การยืนยันตัวตน สำคัญต่อธุรกิจอย่างไร มีกี่วิธีที่องค์กรประยุกต์ใช้ได้

identity-verification-ekyc-ndid-for-business

เทคโนโลยีการยืนยันตัวตน (Identity Verification) ได้รับการพัฒนาอย่างมากในปัจจุบัน โดยมีการใช้งานทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ ซึ่งการยืนยันตัวตนแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น e-KYC และ NDID ได้กลายเป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นใจในการทำธุรกรรมออนไลน์และการใช้บริการดิจิทัล โดยเฉพาะในภาคธุรกิจและการเงิน การยืนยันตัวตนไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันการฉ้อโกงเท่านั้น แต่ยังเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยในโลกดิจิทัลอีกด้วย

 

ในมุมมองของธุรกิจ ข้อดีของการยืนยันตัวตนมีอะไรบ้าง แล้วการยืนยันตัวตนมีกี่วิธีที่องค์กรสามารถนำไปปรับใช้ในการทำธุรกรรม การดำเนินงาน และบริการลูกค้าได้บ้าง มาหาคำตอบได้ในบทความนี้กับ SCB TechX

ข้อดีของการยืนยันตัวตน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การทำธุรกรรมออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว การยืนยันตัวตนจึงได้กลายเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือให้กับทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ระบบยืนยันตัวตนที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันการฉ้อโกง และควบคุมกิจกรรมหรือธุรกรรมที่ผิดกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า

1. เพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมออนไลน์

องค์กรสามารถตรวจสอบตัวตนของผู้ทำธุรกรรมก่อนอนุมัติการดำเนินการ เพื่อให้ธุรกรรมดังกล่าวเป็นไปอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ การยืนยันตัวตนแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น e-KYC ถือเป็นเกราะป้องกันที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการเข้าถึงบัญชีธุรกรรมหรือข้อมูลที่มีความอ่อนไหวโดยไม่ได้รับอนุญาต อีกทั้งยังมีการบันทึกประวัติการทำธุรกรรมเพื่อการตรวจสอบย้อนหลัง และเพิ่มความปลอดภัยโดยรวมในการโอนเงินระหว่างบัญชี

2. ลดความเสี่ยงจากการฉ้อโกงและการขโมยข้อมูล

เทคโนโลยีการยืนยันตัวตนที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยป้องกันการฉ้อโกงในหลายรูปแบบ ตั้งแต่การตรวจจับและป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร ไปจนถึงการป้องกันการสร้างบัญชีปลอมเพื่อทำธุรกรรมผิดกฎหมาย อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล และป้องกันการฟอกเงินผ่านช่องทางออนไลน์ ที่สำคัญ คือ องค์กรสามารถตรวจจับและดำเนินการเมื่อพบพฤติกรรมที่น่าสงสัย ช่วยให้สามารถจัดการกับภัยคุกคามได้อย่างทันท่วงที

3. สร้างความน่าเชื่อถือในการใช้บริการดิจิทัล

การที่ธุรกิจมีระบบยืนยันตัวตนที่ได้มาตรฐานอย่างการยืนยันตัวตน NDID, e-KYC หรือ Biometrics สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ธุรกิจได้ เพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ผู้ใช้บริการจึงมั่นใจในการทำธุรกรรมมากขึ้น ในอีกมุมหนึ่ง  การยืนยันตัวตนยังช่วยสร้างความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ ส่งผลให้ธุรกิจสามารถเสริมสร้างความสัมพันธ์ สร้าง Brand Loyalty หรือความภักดีต่อแบรนด์ในระยะยาวได้อีกด้วย

4. เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของธุรกิจ

ระบบยืนยันตัวตนดิจิทัลสามารถช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น กระบวนการตรวจสอบเอกสาร ที่แต่เดิมเคยใช้เวลานาน ปัจจุบันสามารถทำได้ในเวลาไม่กี่นาทีผ่านระบบยืนยันตัวตน ซึ่งช่วยประหยัดต้นทุนการดำเนินงานในระยะยาว นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความเร็วในการอนุมัติบริการ ลดความผิดพลาดของมนุษย์ (Human Error) ในการป้อนข้อมูลด้วยมือ และช่วยให้องค์กรสามารถจัดการข้อมูลลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การยืนยันตัวตนมีกี่วิธี?

การยืนยันตัวตนในปัจจุบันมีหลากหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีมีจุดเด่นและข้อดีที่แตกต่างกันไป ซึ่งการเลือกใช้วิธีการยืนยันตัวตนที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ ระดับความปลอดภัยที่ต้องการ และความสะดวกในการใช้งานของผู้ใช้บริการ

1. การยืนยันตัวตนแบบ Knowledge-Based

การยืนยันตัวตนแบบ Knowledge-Based เป็นวิธีการพื้นฐานที่อาศัยข้อมูลที่ผู้ใช้งานเท่านั้นที่ควรทราบ โดยเป็นการให้ผู้ใช้งานตั้งรหัสผ่านที่มีเฉพาะตนเองที่รู้ หรืออาจเป็นการตั้งคำถามเฉพาะบุคคล เช่น “ชื่อโรงเรียนประถมของคุณคืออะไร?” บางระบบใช้การตั้งคำถามเพื่อความปลอดภัยหลายข้อ ร่วมกับการใช้ข้อมูลประวัติส่วนตัวที่เฉพาะเจาะจง 

 

วิธีการยืนยันตัวตนแบบ Knowledge-Based มีข้อดี คือ ง่ายต่อการใช้งานและไม่ต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติม แต่ก็มีข้อเสียคือ เสี่ยงต่อการถูกคาดเดา ซึ่งอาจนำไปสู่การถูกขโมยข้อมูลได้

2. การยืนยันตัวตนแบบ Two-Factor Authentication (2FA)

Two-Factor Authentication เป็นการเพิ่มชั้นความปลอดภัยด้วยการยืนยันสองขั้นตอน โดยทั่วไปจะใช้การส่งรหัส OTP ผ่าน SMS หรืออีเมล ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันยืนยันตัวตนเฉพาะ เช่น Google Authenticator บางระบบอาจใช้อุปกรณ์ Security Key หรือการยืนยันผ่านการแจ้งเตือนบนมือถือ ซึ่งวิธีนี้ให้ความปลอดภัยสูงขึ้น แต่ผู้ใช้จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมหรือโทรศัพท์มือถือในการยืนยันตัวตน

3. การยืนยันตัวตนด้วย Biometrics

Biometric หมายถึง ข้อมูลชีวภาพ โดยเป็นการใช้ลักษณะทางกายภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลเพื่อยืนยันตัวตน เช่น การสแกนลายนิ้วมือ การสแกนใบหน้าด้วยเทคโนโลยี 3D Mapping หรือการสแกนม่านตาด้วยระบบอินฟราเรด ซึ่งทั้งหมดล้วนมีความแม่นยำสูง ป้องกันการปลอมแปลงได้ดี นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคโนโลยีการจดจำเสียงด้วย AI แม้วิธีนี้จะมีความปลอดภัยสูง แต่ก็มีข้อจำกัดด้านต้นทุนและความจำเป็นในการติดตั้งอุปกรณ์พิเศษเพิ่มเติม

4. การยืนยันตัวตนแบบ e-KYC

e-KYC เป็นระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ครบวงจร โดยเริ่มจากการเก็บและตรวจสอบหลักฐานเอกสารประกอบการยืนยันตัวตน  เช่น บัตรประชาชน หนังสือเดินทาง ผ่านการถ่ายภาพ พร้อมตรวจสอบความถูกต้อง โดยระบบจะทำการเปรียบเทียบภาพถ่ายกับฐานข้อมูลทางการและตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานราชการเพื่อยืนยันตัวตน พร้อมทั้งมีระบบป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร วิธีนี้มีความน่าเชื่อถือสูงและเป็นที่ยอมรับตามกฎหมาย

5. การยืนยันตัวตนผ่านระบบ NDID

NDID หรือระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลแห่งชาติ ที่เป็นแพลตฟอร์มกลางของประเทศไทย หรือ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (National Digital ID Co., Ltd.)  โดยเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินและหน่วยงานรัฐ ระบบนี้ใช้มาตรฐานความปลอดภัยระดับสูงและรองรับการทำธุรกรรมระหว่างหน่วยงาน ช่วยลดความซ้ำซ้อนในการยืนยันตัวตนและมีระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูลแบบรวมศูนย์

ตัวอย่างองค์กรที่ใช้การยืนยันตัวตนบนโลกดิจิทัล

ในปัจจุบัน องค์กรจากหลากหลายอุตสาหกรรมได้นำระบบการยืนยันตัวตนดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการให้บริการ โดยแต่ละองค์กรมีรูปแบบการประยุกต์ใช้ที่แตกต่างกันตามความต้องการ

1. ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่าง Shopee และ Lazada ใช้ระบบยืนยันตัวตนเพื่อสร้างความปลอดภัยในการซื้อขายออนไลน์ โดยมีการนำไปใช้ในหลายขั้นตอน เช่น

    • การลงทะเบียนผู้ขาย – ร้านค้าต้องผ่านการยืนยันตัวตนด้วย e-KYC เพื่อยืนยันตัวตนและป้องกันการฉ้อโกง โดยต้องกรอกข้อมูล ส่งเอกสารยืนยันตัวตน และหลักฐานทางธุรกิจ
    • การชำระเงิน – ระบบจะมีการยืนยันตัวตนผู้ซื้อก่อนทำการชำระเงิน โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้บัตรเครดิตหรือการโอนเงินจำนวนมาก

การคุ้มครองผู้บริโภค – การยืนยันตัวตนช่วยในการติดตามและแก้ไขปัญหากรณีเกิดข้อพิพาทระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

2. สถาบันทางการแพทย์และโรงพยาบาล

โรงพยาบาลและคลินิกต่างๆ ได้นำระบบยืนยันตัวตนมาใช้เพื่อปกป้องข้อมูลทางการแพทย์ที่มีความอ่อนไหว ตั้งแต่การเข้าถึงประวัติการรักษา โดยผู้ป่วยสามารถยืนยันตัวตนผ่านระบบ Biometric หรือ 2FA ก่อนเข้าถึงประวัติการรักษาออนไลน์ การนัดหมายแพทย์ ไปจนถึงการรักษาทางไกล (Telemedicine) เพื่อรับรองว่าการรักษาและการจ่ายยาเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย

3. สถาบันการเงินและธนาคาร

ธนาคารและสถาบันการเงินได้มีการนำเทคโนโลยีการยืนยันตัวตนที่ทันสมัยมาใช้เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรม เช่น การเปิดบัญชีออนไลน์ โดยธนาคารใช้ระบบ e-KYC ที่รวมการถ่ายภาพบัตรประชาชน การถ่ายภาพใบหน้า และการตรวจสอบ Liveness Detection เพื่อเปิดบัญชีโดยไม่ต้องไปสาขา การใช้การยืนยันตัวตนหลายขั้นตอน เช่น รหัส OTP ร่วมกับการสแกนลายนิ้วมือหรือใบหน้าสำหรับธุรกรรมที่มีมูลค่าสูง ไปจนถึงการขอสินเชื่อออนไลน์ เพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของผู้ขอสินเชื่อและป้องกันการฉ้อโกง

จะเห็นได้ว่าการยืนยันตัวตนในโลกดิจิทัลมีบทบาทสำคัญในการสร้างความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจและบริการต่างๆ และด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบัน ทำให้การยืนยันตัวตนมีความแม่นยำและสะดวกมากขึ้น องค์กรที่นำระบบการยืนยันตัวตนที่มีประสิทธิภาพมาใช้จะได้เปรียบในการแข่งขันและสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่การทำธุรกรรมดิจิทัลมีการเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

eKYC จาก SCB TechX ยกระดับการยืนยันตัวตนดิจิทัล

SCB TechX มีแพ็กเกจการให้บริการ eKYC 3 รูปแบบดังนี้

1. SDK Package​

SDK ของ  SCB TechX ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงชุด API ของ eKYC service เช่น Liveness + OCR รวมไปถึงบริการเสริมของ DOPA และ SDK package สำหรับ NDID โดยลูกค้าสามารถนำ SDK ไป Integrate กับ Solution ของตนเองและปรับแต่งตาม Customer journey ที่เหมาะสมเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าของตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่ง ธีม พื้นหลัง โลโก้ สีปุ่ม เป็นต้น ทำให้ไม่ต้องออกแบบหน้าจอเอง จึงประหยัดทั้ง Effort และ Resource

2. DOPA API

รูปแบบนี้เหมาะสำหรับลูกค้าที่มีข้อมูลอยู่แล้ว เพียงแค่ต้องการนำข้อมูลไปตรวจสอบกับทาง DOPA ก็สามารถเลือกใช้บริการนี้ได้ โดยข้อดีก็คือไม่ต้องปรับเปลี่ยน Flow หน้าจอ หรือ Customer journey ใดๆ เพียงแค่ส่งข้อมูลผ่านระบบหลังบ้าน ก็สามารถรับประกันได้แล้วว่าเป็นชุดข้อมูลที่ถูกต้อง

3. Connect NDID Platform via Proxy

รูปแบบนี้เหมาะสำหรับลูกค้าที่ไม่ได้มีความต้องการในการใช้ SDK และได้มีการพัฒนาระบบ Front-end เรียบร้อยแล้ว เพียงต้องการใช้บริการ NDID โดยเชื่อมต่อผ่าน Proxy ของ SCB TechX ซึ่งมีข้อดีคือลูกค้าไม่ต้องลงทุนในส่วนของฮาร์ดแวร์ตั้ง Node เอง ไม่ต้องทำการเชื่อมต่อกับ NDID platform เอง ตลอดจนไม่ต้องอัพเกรด Node หรือข้อมูลด้วยตนเอง

หากสนใจระบบยืนยันตัวตน e-KYC ของ SCB TechX หรือบริการอื่นๆ เช่น DevOps และ xPlatform เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษา พร้อมทั้งช่วยประเมินความพร้อมของระบบในการใช้งาน eKYC โดยสามารถติดต่อเราได้ที่ Email: contact@scbtechx.io

Related Content

  • ทั้งหมด
  • Blogs
  • Insights
  • News
    •   Back
    • Careers
    • Data Science
    • Lifestyle
    • Product
    • Strategy
    • Technology
    • User Experience
    • xPlatform
    • DevOps
    •   Back
    • PointX Products
    • Events
    • Others
    • Leadership
    • Partnership
    • Services & Products
    • Joint ventures
    •   Back
    • Blockchain
    • Finance
    • Tech innovation

Your consent required

If you want to message us, please give your consent to SCB TechX to collect, use, and/or disclose your personal data.

| การเพิกถอนความยินยอม

หากคุณต้องการเพิกถอนการให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล กรุณาส่งคำร้องหาเรา

Vector

Message sent

We have receive your message and We will get back to you shortly.