NDID คืออะไร ทำไมคนในยุคดิจิทัลอย่างเราถึงต้องมีไว้?

SCB TechX SEO FEB C02 1

เมื่อพูดถึงการสมัครหรือเข้ารับบริการทางด้านธุรกรรมที่ต้องมีการยืนยันตัวตน เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร เปิดพอร์ตลงทุน หรือการสมัครประกันต่างๆ หากเป็นในอดีต เราต้องเดินทางไปที่สาขาหรือสำนักงาน เพื่อยืนยันตัวตน ยื่นเอกสาร ลงทะเบียนกับพนักงาน พูดง่ายๆ ว่าเป็นการทำ KYC (Know Your Customer) แบบดั้งเดิมนั่นเอง ซึ่งอาจจะใช้เวลาดำเนินการ ต้องรวบรวมเอกสารต่างๆ และจำเป็นต้องเข้ารับบริการในวันเวลาทำการเท่านั้น

 

แต่ในยุคดิจิทัลนี้ บริการ eKYC ได้กำเนิดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการยืนยันตัวตน โดยหนึ่งในการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัลที่ได้รับความนิยมก็คือ NDID (National Digital ID) ที่หลายธุรกิจหันมาให้ความสำคัญมากขึ้น มาหาคำตอบไปพร้อมกับ SCB TechX กันว่า NDID คืออะไร? ทำไมคนยุคดิจิทัลถึงควรสมัครใช้บริการนี้? 

 

หัวข้อทั้งหมด

NDID คืออะไร?

NDID ย่อมาจาก “National Digital ID” แปลเป็นไทยก็คือ “ตัวตนของผู้ใช้บริการบนโลกดิจิทัล” ที่สามารถใช้ในการยืนยันตัวตนอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ อำนวยสะดวกให้ผู้บริโภคและภาคธุรกิจมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการการเปิดบัญชีธนาคารออนไลน์ สมัครสินเชื่อออนไลน์ การเปิด e-Wallet ฯลฯ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปที่สาขาธนาคารหรือที่สำนักงานบริการ

SCB TechX SEO FEB C02 2

ทั้งนี้ NDID เป็นระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (eKYC) ที่เป็นแพลตฟอร์มกลางของประเทศไทย หรือ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด (National Digital ID Co., Ltd.) ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน ภายใต้ Regulatory Sandbox ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้าง Ecosystem ที่เชื่อมโยงข้อมูลจากทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน สร้างความสะดวก ประหยัดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพ พร้อมยกระดับระบบการตรวจพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศไทยให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

บริการ NDID ปลอดภัยไหม?

พอได้ทราบกันไปแล้วว่า NDID คือบริการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล 100% อาจทำให้เกิดความกังวลขึ้นมาว่า NDID จะปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน มีโอกาสที่ข้อมูลของเราจะรั่วไหลหรือเปล่า ข้อมูลของเราจะถูกนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือไม่?

 

ระบบ NDID ได้ถูกออกแบบมาโดยใช้หลักการ Data Security and Privacy by Design ส่งผลให้แพลตฟอร์มมีความปลอดภัยสูง มีการเก็บข้อมูลแบบ Decentralized โดยการใช้ Blockchain ซึ่งข้อมูลจะถูกเก็บไว้กับหน่วยงานที่ดูแลข้อมูลและให้บริการลูกค้า ไม่ถูกรวบรวมไว้ในที่เดียว
นอกจากนี้ บริษัท เนชั่นแนลดิจิทัลไอดี จำกัด ที่เป็นผู้ดูแลระบบนั้นเกิดขึ้นจากการร่วมทุนระหว่างบริษัทเอกชนรวมกว่า 60 บริษัท ที่ทั้งหมดอยู่ภายใต้การกำกับที่เข้มงวดและกฎเกณฑ์ความปลอดภัยที่เคร่งครัด จึงมั่นใจได้ว่าของข้อมูลของเราที่อยู่กับ NDID นั้นจะถูกเก็บไว้อย่างปลอดภัยแน่นอน

ประเภทสมาชิก NDID

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น บริการ NDID นั้นเป็นระบบการยืนยันตัวตนดิจิทัลที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ดังนั้น NDID จึงถูกแบ่งประเภท “สมาชิก” หรือ “นิติบุคคล” ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. Relying Party (RP)

คือ นิติบุคคลหรือธุรกิจที่เป็นผู้ให้บริการแก่ลูกค้าโดยตรง และต้องการใช้งานระบบ eKYC เพื่อยืนยันตัวตนลูกค้า โดยอาจให้บริการทั้งในรูปแบบ F2F (Face to Face) และ Non F2F ซึ่งสามารถที่จะใช้งานระบบ NDID เพื่อตรวจพิสูจน์และยืนยันตัวตนลูกค้าได้ อาทิ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทผู้ให้บริการสินเชื่อ บริษัทประกัน หรือผู้ให้บริการธุรกรรมต่างๆ ที่ต้องทำ eKYC เป็นต้น

2. Identity Provider (IdP)

คือ หน่วยงานหรือองค์กรที่ทำหน้าที่พิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการ (ลูกค้า) ตามกฎเกณฑ์ของธปท. และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) สมาชิกประเภท IdP เป็นผู้ที่สามารถออกหลักฐานที่สามารถใช้ยืนยันตัวตนผู้ใช้บริการได้ ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดังกล่าวก็คือธนาคารและบริษัทโทรคมนาคมต่างๆ สุดท้ายนี้ สิ่งยืนยันตัวตนที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยกันดีก็คือ Mobile Banking ที่จะมีบริการ NDID ควบคู่มาด้วย

3. Authoritative Source (AS)

หน่วยงานที่มีข้อมูลส่วนบุคคลที่น่าเชื่อถือของผู้ใช้บริการ อย่างเช่น ธนาคาร บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (National Credit Bureau) และหน่วยงานรัฐ


ข้อสำคัญที่ควรรู้คือข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกเก็บอยู่ที่สมาชิกทั้ง 3 ประเภท ดังนั้น NDID จึงจะไม่เห็นข้อมูลการทำธุรกรรมของผู้ใช้บริการ จะมีเพียงข้อมูล Timestamp ว่าธุรกิจมีการส่งคำขอการพิสูจน์และยืนยันตัวตนไปที่ IdP ใดในตอนไหน ไปยัง AS ใด และมีการส่งข้อมูลกลับไปยัง RP ในเวลาไหนเท่านั้น

แล้ว NDID Proxy คืออะไร?

นอกจากคำว่า NDID หลายคนก็อาจจะเคยได้ยินคำว่า NDID Proxy ที่มักจะมาควบคู่กัน โดย NDID Proxy คือ บริการเชื่อมต่อระบบ Digital ID เพื่อให้ลูกค้าสามารถยืนยันตัวตนแบบ Cross Platform ซึ่งธุรกิจไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อระบบของตัวเองกับระบบ NDID โดยตรง หากให้อธิบายง่ายๆ NDID Proxy เป็นเห็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระบบของธุรกิจกับระบบ NDID กลางนั่นเอง ทำให้ธุรกิจสามารถประหยัดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดูแลฮาร์ดแวร์ได้นั่นเอง

ทำไมคนในยุคดิจิทัลต้องใช้บริการ NDID

SCB TechX SEO FEB C02 3

เพราะการทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์หรือรูปแบบดิจิทัล ได้กลายเป็นช่องทางหลักในปัจจุบันอย่างปฏิเสธไม่ได้ เชื่อว่าไม่ว่าใครๆ ก็ต้องการความน่าเชื่อถือ สะดวก และความปลอดภัยในการทำธุรกรรม ซึ่ง NDID คือหนึ่งในบริการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัลที่สามารถตอบโจทย์เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีข้อดีอื่นๆ เช่น

  • ลดความยุ่งยากและความซับซ้อนในการตรวจพิสูจน์และยืนยันตัวตน – โดยที่ผู้ใช้บริการเอง ก็ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังสาขา เตรียมเอกต่างๆ สารให้วุ่นวาย หรือต้องกรอกข้อมูลเดิมๆ ซ้ำๆ ในส่วนของภาคธุรกิจเองก็สามารถประหยัดงบประมาณด้านแรงงานได้ โดยใช้ระบบเป็นเครื่องมือในการจัดการดูแลข้อมูลและยืนยันตัวตน รวมถึงช่วยลด Human Error อีกด้วย

  • ยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมของประเทศไทยตามมาตรฐานสากล – ด้วยระบบการรักษาข้อมูลที่ออกแบบมาเพื่อความปลอดภัยโดยเฉพาะ จึงมีความปลอดภัยสูงกว่าการยืนยันตัวตนด้วยการใช้สำเนาบัตรประชาชนและเอกสาร ที่เสี่ยงต่อการถูกปลอมแปลงตัวตนหรือถูกขโมยข้อมูล สามารถรักษาความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูลได้อย่างรัดกุม

  • สร้างประสบการณ์ที่ดีในการทำธุรกรรมออนไลน์ – ในมุมของลูกค้า NDID ช่วยให้สามารถทำรายการออนไลน์ต่างๆ ด้วยตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันได้ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถเลือกทำธุรกรรมได้ตามความต้องการ ทั้งตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบในปัจจุบัน ในส่วนของธุรกิจ ก็จะสามารถให้บริการที่รวดเร็วและแม่นยำ สามารถพัฒนาธุรกิจได้อย่างยั่งยืน

จบไปแล้วกับเรื่องน่ารู้ของ NDID ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบการทำ eKYC ที่เป็นมาตรฐานความปลอดภัยในการทำธุรกรรมออนไลน์ของประเทศไทย

สำหรับผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน การธนาคาร การซื้อขายหลักทรัพย์หรือสินทัพย์ดิจิทัล ประกันภัย บริการ e-Wallet หรือธุจกิจอื่นๆ ที่ต้องการบริการ eKYC เข้ามาช่วยยกระดับธุรกิจ ทาง SCB TechX พร้อมให้บริการ eKYC  ที่แบ่งออกได้เป็น 4 บริการเด่น ดังนี้

1.Liveness & Optical Character Recognition (OCR)

บริการตรวจสอบผู้ใช้บริการกับบุคคลในบัตรประชาชนว่าเป็นบุคคลเดียวกันจริงหรือไม่ พร้อมเปลี่ยนภาพถ่ายบัตรประชาชนของผู้ใช้บริการให้เป็นข้อมูลดิจิทัลได้ทันที เพื่อลดขั้นตอนในการกรอกข้อมูลของผู้ใช้บริการและเจ้าหน้าที่ 

2.Liveness & Face Recognition

บริการตรวจสอบว่าผู้ใช้บริการกับบุคคลในภาพถ่ายเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ 

3.DOPA Gateway

ตรวจสอบข้อมูลบัตรประชาชนของผู้ใช้บริการว่าตรงกับฐานข้อมูลของกรมการปกครองหรือไม่

4.NDID Proxy

เชื่อมต่อแพลตฟอร์มดิจิทัลไอดีเพื่อยืนยันตัวตนแบบ Cross platform ช่วยให้ธุรกิจไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับ NDID โดยตรง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อและดูแลระบบ

หากสนใจ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

Email: contact@scbtechx.io

ดูรายละเอียดบริการยืนยันตัวตน eKYC (e-KYC Thailand) คลิก

ติดตาม SCB TechX เพื่อข่าวสารและอัปเดตใหม่ๆ ก่อนใคร

Facebook: SCB TechX

Medium: medium.com/scb-techx 

LinkedIn: www.linkedin.com/company/scb-tech-x/

YouTube: SCB TechX

Related Content

  • ทั้งหมด
  • Blogs
  • Insights
  • News
    •   Back
    • Careers
    • Data Science
    • Lifestyle
    • Product
    • Strategy
    • Technology
    • User Experience
    • xPlatform
    • DevOps
    •   Back
    • PointX Products
    • Events
    • Others
    • Leadership
    • Partnership
    • Services & Products
    • Joint ventures
    •   Back
    • Blockchain
    • Finance
    • Tech innovation

Your consent required

If you want to message us, please give your consent to SCB TechX to collect, use, and/or disclose your personal data.

| การเพิกถอนความยินยอม

หากคุณต้องการเพิกถอนการให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล กรุณาส่งคำร้องหาเรา

Vector

Message sent

We have receive your message and We will get back to you shortly.