อให้มัน run fix lint ทุกครั้งเวลา file ถูก save ได้เลยซึ่งตัวของ agent hook นั้น setup ได้ง่ายมากๆ โดยการ prompt อธิบายสิ่งที่ต้องการด้วยการใช้ภาษาปกติ

จุดที่โดดเด่นหลังได้ลองใช้งานจริง
- Context Awareness ที่แท้จริง – Kiro เข้าใจบริบทของ project ทั้งหมด ไม่ใช่แค่ file ที่เปิดอยู่ในตอนนั้น นี่คือสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเวลา ทำงานใน project ขนาดใหญ่ เราต้องการให้ AI เข้าใจว่าเราทำอะไรอยู่ในภาพรวม
- Spec-Driven Development แบบเป็นระบบ – การที่ Kiro สร้าง specification เป็น version controlled artifacts ทำให้การพัฒนาเปลี่ยนจาก vibe coding ไปเป็น collaboration ที่แท้จริงระหว่าง developer กับ AI
- Agent Hooks ที่ช่วยลดงาน manual – Hooks เป็น event-driven automations ที่จะทำงานตาม event ที่ถูกกำหนดไว้เหมือนกับเรามีผู้ช่วยมาทำงานกับเราจริงๆ
- Integration กับ VS Code ที่ไร้รอยต่อ – เนื่องจาก Kiro ถูกพัฒนามาจาก Code OSS ทำให้สามารถใช้ VS Code settings และ Open VSX compatible plugins ได้ การเปลี่ยนไปใช้ Kiro ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าต้องเรียนรู้เครื่องมือใหม่
จุดที่ควรพิจารณาเพิ่มเติมหลังได้ลองใช้งานจริง
- การรองรับ Programming Language – ปัจจุบัน Kiro รองรับ 4 ภาษาคือ JavaScript, TypeScript, Python และ Java ซึ่งสำหรับผมที่ใช้ JavaScript และ TypeScript เป็นหลักนั้นก็ไม่มีปัญหากับจุดนี้ แต่สำหรับทีมที่ใช้ภาษาอื่นๆ อาจจะต้องรอการ update เพิ่มเติมในอนาคต
- การทำงานกับ Legacy System – Kiro วิเคราะห์ existing codebase และสร้าง foundational documents แต่จากการลองใช้งานกับ legacy codebase ที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนมากๆ บางครั้ง Kiro อาจมีเข้าใจ context คลาดเคลื่อนเล็กน้อย จึงควร review ตัว spec ให้ถูกต้องก่อนนำไปใช้งานต่อ
- Performance ใน Project ขนาดใหญ่ – เมื่อ project มี codebase ขนาดใหญ่ขึ้น การวิเคราะห์ codebase เพื่อสร้าง specification ก็ใช้เวลานานกว่าที่หวังไว้บ้าง
- ยังคงอยู่ในช่วง Preview – เนื่องจากตอนนี้ Kiro ยังคงอยู่ในช่วงเปิด Preview ให้ใช้งานได้ฟรีทำให้มี user เข้ามาใช้งานเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะ Claude sonnet 4 ทำให้บางครั้งระหว่างทำงานก็อาจเจอ error ได้
หากอ่านมาจนถึงจุดนนี้แล้วรู้สึกสนใจ ผมอยากแนะนำให้ทดลองใช้ดูเพื่อประกอบการตัดสินใจจากประสบการณ์ของตัวเองเพราะสุดท้าย AI เป็นเพียงเครื่องมือ แต่ความสำเร็จของ project ยังขึ้นอยู่กับความเข้าใจในปัญหาที่ต้องการจะแก้ไข การออกแบบ solution ที่เหมาะสมและการทำงานเป็นทีมที่ดี ซึ่ง Kiro ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่น่าสนใจที่อาจมาช่วยให้เราทำสิ่งเหล่านี้ได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ท้ายนี้ SCB TechX พร้อมเป็น Tech Partner ที่เข้าใจธุรกิจคุณ จากประสบการณ์ดูแลระบบขนาดใหญ่ เราช่วยวาง DevOps Flow ที่อัตโนมัติ รองรับการเติบโตได้ในอนาคต
สนใจบริการโปรดติดต่อเราที่ https://bit.ly/4etA8Ym
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://bit.ly/4dpGl6U