เทียบ Cloud Server กับ Physical Server แบบไหนตอบโจทย์องค์กร

ไทย

Cloud-Server-1

เซิร์ฟเวอร์ (Server) เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อองค์กรในปัจจุบัน โดยเซิร์ฟเวอร์เปรียบเสมือนศูนย์กลางการทำงานขององค์กร ทำหน้าที่จัดเก็บ ประมวลผล วิเคราะห์ เชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มที่แต่ละองค์กรใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งเซิร์ฟเวอร์ 2 ประเภทที่ได้รับความนิยมใช้งานในปัจจุบัน ได้แก่ Cloud Server และ Physical Server ในบทความนี้ SCB TechX จะพาไปรู้จักกับเซิร์ฟเวอร์ทั้ง 2 ประเภท พร้อมเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย

Physical Server

เซิร์ฟเวอร์แบบกายภาพ หรือ Physical Server คือ คอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการประมวลผลมากกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป ถือเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรที่จัดทำ On-Premise Data Center หรือศูนย์ข้อมูลภายในองค์กร ซึ่งใน On-Premise Data Center สามารถมีเครื่อง Physical Server ได้หลายแบบและหลายเครื่อง ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งานเฉพาะตัวของแต่ละองค์กร โดยเครื่อง Physical Server มีทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่

1. Tower Server

เครื่อง Physical Server ที่ถูกออกแบบมาให้มีลักษณะคล้ายกับคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่มีความสามารถในการทำงานและระบายความร้อนได้ดีกว่า

2. Rack Server

เครื่อง Physical Server ที่มีขนาดใหญ่และรองรับการทำงานได้มากกว่า Tower Server

3. Blade Server

เครื่อง Physical Server ที่ออกแบบมาให้มีลักษณะเป็นกล่องเล็กๆ สามารถทำงานร่วมกันได้แบบโครงข่าย มีประสิทธิภาพเหนือกว่า Rack Server และซ่อมแซมได้สะดวก

4. Mainframe

เครื่อง Physical Server ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด นิยมใช้ในองค์กรที่ต้องการประมวลผลข้อมูลปริมาณมหาศาลตลอดทั้งวัน

ข้อดีของ Physical Server

ข้อดีของการเลือกใช้ Physical Server เป็นศูนย์กลางการทำงานขององค์กร ได้แก่

1. เข้าถึง ดูแล และตรวจสอบได้ง่าย

โดยปกติแล้ว องค์กรที่เลือกใช้ Physical Server มักจะมีการติดตั้งเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไว้ภายในองค์กร ทำให้คนในองค์กรสามารถเข้าถึง ดูแล และตรวจสอบได้สะดวก

2. ลดการพึ่งพาผู้ดูแลจากภายนอก

องค์กรสามารถลดการพึ่งพาผู้ดูแลภายนอกได้ แต่ต้องมีการว่าจ้างเจ้าหน้าที่ดูแลเซิร์ฟเวอร์สำหรับดูแล Physical Server

3. ปรับแต่งได้ตามความต้องการใช้งานขององค์กร

องค์กรสามารถปรับแต่งการทำงานของ Physical Server ได้ตามความต้องการใช้งานขององค์กรได้มากกว่า เนื่องจากเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ขององค์อย่างเต็มรูปแบบ

ข้อเสียของ Physical Server

อย่างไรก็ตาม Physical Server ไม่ได้รับความนิยมใช้งานมากนักในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก ไปจนถึงกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง และธุรกิจขนาดใหญ่ในบางอุตสาหกรรม เพราะ Physical Server มีข้อเสีย ดังนี้

1. ใช้ต้นทุนสูง

เครื่อง Physical Server ที่มีประสิทธิภาพสูงมาพร้อมกับราคาที่สูงตามไปด้วย อีกทั้งยังมีค่าซ่อมบำรุง ค่าจ้างผู้เชี่ยวชาญในการดูแลเซิร์ฟเวอร์ตลอด 24 ชั่วโมง ไปจนถึงการว่าจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมาดูแล

2. เสี่ยงต่ออุบัติภัย

หากมีอุบัติภัยเกิดขึ้นและส่งผลต่ออาคารสำนักงานที่จัดเก็บ Physical Server เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ หรือแผ่นดินไหว ก็จะทำให้เครื่อง Physical Server จะเสียหายตามไปด้วย

3. ใช้พื้นที่จัดเก็บมาก

องค์กรที่ใช้เครื่อง Physical Server ขนาดใหญ่หลายจำนวนหลายเครื่องจำเป็นที่จะต้องมีพื้นที่จัดเก็บเพียงพอ และสภาพแวดล้อมของพื้นที่จัดเก็บจะต้องเหมาะสม

ธุรกิจแบบไหนเหมาะกับ Physical Server

ธุรกิจที่เหมาะกับการใช้งาน Physical Server มักเป็นกลุ่มธุรกิจเกี่ยวกับการ Hosting และองค์กรที่ต้องรองรับ Workload จำนวนมหาศาล อาทิ

– ธุรกิจที่ต้องการความปลอดภัยและการควบคุมข้อมูลสูง: หากธุรกิจมีข้อมูลละเอียดอ่อนหรือต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบการควบคุมข้อมูลอย่างเข้มงวด (เช่น HIPAA สำหรับข้อมูลสุขภาพ, หรือ PCI DSS สำหรับข้อมูลการชำระเงิน)

– ธุรกิจที่ต้องการประสิทธิภาพสูงสำหรับงานเฉพาะ: ธุรกิจที่มีการใช้งานทรัพยากรคอมพิวเตอร์ระดับสูง เช่น การประมวลผลกราฟิกหนักๆ หรือการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ อาจพบว่า Physical Server ที่ปรับแต่งได้เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเพราะสามารถจัดสรรและเลือกฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสมได้อย่างเต็มที่

– ธุรกิจที่มีความต้องการเสถียรภาพและอัพไทม์สูง: ธุรกิจที่ไม่สามารถหยุดการทำงานได้เลยแม้ในช่วงเวลาสั้นๆ ดังนั้นการมี Physical Server ที่สามารถควบคุมและตรวจสอบได้ตลอดเวลาจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด

Cloud-Server-2

Cloud Server

การใช้ On-Cloud Data Center หรือศูนย์ข้อมูลบนคลาวด์เหมาะสมกับองค์กรที่ต้องการความยืดหยุ่น และประหยัดงบประมาณในระยะยาว ซึ่งองค์ประกอบสำคัญของ On-Cloud Data Center คือ เซิร์ฟเวอร์แบบคลาวด์ หรือ Cloud Server อันเป็นซอฟต์แวร์ที่จำลองขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เสมือน Physical Server โดยสามารถแบ่งการทำงานของ Cloud Server ได้ 3 แบบ คือ

1. Public Cloud หรือคลาวด์สาธารณะ

เซิร์ฟเวอร์สาธารณะที่ผู้ให้บริการคลาวด์เปิดให้ผู้ใช้งานทุกคนเข้าถึงได้แบบไม่มีค่าใช้จ่าย แต่มีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและฟีเจอร์การทำงานที่จำกัด

2. Private Cloud หรือคลาวด์ส่วนตัว

เซิร์ฟเวอร์คลาวด์ส่วนตัวที่สามารถเข้าถึงได้เฉพาะบัญชีผู้ใช้งานที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

3. Hybrid Cloud หรือคลาวด์แบบไฮบริด

เป็นการผสานเซิร์ฟเวอร์คลาวด์สาธารณะและคลาวด์ส่วนตัวเข้าด้วยกัน โดยผู้ใช้สามารถเลือกจัดเก็บข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับการจัดความสำคัญของข้อมูลของผู้ใช้เอง

ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มคลาวด์มักมี Physical Cloud ขนาดใหญ่และประสิทธิภาพสูงเป็นของตนเอง เพื่อให้บริการ Cloud Server กับองค์กรขนาดเล็ก-ขนาดกลาง และผู้ใช้บริการรายย่อย โดยมีการเรียกเก็บค่าบริการเป็นรายเดือน หรือรายปี ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการคลาวด์นั้นๆ

ข้อดีของ Cloud Server

ข้อดีของ Cloud Server ที่ทำให้ได้รับความนิยมใช้งาน ได้แก่

1. ความยืดหยุ่น

Cloud Server มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับขยายหรือลดพื้นที่ใช้งานได้ตามความต้องการ นอกจากนี้ Cloud Server ในปัจจุบันยังมาพร้อมกับเครื่องมือเสริมอีกมากมาย เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล ยกตัวอย่างการทำ e-KYC KYC และ NDID ที่ต้องอาศัยเครื่องมือประมวลผลข้อมูลประสิทธิภาพสูง

2. ประหยัดงบประมาณได้มากกว่า

Cloud Server มีต้นทุนต่ำกว่า Physical Server ที่องค์กรต้องลงทุนซื้อเครื่องเซิร์ฟเวอร์เอง นอกจากนี้ Cloud Server แบบ Hybrid Cloud ยังช่วยให้ผู้ใช้จ่ายค่าบริการได้ตามการใช้งานในแต่ละรอบบิล

3. ไม่ต้องว่าจ้างผู้ดูแลเซิร์ฟเวอร์

การว่าจ้างผู้ดูแลเซิร์ฟเวอร์เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนของบ Physical Sever สูง อีกทั้งยังต้องว่าจ้างมากกว่า 1 คน เพราะ Physical Semrver ควรมีผู้ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งอาจไม่คุ้มค่า หากนำมาเปรียบเทียบกับรายรับขององค์กร

4. ไม่ต้องลงทุนในระบบรักษาความปลอดภัย

Cloud Server เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่มีความปลอดภัยสูง ทั้งจากอุบัติเหตุ อุบัติภัย ไปจนถึงการโจรกรรมในโลกไซเบอร์

เทียบ Physical Server และ Cloud Server

การจะเลือกใช้งาน Physical Server หรือ Cloud Server ต้องคำนึงถึงความจำเป็นขององค์กร หากเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ต้องรองรับการประมวลจำนวนมากตลอด 24 ชั่วโมง และมีทุนทรัพย์ เซิร์ฟเวอร์ที่จะตอบโจทย์ความต้องการขององค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ Physical Server ในขณะที่ Cloud Server เหมาะกับองค์กรที่ต้องการความยืดหยุ่น เลือกจ่ายได้ตามการใช้งาน และไม่จำเป็นต้องว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญในการดูแลเซิร์ฟเวอร์

ยกระดับการทำงานด้วย Cloud Solutions

โดยเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญในการยกระดับการทำงานขององค์กรให้สะดวก รวดเร็ว และประหยัดต้นทุน คือ Cloud Solutions ซึ่งอาศัยเครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ ร่วมกับ Cloud Server เพื่อสร้างระบบ Cloud Solutions ที่นำข้อดีของ Cloud Server มาตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของแต่ละองค์กรอย่างลงตัว

 

ด้วยปัจจัยหลายประการ ส่งผลให้ระบบ Cloud Solutions ของแต่ละองค์กรแตกต่างกัน อาทิ เป้าหมายขององค์กร ขนาดขององค์กร งบประมาณ ไปจนถึงวิสัยทัศน์ โดยระบบ Cloud Solutions ที่ออกแบบมาอย่างเหมาะสมต่อองค์กร จะช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนะนำ Cloud Solutions ของ SCB TechX

SCB TechX พร้อมให้คำปรึกษาและช่วยเหลือองค์กรของคุณในการใช้งานคลาวด์อย่างมีประสิทธิภาพ

ติดต่อทีมงานผู้เชี่ยวชาญบริการ Cloud Solutions ของเราได้ที่ Email: contact@scbtechx.io

 

ติดตาม SCB TechX เพื่ออัปเดตข่าวสารใหม่ๆ ก่อนใคร

Facebook: SCB TechX

Medium: medium.com/scb-techx 

LinkedIn: www.linkedin.com/company/scb-tech-x/

YouTube: SCB TechX

Related Content

  • ทั้งหมด
  • Blogs
  • Insights
  • News
    •   Back
    • Careers
    • Data Science
    • Lifestyle
    • Product
    • Strategy
    • Technology
    • User Experience
    • xPlatform
    • DevOps
    •   Back
    • PointX Products
    • Events
    • Others
    • Leadership
    • Partnership
    • Services & Products
    • Joint ventures
    •   Back
    • Blockchain
    • Finance
    • Tech innovation

Your consent required

If you want to message us, please give your consent to SCB TechX to collect, use, and/or disclose your personal data.

| การเพิกถอนความยินยอม

หากคุณต้องการเพิกถอนการให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล กรุณาส่งคำร้องหาเรา

Vector

Message sent

We have receive your message and We will get back to you shortly.