ในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงานเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม หากเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับองค์กรที่ต้องการอยู่รอดและเติบโตในยุคดิจิทัล การวางกลยุทธ์สู่ Digital Transformation นอกจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร ยังช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ ประเภทของ Digital transformation นั้นมีหลากหลาย ดังนั้นองค์กรจึงควรศึกษาการทำ Digital Transformation รูปแบบต่างๆ เพื่อให้สามารถวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
การทำ Digital Transformation
Digital Transformation คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงกระบวนการทำงาน รวมไปถึงวัฒนธรรมองค์กรและการสร้างประสบการณ์ลูกค้า โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ และสร้างคุณค่าให้กับองค์กร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การนำเทคโนโลยีมาใช้ แต่รวมถึงการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการทำงานทั้งองค์กรอีกด้วย
เทคโนโลยีต่างๆ ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการทำ Digital Transformation นั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่ AI (Artificial Intelligence) ระบบ CRM (Customer Relationship Management) ไปจนถึงเทคโนโลยีระบบคลาวด์ (Cloud) และอีกมากมาย
4 ประเภทของ Digital Transformation
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น การทำ Digital Transformation มีหลายรูปแบบ โดยแต่ละองค์กรอาจเลือกใช้วิธีที่แตกต่างกันตามความเหมาะสมและรูปแบบธุรกิจ ดังนั้น การทำความเข้าใจประเภทของ Digital Transformation จะช่วยให้องค์กรสามารถวางแผน และเลือกแนวทางที่เหมาะสมกับเป้าหมายและทรัพยากรที่มีอยู่ โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ดังนี้
1. Process Transformation หรือการปฏิรูปกระบวนการ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งกิจกรรมที่องค์กรควรใส่ใจคงหนีไม่พ้น “กระบวนการทำงาน” เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยการปฏิรูปกระบวนการก็คือการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยยกระดับการดำเนินงานภายในองค์กร เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิม ซึ่งนับเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำ Digital Transformation
ยกตัวอย่าง Process Transformation เช่น การนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในงานประจำหรือต้องทำซ้ำๆ อย่าง RPA (Robotic Process Automation) ในงานบัญชี การเงิน หรืองานเอกสารต่างๆ การทำ Machine Learning และการใช้ API ในกระบวนการทำงาน ส่งผลให้งานในส่วนนี้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ลดขั้นตอน และสร้างมูลค่าให้กับองค์กร
2. Business Model Transformation หรือการปฏิรูปโมเดลธุรกิจ
การทำ Business Model Transformation นั้นเป็นการมุ่งเน้นไปยังการสร้างพื้นฐานธุรกิจ เพื่อส่งมอบคุณค่า (Value) ให้กับลูกค้าและตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ของผู้บริโภค ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกอุตสาหกรรม โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย
เช่น Netflix ที่แต่เดิมให้บริการเช่าวิดีโอก็ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจมาเป็น Streaming Platform อย่างที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน Uber และ Grab ที่เปลี่ยนแปลงการใช้บริการแท๊กซี่ รวมไปถึงสถาบันทางการเงินต่างๆ ที่หันมาให้บริการแบบดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชัน Mobile Banking เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างคุณค่าแล้ว แพลตฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ยังตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัล อีกทั้งสามารถสร้างรายอย่างต่อเนื่องให้กับธุรกิจ
3. Domain Transformation หรือการปฏิรูปขอบข่ายของธุรกิจ
Domain Transformation เปรียบเสมือนการขยายรูปแบบการบริการที่ธุรกิจยังไม่ได้ต่อยอดออกไป ซึ่งแต่เดิมอาจเป็นไปได้ยาก แต่สามารถทำได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ เช่น องค์กรที่จัดจำหน่ายอะไหล่เครื่องจักรมาเป็นเวลานาน อาจขยายการบริการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์เพิ่มเติม โดยให้บริการคำปรึกษาการใช้งาน รวมถึงบริการซ่อมบำรุง และการออกแบบเครื่องจักร ซึ่งการขยายธุรกิจในลักษณะนี้สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจได้สูง ขยายการให้บริการไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ และสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจได้อีกด้วย
4. Cultural/Organizational Transformation หรือการปฏิรูปวัฒนธรรมองค์กร
การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้ Digital Transformation ประสบความสำเร็จในระยะยาว โดยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบนี้จะมุ่งเน้นให้บุคลากรสามารถทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ สื่อสารอย่างทั่วถึง และทำงานได้อย่างรวดเร็ว หรือก็คือ กระบวนการทำงานแบบ Agile นั่นเอง
โดยองค์กรสามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ พร้อมปรับ Mindset ขององค์กร กระบวนการในการทำงาน การบริหารทรัพยากรบุคคล และความสามารถในโลกดิจิทัล ซึ่งจะช่วยให้อัตราการประสบความสำเร็จของการทำ Digital Transformation สูงขึ้น
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า ประเภทของ Digital Transformation ทั้ง 4 รูปแบบมีความเชื่อมโยงและเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ดังนั้น องค์กรควรเลือกจุดเริ่มต้นที่เหมาะสมกับความพร้อมและทรัพยากร โดย Process Transformation มักเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ เพราะเห็นผลเร็วและสามารถต่อยอดไปสู่การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ในขณะที่ Cultural Transformation เป็นรากฐานสำคัญที่ควรดำเนินการควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในระยะยาว
กลยุทธ์สู่ Digital Transformation
การทำ Digital Transformation ให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยกลยุทธ์ที่ครอบคลุมและเป็นระบบ การวางแผนที่ดีจะช่วยให้องค์กรสามารถจัดการกับความท้าทายต่างๆ และบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1. การวางแผนกลยุทธ์ดิจิทัล
ขั้นตอนอันดับแรกของการทำ Digital Transformation คือ การวางแผน โดยเริ่มตั้งแต่การกำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน โดยองค์กรต้องสามารถมองเห็นภาพอนาคตที่ต้องการจะเป็น และสื่อสารวิสัยทัศน์นั้นให้บุคลากรในองค์กรเข้าใจตรงกัน ซึ่งวิสัยทัศน์ที่ดีต้องสอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจและความต้องการของลูกค้า
ต่อมาคือ การวิเคราะห์สถานะปัจจุบันขององค์กร โดยองค์กรต้องประเมินความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้งบุคลากร เทคโนโลยี กระบวนการทำงาน และงบประมาณ เพื่อระบุช่องว่างที่ต้องพัฒนาและปรับปรุงได้อย่างตรงจุด
สุดท้าย คือ การจัดลำดับความสำคัญของโครงการดิจิทัล ซึ่งต้องพิจารณาทั้งผลกระทบต่อธุรกิจและความเป็นไปได้ในการดำเนินการ องค์กรควรเริ่มจากโครงการที่สร้างผลกระทบสูงและดำเนินการได้ง่ายก่อน เพื่อสร้างแรงผลักดันและความเชื่อมั่นในการเปลี่ยนแปลง
2. การลงทุนในเทคโนโลยีที่เหมาะสม
อันดับต่อมาในการวางแผน คือ การคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับองค์กร โดยควรพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น
- ความต้องการทางธุรกิจ – องค์กรต้องระบุปัญหาและโอกาสที่ต้องการแก้ไขหรือพัฒนา จากนั้นจึงพิจารณาเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสามารถในการบูรณาการ (Integration) กับระบบที่มีอยู่เดิม
- ประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน – พิจารณาทั้งต้นทุนทางตรงและทางอ้อม รวมถึงผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับในระยะยาว องค์กรควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา การฝึกอบรมบุคลากร และการอัปเกรดระบบในอนาคต
- การวางแผนการใช้งาน – องค์กรควรต้องมีแผนรองรับการอัปเกรด การขยายตัว และการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการจัดการการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้การใช้งานเทคโนโลยีเป็นไปอย่างราบรื่น
3. การสร้างทีมที่มีความสามารถด้านดิจิทัล
บุคลากรเป็นกุญแจสำคัญของการทำ Digital Transformation ดังนั้นองค์กรจึงจำเป็นต้องเพิ่มพูนทักษะของบุคลากร โดยครอบคลุมทั้งทักษะพื้นฐานและทักษะเฉพาะทางที่จำเป็นสำหรับการทำงานในยุคดิจิทัล ประกอบกับการสรรหาผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลที่มีความเชี่ยวชาญ เช่น นักวิเคราะห์ข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ หรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ เป็นต้น สุดท้ายนี้ ไม่ควรมองข้ามการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง พร้อมสนับสนุนบุคลากรทั้งในด้านเวลาและทรัพยากรที่จำเป็น
4. การใช้ DevOps เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาและการดำเนินงาน
การนำแนวคิด DevOps มาใช้เป็นกลยุทธ์สำคัญในการเพิ่มความเร็วและคุณภาพของการทำ Digital Transformation และพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ โดยองค์กรสามารถอาศัยเครื่องมือ DevOps เพื่อสร้างกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ ตั้งแต่การพัฒนาไปจนถึงการทดสอบ และการนำขึ้นใช้งานจริง เพื่อลดระยะเวลาและข้อผิดพลาดในการทำงาน อีกทั้งการทำงานร่วมกันระหว่างทีมพัฒนาและทีมปฏิบัติการเป็นหัวใจสำคัญของ DevOps ซึ่งองค์กรต้องสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน ลดกำแพงระหว่างทีม และส่งเสริมการสื่อสารแบบเปิดกว้าง เพื่อให้การพัฒนาและการดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น และเพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ องค์กรควรเน้นย้ำเรื่องการวัดผลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเป็นส่วนสำคัญของการใช้ DevOps องค์กรต้องกำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญและติดตามผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อค้นหาโอกาสในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
บทบาทของ DevOps ใน Digital Transformation
DevOps มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน Digital Transformation โดยช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาและส่งมอบซอฟต์แวร์ได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ ผ่านการ ลดระยะเวลาในการพัฒนาและทดสอบ เพิ่มความถี่ในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ สร้างความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนระบบ โดยสามารถสรุปบทบาทของ DevOps ที่สำคัญต่อ Digital Transformation ได้ดังนี้
- การเพิ่มความเร็วในการพัฒนาและส่งมอบ – DevOps ช่วยลดระยะเวลาในการพัฒนาและส่งมอบซอฟต์แวร์ผ่านการทำงานแบบอัตโนมัติและการทำงานแบบต่อเนื่อง (Continuous Integration/Continuous Deployment – CI/CD) ทำให้องค์กรสามารถปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมลดระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาและข้อบกพร่องของระบบ ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้รวดเร็วขึ้น
- การยกระดับคุณภาพและความน่าเชื่อถือ – การใช้ DevOps ช่วยเพิ่มคุณภาพของซอฟต์แวร์และความน่าเชื่อถือของระบบ ผ่านการทดสอบอัตโนมัติที่ครอบคลุมและสม่ำเสมอ การติดตามและตรวจสอบระบบแบบเรียลไทม์ การจัดการการเปลี่ยนแปลงและการกู้คืนระบบที่มีประสิทธิภาพ
- การสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบร่วมมือกัน – ด้วยการลดอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างทีมพัฒนาและทีมปฏิบัติการ สร้างความรับผิดชอบร่วมกันต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของระบบส่งเสริมการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ระหว่างทีม
การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร – การนำ DevOps มาใช้ช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การใช้ระบบคลาวด์และการจัดการโครงสร้างพื้นฐานแบบอัตโนมัติ อีกทั้งการดำเนินงานและการบำรุงรักษาแบบอัตโนมัติยังช่วยลดต้นทุนในการพัฒนา และเปิดโอกาสให้ทรัพยากรได้อย่างยืดหยุ่นตามความต้องการ
สรุป Digital Transformation เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญก่อนที่ธุรกิจจะถูก Disrupt อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดย SCB TechX บริษัทที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ชั้นนำ พร้อมด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ พร้อมที่จะคำแนะนำ และนำเสนอโซลูชันรูปแบบต่างๆ ทั้งบริการ Digital transformation บริการ Cloud Solutions รวมไปถึงโซลูชัน DevOps as a Service บน xPlatform เพื่อช่วยขับเคลื่อนองค์กรของคุณไปสู่ Digital Transformation อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญงานพัฒนาซอฟต์แวร์ สามารถติดต่อทีม xPlatform ของเราได้ที่ contact@scbtechx.io
ติดตาม SCB TechX เพื่ออัปเดตข่าวสารใหม่ๆ ก่อนใคร
Facebook: SCB TechX
Medium: medium.com/scb-techx
LinkedIn: www.linkedin.com/company/scb-tech-x/
YouTube: SCB TechX