รู้จักDevOps Engineer ตำแหน่งสำคัญในแวดวงไอที 

ไทย

Programmer programming and coding software designer working on

ด้วยความล้ำหน้าของเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้มีตำแหน่งใหม่ๆ เกิดขึ้นในสายงานด้านไอที โดยหนึ่งในตำแหน่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาซอฟต์แวร์ คือ DevOps Engineer ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้นในประเทศไทย

 

ในบทความนี้ SCB TechX จะพาไปทำความรู้จักกับตำแหน่ง และหน้าที่ของ DevOps Engineer พร้อมเหตุผลที่ทำให้บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งเริ่มมองหา DevOps Engineer

DevOps Engineer คืออะไร?

วิศวกร DevOps หรือ DevOps Engineer คือ ผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Development) และการปฏิบัติการ (Operations) เข้าด้วยกัน เพื่อให้การพัฒนา ทดสอบ และส่งมอบซอฟต์แวร์ให้กับลูกค้ามีคุณภาพ และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

หน้าที่ของ DevOps Engineer

กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบดั้งเดิมอาศัยการทำงานระหว่าง 2 ทีม คือ ทีมพัฒนาและทีมปฏิบัติการ โดยทีมพัฒนามุ่งเน้นไปที่การพัฒนา และนำเสนอฟีเจอร์ใหม่ๆ บนซอฟต์แวร์ให้กับลูกค้า ในขณะที่ทีมปฏิบัติการให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพของซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นการทำงานแบบแยกส่วนกันระหว่าง 2 ทีม ส่งผลให้เกิดการทำงานซ้ำซ้อน ความล่าช้า และข้อผิดพลาด

 

ต่อมาได้มีการคิดค้นแนวคิด DevOps (Development and Operations) ขึ้นมา ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผสานการทำงานของทั้ง 2 ทีม เข้าด้วยกัน แต่เนื่องจากเป็นเพียงแนวคิด ส่งผลให้หลายองค์กรนำไปปฏิบัติจริงได้ยาก อย่างไรก็ตาม การมี DevOps Engineer จะทำให้องค์กรสามารถนำแนวคิด DevOps มาใช้จริงได้มากกว่า โดย DevOps Engineer มีหน้าที่สำคัญ ดังนี้ 

 

1. ประเมินประสิทธิภาพของระบบและซอฟต์แวร์

ประเมินประสิทธิภาพการทำงานของซอฟต์แวร์ และหาจุดที่ต้องปรับปรุง เพื่อทำให้ซอฟต์แวร์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2. สร้างระบบทดสอบอัตโนมัติ

ออกแบบและพัฒนาชุดทดสอบอัตโนมัติ โดยเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม แล้วสร้างกรณีทดสอบ (Test Cases) ที่ครอบคลุมการทำงานฟังก์ชันหลัก

3. แก้ไขและเพิ่มประสิทธิภาพซอฟต์แวร์

วิเคราะห์ผลการทดสอบ หลังจากนั้นนำมาปรับปรุงประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ ก่อนจะทำการทดสอบซ้ำอีกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่า ข้อผิดพลาดที่ถูกตรวจพบได้รับการแก้ไขแล้ว

4. ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างทีม

DevOps Engineer มีบทบาทสำคัญการประสานการทำงานระหว่างทีมพัฒนา ทีมปฏิบัติการ และทีมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยออกแบบแผนการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

5. ติดตามและรายงานผล

กำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพที่สำคัญ (KPIs) เพื่อติดตาม และรายงานผลลัพธ์การปรับปรุงประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ในภาพรวม

โดย DevOps Engineer จะต้องมีความเข้าใจในบทบาทของทีมพัฒนา และทีมปฏิบัติการอย่างลึกซึ้ง เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงการพัฒนาและการปฏิบัติการเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มความเร็วและคุณภาพในการส่งมอบซอฟต์แวร์ โดยใช้เทคโนโลยีและแนวทางปฏิบัติที่ทันสมัย เช่น Cloud Technology

ข้อดีของ DevOps Engineer ต่อธุรกิจ

ปัจจุบันมีธุรกิจจำนวนไม่น้อยหันมาว่าจ้างตำแหน่ง DevOps Engineer มากขึ้น ยกตัวอย่างเงินเดือนเฉลี่ยของตำแหน่ง DevOps Engineer ในประเทศไทยอยู่ที่ 55,000-68,000 บาท และเงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 32,000 บาท ซึ่งถือเป็นจำนวนเงินที่สูงมากเมื่อเทียบกับอัตราค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทย โดยสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการ DevOps Engineer ของธุรกิจและองค์กรต่างๆ เนื่องจาก DevOps Engineer มีประโยชน์ต่อธุรกิจในหลายด้าน อาทิ

1. ส่งมอบซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพได้รวดเร็ว

DevOps Engineer เป็นตำแหน่งที่เข้ามาลดช่องว่างการทำงานระหว่างทีมพัฒนาและทีมปฏิบัติการ ซึ่งทำให้การพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นไปอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นในภาพรวม อีกทั้งยังลดการทำงานซ้ำซ้อน และความผิดพลาดต่างๆ ที่มีผลต่อคุณภาพของซอฟต์แวร์

2. ประหยัดต้นทุนในระยะยาว

การที่ทีมพัฒนา และทีมปฏิบัติการสามารถจบโครงการได้เร็วขึ้น ส่งผลให้บริษัทสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ได้มากขึ้น โดยลดการว่าจ้างทรัพยากรบุคคลเพิ่มเติม แม้จะมีจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้น

3. ลดความขัดแย้งภายในองค์กร

ความขัดแย้งภายในองค์กรมีแนวโน้มจะลดลง เมื่อ DevOps Engineer เข้ามาเป็นตัวกลางที่ทำให้ทีมพัฒนา และทีมปฏิบัติการทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น

4. ใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น

DevOps Engineer มีบทบาทในการวางแผนการใช้ทรัพยากรในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น

5. สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

ด้วยความรวดเร็วในการส่งมอบ และคุณภาพของซอฟต์แวร์ ส่งผลให้ลูกค้ารู้สึกพึงพอใจกับบริการ ซึ่งทำให้ธุรกิจมีชื่อเสียงที่ดีในแวดวงธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์ และมีแนวโน้มทำให้เกิดลูกค้าประจำ

โดยเครื่องมือ DevOps Engineer ในปัจจุบันมีฟีเจอร์การใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เช่น CI/CD, Container Orchestration, Serverless Computing และอื่นๆ รวมถึงฟีเจอร์สำรองและกู้คืนข้อมูล


อย่างไรก็ตาม ธุรกิจควรเลือกเครื่องมือ DevOps ที่เหมาะกับความต้องการ และปัจจัยอื่นๆ ของธุรกิจ ยกตัวอย่าง xPlatform จาก SCB TechX ที่มีบริการ DevOps ซึ่งสามารถใช้งานได้ทันที หลังสมัครใช้งาน

Programming. Programmer Working On Computer In IT Office, Sitting At Desk Writing Codes. Programmer Typing Data Code, Working On Project In Software Development Company.

ตอบโจทย์ธุรกิจได้มากกว่า ด้วย xPlatform จาก SCB TechX

xPlatform มีแพคเกจให้เลือก 2 แบบ

Professional Package

สำหรับองค์กรขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นแพคเกจมาตรฐานที่ xPlatform ได้ออกแบบ DevOps best practices ไว้ เพียงลูกค้าสมัครใช้งาน ก็สามารถเข้าใช้งาน แบบ shared executor บนพื้นฐาน Ecological system ของแพลตฟอร์มได้ทันที

Enterprise Package

สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ในระดับ Enterprise-grade ลูกค้าจะมี Workflow Executor Account บน Server เฉพาะขององค์กรเท่านั้น รวมทั้งมีระบบ Network และระบบ Security เพิ่มเติม สามารถติดตั้งระบบยืนยันตัวตนเข้าใช้งานตามหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานภายในองค์กรของตนเอง ทำให้องค์กรสามารถควบคุมสิทธิ์การเข้าถึง Environment และ Data ต่างๆ ได้ดีขึ้น

หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญงานพัฒนาซอฟต์แวร์ สามารถติดต่อทีม xPlatform ของเราได้ที่  contact@scbtechx.io 

Related Content

  • ทั้งหมด
  • Blogs
  • Insights
  • News
    •   Back
    • Careers
    • Data Science
    • Lifestyle
    • Product
    • Strategy
    • Technology
    • User Experience
    • xPlatform
    • DevOps
    •   Back
    • PointX Products
    • Events
    • Others
    • Leadership
    • Partnership
    • Services & Products
    • Joint ventures
    •   Back
    • Blockchain
    • Finance
    • Tech innovation

Your consent required

If you want to message us, please give your consent to SCB TechX to collect, use, and/or disclose your personal data.

| การเพิกถอนความยินยอม

หากคุณต้องการเพิกถอนการให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล กรุณาส่งคำร้องหาเรา

Vector

Message sent

We have receive your message and We will get back to you shortly.