พามารู้จัก Cloud Platform พร้อมแนะนำข้อดี-ข้อเสีย

ไทย

Cloud computing technology and online data storage for business network concept.

เครื่องมือที่ทันสมัยย่อมเสริมสร้างผลลัพธ์การทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้หลายองค์กรให้ความสำคัญกับการเลือกใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึง Cloud Platform ด้วยเช่นกัน ในบทความนี้ SCB TechX จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ Cloud Platform และข้อดี-ข้อเสียด้านการใช้งาน

Cloud Platform คืออะไร?

คลาวด์ แพลตฟอร์ม หรือ Cloud Platform คือ รูปแบบการให้บริการคอมพิวติ้งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ผ่านเว็บเบราว์เซอร์โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง เปรียบเสมือนการเช่าใช้ทรัพยากรคอมพิวติ้ง เช่น หน่วยประมวลผลผล (CPU) หน่วยความจำ (RAM) พื้นที่เก็บข้อมูล (Storage) ซอฟต์แวร์ และบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้ไม่ต้องลงทุนในฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์เอง

Cloud Platform ทำงานอย่างไร?

Cloud Platform ทำงานโดยการใช้เทคโนโลยีเครื่องเสมือน (Virtual Machine) จำลองเซิร์ฟเวอร์เสมือนขึ้นมาหลายๆ เซิร์ฟเวอร์ โดยทุกเซิร์ฟเวอร์เสมือนทำงานแบบแยกส่วนกัน แต่อยู่บนเซิร์ฟเวอร์กายภาพ (Physical Server) ในศูนย์ข้อมูลของผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud Service) เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าถึงทรัพยากรคลาวด์ต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นบริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Cloud Storage) การสำรองข้อมูล (Data Back Up) การกู้คืนข้อมูล (Data Recovery) ไปจนถึงแพลตฟอร์ม และซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ทำงานอยู่บนโครงสร้างคลาวด์ของผู้ให้บริการ

ประเภทของ Cloud platform

โดย Cloud Platform สามารถจำแนกประเภทตามสภาพแวดล้อมคลาวด์ (Cloud Environment) ได้ ดังนี้

1. Private Cloud

Private Cloud คือ คลาวด์ส่วนตัวที่มีสภาพแวดล้อมแบบผู้ใช้งานรายเดียว โดยองค์กรสามารถครอบครองและจัดการ Private Cloud ได้ด้วยตนเอง หรือเป็นการเช่า Private Cloud ที่ผู้ให้บริการยังเป็นเจ้าของและมีหน้ารับผิดชอบด้านการจัดการ ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้ให้บริการแต่ละราย

 

โดยข้อดีของ Private Cloud คือ องค์กรไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรคลาวด์ร่วมกับผู้ใช้งานรายอื่นๆ ส่งผลให้มั่นใจได้ในเสถียรภาพและความปลอดภัย

2. Public Cloud

Public Cloud คือ คลาวด์สาธารณะที่มีผู้ใช้งานหลายรายในสภาพแวดล้อมคลาวด์เดียวกัน โดยผู้ให้บริการยังเป็นเจ้าของและมีหน้ารับผิดชอบด้านการจัดการ ซึ่งมีค่าบริการถูกกว่า Private Cloud แต่อาจมีเสถียรภาพและความปลอดภัยน้อยกว่า

3. Hybrid Cloud

Hybrid Cloud คือ คลาวด์แบบผสม โดยเป็นการผสาน Private Cloud และ Public Cloud เข้าด้วยกันผ่านเครือข่ายเชื่อมต่อ ซึ่งช่วยให้องค์กรมีความยืดหยุ่นด้านการใช้งาน และประหยัดค่าบริการได้มากกว่า

นอกจากนี้ยังมี Cloud Platform อีกหนึ่งประเภท คือ Multi-Cloud ที่เป็นการใช้งาน Cloud Platform จากผู้ให้บริการมากกว่า 1 ราย ซึ่งการเลือกใช้งาน Cloud Platform แต่ละประเภทขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ การดำเนินงานภายในองค์กร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ข้อดีของ Cloud Platform

ข้อดีของ Cloud Platform

การใช้งาน Cloud Platform มีข้อดีในหลายด้าน โดยเฉพาะการใช้งานในระดับองค์กร อาทิ

การใช้งาน Cloud Platform มีข้อดีในหลายด้าน โดยเฉพาะการใช้งานในระดับองค์กร อาทิ

1. ความยืดหยุ่นสูง

องค์กรสามารถปรับเพิ่ม หรือลดการใช้ทรัพยากรคลาวด์ได้ตามต้องการอย่างสะดวกและรวดเร็ว

2. ประหยัดต้นทุน

การใช้บริการ Cloud Platform เปรียบเสมือนการเช่าใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของผู้ให้บริการ ส่งผลให้องค์กรไม่จำเป็นต้องลุงทุนซื้ออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์เหล่านี้ด้วยตนเอง

3. ตอบสนองความต้องการตลาดได้อย่างรวดเร็ว

Cloud Platform มีรูปแบบบริการแพลตฟอร์มสำหรับนักพัฒนาที่เรียกว่า Platform as a Service (PaaS) ที่มีเครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้าง พัฒนา และปล่อยแอปพลิเคชัน หรือซอฟต์แวร์สู่ท้องตลาดได้อย่างรวดเร็ว

4. ประหยัดทรัพยากรบุคคลด้านไอที (IT)

การอัปเกรดอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ต่างๆ ของ Cloud Platform เป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้ให้บริการ

5. ยกระดับการรักษาความปลอดภัย

Cloud Platform มักมาพร้อมกับเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะเป็นการเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) ไฟร์วอลล์ (Firewall) ไปจนถึงระบบจัดการและยืนยันตัวตนบัญชีผู้ใช้งาน (Identity and Access Management) เป็นต้น

6. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ด้วยความล้ำสมัยของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่าย และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ผนวกเข้ากับ Cloud Platform ช่วยให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ข้อเสียของ Cloud Platform

1. ความล่าช้าในการทำงานของระบบ

การใช้งาน Cloud Platform อาจเกิดความล่าช้าได้บ้าง ขึ้นอยู่กับเสถียรภาพของเครือข่าย ประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมถึงความทันสมัยของโครงสร้างคลาวด์นั้นๆ

2. ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

ข้อมูลบางประเภท เช่น ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า คือ ข้อมูลที่ได้รับการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวตามกฎหมาย PDPA ซึ่งผู้ให้บริการ Cloud Platform จำเป็นต้องมีนโยบายการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่สอดคล้องกับนโยบายขององค์กรที่อ้างอิงตามกฎหมาย

3. อาจมีค่าใช้จ่ายแฝง

ผู้ให้บริการ Cloud Platform บางรายอาจคิดค่าบริการเพิ่มเติม เช่น ค่าบริการข้อมูลขาออก ค่าบริการอัปเกรดฮาร์ดแวร์ และอื่นๆ

4. เสถียรภาพของอินเทอร์เน็ต

เนื่องจาก Cloud Platform รองรับการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต ดังนั้นหากอินเทอร์เน็ตมีเสถียรภาพต่ำ ประสิทธิภาพการเข้าถึง Cloud Platform อาจน้อยลงตามไปด้วย

ทั้งนี้ Cloud Platform ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรยุคดิจิทัล โดยเฉพาะการสร้าง Cloud Solutions อันเป็นแอปพลิเคชัน หรือซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่บนคลาวด์ เพื่อให้องค์กรสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

การพิจารณาเลือก Cloud Platform

การเลือก Cloud Platform มีปัจจัยที่พึงพิจารณา ดังนี้

1. ขนาดองค์กรและทรัพยากรที่มี

องค์กรใหญ่ที่มีทรัพยากรเพียงพอ และต้องการความปลอดภัยสูงอาจเลือกใช้ Private Cloud ขณะที่องค์กรขนาดกลาง และขนาดเล็กที่ต้องการความยืดหยุ่น และประหยัดค่าใช้จ่ายอาจเลือกใช้ Public Cloud หรือ Hybrid Cloud

2. ความต้องการด้านความปลอดภัย

หากข้อมูลที่จัดการมีความสำคัญและต้องการความปลอดภัยสูง Private Cloud หรือ Hybrid Cloud เป็นตัวเลือกที่เหมาะสม

3. ความยืดหยุ่นและการขยายตัว

หากองค์กรต้องการความยืดหยุ่นในการขยายตัวและต้องการการปรับตัวที่รวดเร็ว Public Cloud หรือ Hybrid Cloud จะตอบโจทย์ได้ดีกว่า

การตัดสินใจเลือกใช้ Cloud Platform ควรพิจารณาถึงความต้องการเฉพาะขององค์กร และการประเมินข้อดีข้อเสียของแต่ละประเภท เพื่อให้สามารถใช้งานระบบคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการในระยะยาว

แนะนำ Cloud Solutions ของ SCB TechX

SCB TechX พร้อมให้คำปรึกษาและช่วยเหลือองค์กรของคุณในการใช้งานคลาวด์อย่างมีประสิทธิภาพ

และยังมีการให้บริการอื่นที่พัฒนาบน Cloud Infrastructure เพื่อตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรต่างๆ อาทิเช่น e-KYC, KYC และ NDID ที่องค์กรสามารถใช้ในการตรวจสอบและยืนยันตัวตนของลูกค้าได้โดยไม่ต้องพัฒนาระบบขึ้นมาเอง หากองค์การใดที่มีความต้องการการใช้งาน สามารถติดต่อทีมงานผู้เชี่ยวชาญบริการ Cloud Solutions ของเราได้ที่ Email: contact@scbtechx.io 

 

ติดตาม SCB TechX เพื่ออัปเดตข่าวสารใหม่ๆ ก่อนใคร

 

Facebook: SCB TechX

Medium: medium.com/scb-techx 

LinkedIn: www.linkedin.com/company/scb-tech-x/

YouTube: SCB TechX

Related Content

  • ทั้งหมด
  • Blogs
  • Insights
  • News
    •   Back
    • Careers
    • Data Science
    • Lifestyle
    • Product
    • Strategy
    • Technology
    • User Experience
    • xPlatform
    • DevOps
    •   Back
    • PointX Products
    • Events
    • Others
    • Leadership
    • Partnership
    • Services & Products
    • Joint ventures
    •   Back
    • Blockchain
    • Finance
    • Tech innovation

Your consent required

If you want to message us, please give your consent to SCB TechX to collect, use, and/or disclose your personal data.

| การเพิกถอนความยินยอม

หากคุณต้องการเพิกถอนการให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล กรุณาส่งคำร้องหาเรา

Vector

Message sent

We have receive your message and We will get back to you shortly.