ในยุคดิจิทัลนี้ “ข้อมูล” กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสร้างข้อได้เปรียบให้กับหลากหลายธุรกิจ โดยเฉพาะ “Big Data” ที่ธุรกิจระดับโลกนิยมนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับองค์กร
สำหรับ Big Data คือ ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนมาก โดยขนาดและความซับซ้อนของ Big Data มีความสัมพันธ์กับการเติบโตของโลกดิจิทัลที่ผู้คนสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มต่างๆ บนโลกออนไลน์ได้ตลอดเวลา จึงมีข้อมูลเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยในบทความนี้ SCB TechX จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจระดับโลกที่นำ Big Data มาใช้งานและข้อดี ข้อเสียของ Big Data
ตัวอย่างธุรกิจที่นำ Big Data มาใช้งาน
• การใช้ Big Data ของ Netflix
สำหรับ Netflix ถือเป็นแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งระดับโลกที่ประสบความสำเร็จด้วย Big Data ซึ่ง Big Data ของ Netflix เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ อายุ ไปจนถึงพฤติกรรมการค้นหาบน Netflix ส่งผลให้ Netflix สามารถวิเคราะห์เชิงคาดการณ์และมองหาแนวโน้มว่าลูกค้าแต่ละกลุ่มชื่นชอบภาพยนตร์ หรือซีรีส์แนวไหน (การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ไม่สามารถคาดการณ์แนวโน้มได้แม่นยำ 100%)
• การใช้ Big Data ของ Amazon
ส่วน Big Data ของ Amazon ก็เป็นการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าทั้งหมดเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ชื่อลูกค้า ที่อยู่ ข้อมูลการชำระเงิน และประวัติการค้นหาสินค้า เป็นต้น ทำให้ Amazon มีข้อมูลความสนใจของลูกค้า และสามารถนำไปทำแคมเปญทางการตลาดได้อย่างถูกจุด อีกทั้งยังช่วยให้เจ้าหน้าที่ของ Amazon สามารถสนับสนุนการใช้งานของผู้ใช้ได้อย่างตอบโจทย์
รวมข้อดีของ Big Data
1. การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์
ข้อมูลใน Big Data สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ได้ ซึ่งเป็นการหารูปแบบหรือ Pattern จากข้อมูลในอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อคาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ในปี 2020-2022 บริษัท A มีแนวโน้มผลประกอบการณ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ดังนั้นจึงคาดการณ์ได้ว่า ในปี 2023 บริษัท A จะมีผลประกอบการณ์เพิ่มขึ้นจากปี 2022
2. การวิเคราะห์เชิงวินิจฉัย
สำหรับการวิเคราะห์เชิงวินิจฉัย คือ การวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูล มักใช้ในกรณีที่ต้องการวินิจฉัยต้นเหตุของปัญหา เช่น
ข้อมูลหนึ่ง: ผลกำไรของบริษัท A ในปี 2023 ลดลง 1 ล้านบาท จากปี 2022
ข้อมูลสอง: ในปี 2023 บริษัท A มีการลงทุนเพิ่ม 1 ล้านบาท เพื่อเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่
หากพิจารณาจากข้อมูลหนึ่งเพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถสรุปได้ว่าผลกำไรที่ลดลงมีสาเหตุมาจากอะไร และอาจนำไปสู่การเข้าใจผิดได้ว่า ผลประกอบการในปี 2023 ของบริษัท A ลดลง แต่หากพิจารณาเพื่อหาความสัมพันธ์กับข้อมูลสอง จะเห็นได้ว่าผลกำไรที่ลดลงเท่ากับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า บริษัท A ไม่ได้มีผลประกอบการที่ลดลง แต่มีการลงทุนเพิ่มขึ้นนั่นเอง
นอกจากนี้ การวิเคราะห์เชิงวินิจฉัยยังทำให้ธุรกิจเห็นถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ไม่คาดคิดมาก่อนได้ด้วย เช่น จำนวนผู้ใช้งานแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งภาพยนตร์ที่เพิ่มขึ้น ในช่วงเวลาเดียวกันกับการระบาดของโรคติดต่อทั่วโลก เป็นต้น
3. เข้าถึงเหตุการณ์ได้อย่างรวดเร็ว
เนื่องจากข้อมูลใน Big Data มีการประมวลผลแบบเรียลไทม์ ทำให้นักการตลาดสามารถเข้าถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันได้อย่างรวดเร็ว เช่น แพลตฟอร์ม E-Commerce เจ้าหนึ่งพบว่า ผู้ใช้งานชาวไทยค้นหาคำว่า “ช้อนส้อมเกาหลี” เป็นจำนวนมากในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ซึ่งนักการตลาดสามารถนำข้อมูลนี้ไปพัฒนาแคมเปญทางการตลาด เพื่อให้ได้การตอบรับที่ตรงกับความสนใจของผู้ใช้งานในขณะนั้นได้
ข้อเสียของ Big Data
1. ความท้าทายด้านการประมวลผล
เนื่องจากการประมวลผลข้อมูลใน Big Data เป็นการประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาล และมีความซับซ้อนแตกต่างกัน จึงต้องอาศัยทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อใช้ในการประมวลผลข้อมูล เพราะหากนำซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำมาประมวลผล Big Data จะทำให้การประมวลผลล่าช้า
โดยซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมีราคาค่อนข้างสูง ส่งผลให้ธุรกิจต้องเพิ่มต้นทุนตามไปด้วย จึงไม่เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก หรือธุรกิจที่มีเงินทุนไม่มากนัก
2. ความเสี่ยงในการละเมิดความเป็นส่วนตัว
สำหรับ Big Data ที่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า เช่น ประวัติการเข้าใช้งานเว็บไซต์ ที่อยู่ หรือเลขประจำตัวบุคคล จำเป็นต้องมีแบบฟอร์มขออนุญาตอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการละเมิดความเป็นส่วนตัวของบุคคล ซึ่งเป็นความคุ้มครองตามกฎหมายพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA
3. การรักษาความปลอดภัย
ชุดข้อมูลขนาดใหญ่อย่าง Big Data มักตกเป็นเป้าของอาชญากรไซเบอร์อยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการโจรกรรมข้อมูลไปเรียกค่าไถ่ หรือนำข้อมูลไปขายต่ออย่างผิดกฎหมาย ดังนั้นจึงต้องนำเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยต่างๆ มาใช้กับ Big Data
โดยทั้งหมดนี้คือ ข้อดี ข้อเสียของ Big Data แม้จะมีข้อกังวลด้านการจัดการและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ด้วย Data Platform ที่มี Data Solutions สำหรับจัดการ ประมวลผล วิเคราะห์ และรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูล ยกตัวอย่าง TechX Data Platform ของ SCB TechX ที่สามารถออกแบบ Data Solutions ให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานของธุรกิจได้ อีกทั้งยังเป็นพันธมิตรกับ Databricks, AWS, Microsoft Azure และ Google Cloud Platform ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านข้อมูลและคลาวด์ระดับโลกที่สามารถมั่นใจได้ในแง่ของการรักษาความปลอดภัย
สนใจบริการ TechX Data Platform จาก SCB TechX
SCB TechX พร้อมให้บริการ TechX Data Platform ระบบจัดเก็บและจัดการข้อมูล พร้อมตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายขององค์กร
หากสนใจดูรายละเอียดบริการ TechX Data Platform (คลิก)
สอบถามบริการด้าน Data Platform, บริการ eKYC และ โซลูชันอื่นๆเพิ่มเติม ได้ที่ Email: contact@scbtechx.io
ติดตาม SCB TechX เพื่ออัปเดตข่าวสารใหม่ๆ ก่อนใคร
Facebook: SCB TechX
Medium: medium.com/scb-techx
LinkedIn: www.linkedin.com/company/scb-tech-x/
YouTube: SCB TechX