ในยุคที่หลายองค์กรทั่วโลกหันมาใช้งานคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) กันมากขึ้น สิ่งที่ตามมา คือ ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย เนื่องจากอาชญากรรมไซเบอร์ที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้มีการนำระบบรักษาความปลอดภัยคลาวด์ (Cloud Security) มาใช้ เพื่อปกป้องข้อมูลสำคัญขององค์กร และข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า
Cloud Security คืออะไร?
Cloud Security หรือระบบรักษาความปลอดภัยคลาวด์ คือ การปกป้องข้อมูล, ระบบ และแอปพลิเคชันต่างๆ ที่ถูกเก็บไว้บนระบบคลาวด์ จากภัยคุกคามต่างๆ เช่น การโจมตีทางไซเบอร์ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต และการละเมิดข้อมูล โดยมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมหลายด้าน เช่น การเข้ารหัสข้อมูล การควบคุมการเข้าถึง ระบบไฟร์วอลล์ และการตรวจสอบความปลอดภัย เพื่อให้ข้อมูลปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐาน
การทำงานของ Cloud Security
Cloud Security แต่ละชุดประกอบไปด้วยซอฟต์แวร์ มาตรการ และการควบคุมที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ และความต้องการเฉพาะตัวของแต่ละองค์กร โดยหลักการทำงานของ Cloud Security ส่วนใหญ่ ได้แก่
1. ระบบยืนยันตัวตนผู้ใช้งานหลายชั้น (Multi-factor Authentication)
Cloud Security แต่ละชุดประกอบไปด้วยซอฟต์แวร์ มาตรการ และการควบคุมที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ และความต้องการเฉพาะตัวของแต่ละองค์กร โดยหลักการทำงานของ Cloud Security ส่วนใหญ่ ได้แก่
2. การจัดการสิทธิ์ผู้ใช้
การกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งานแต่ละบัญชี เช่น การกำหนดให้ผู้ใช้งานนอกองค์กรมีสิทธิ์เป็น Viewer ซึ่งระบบจะอนุญาตให้ผู้ใช้งานรายนั้นๆ มองเห็น แต่ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นหรือแก้ไขได้
3. การเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption)
การแปลง (Encrypt) ข้อมูลต้นฉบับที่อยู่ในรูป Plaintext ให้อยู่ในรูป Ciphertext โดยอัลกอริทึมที่มีความซับซ้อนทางคณิตศาสตร์ และใช้การแปลงกลับ (Decrypt) เพื่อให้ข้อมูลที่อยู่ในรูป Ciphertext กลับมาเป็นรูป Plaintext
โดยการเข้ารหัสข้อมูลสามารถใช้ได้หลายสถานการณ์ ทั้งในกระบวนการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ การสำรองข้อมูล และการส่งข้อมูลจากคลาวด์ไปอีกคลาวด์ เป็นต้น
4. การบันทึกกิจกรรมบนคลาวด์
การบันทึกกิจกรรมบนคลาวด์ครอบคลุมตั้งแต่การเข้าใช้งาน การแก้ไขข้อมูล การใช้งานทรัพยากร ไปจนถึงรายชื่ออุปกรณ์ที่เข้าใช้ เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถมองเห็นประวัติกิจกรรมทั้งหมดบนคลาวด์ และวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยได้
5. การตรวจจับการบุกรุก
ระบบตรวจจับการบุกรุก (Intrusion Detection System หรือ IDS) จะทำหน้าที่ตรวจสอบการจราจรในเครือข่าย พฤติกรรมน่าสงสัย และวิเคราะห์รูปแบบความผิดปกติ เพื่อแจ้งเตือนให้กับผู้ดูแลระบบทราบ
6. การป้องกันการบุกรุก
ระบบป้องกันการบุกรุก (Intrusion Prevention System หรือ IPS) ทำหน้าที่คล้ายกับ IDS แต่มาพร้อมฟังก์ชันอัตโนมัติที่จะป้องกันระบบจากการบุกรุกในทันที โดย Cloud Security บางชุดอาจมีทั้ง IDS ควบคู่กับ IPS
7. การป้องกันมัลแวร์
ระบบป้องกันมัลแวร์ (Malware) ที่พยายามสร้างความเสียหายหรือเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงไวรัส เวิร์ม โทรจัน และอื่นๆ
8. การป้องกันการโจมตีแบบ DDoS
ระบบป้องกันการโจมตีแบบ DDoS หรือ Distributed Denial of Service ที่ไม่ได้พยายามสร้างความเสียหายให้กับระบบหรือเครือข่ายโดยตรง แต่พยายามทำให้เกิดความขัดข้อง เพื่อให้ระบบหรือเครือข่ายนั้นๆ ไม่สามารถเข้าใช้บริการจาก User ได้ตามปกติ
9. การแบ่งย่อยเครือข่าย
การแบ่งย่อยเครือข่ายหรือที่เรียกว่า Network Segmentation เป็นการแบ่งเครือข่ายออกมาหลายๆ ส่วน เพื่อลดความเสียหายในกรณีที่เครือข่ายหนึ่งถูกโจมตี และช่วยเพิ่มความลื่นไหลในการจราจรของแต่ละเครือข่ายด้วย
10. การตรวจจับภัยคุกคามที่ไม่รู้จัก
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อย่าง ML (Machine Learning) เพื่อตรวจจับภัยคุกคามที่ไม่รู้จัก ซึ่งอาจเป็นรูปแบบของอาชญากรรมไซเบอร์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และแจ้งเตือนให้กับผู้ดูแลระบบแบบเรียลไทม์
โดย Cloud Security ส่วนใหญ่จะครอบคลุมทั้งภัยคุกคามภายในและภายนอก ซึ่ง Cloud Security บางชุดอาจมีการทำงานนอกเหนือจากที่กล่าวไปข้างต้น ขึ้นอยู่กับการบูรณาการมาตรการ และเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน
ปัจจุบันมีผู้ให้บริการคลาวด์หลายแห่งนำเสนอชุด Cloud Sercurity พื้นฐานมาให้อยู่แล้ว เช่น ฟีเจอร์ควบคุมการเข้าถึง ฟีเจอร์กำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งาน ระบบยืนยันตัวตนหลายชั้น การเข้ารหัสข้อมูลระหว่างเครือข่าย และอื่นๆ แต่องค์กรจำเป็นต้องปรับแต่งโครงสร้าง Cloud Security เพิ่มเติมหากต้องการเพิ่มเครื่องมือหรือข้อกำหนดด้านความปลอดภัยเฉพาะตัว ส่งผลให้ต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญด้าน Cloud Security ซึ่งยังเป็นกลุ่มแรงงานที่ขาดแคลนในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน
ไม่เพียงเท่านั้น การว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้าน Cloud Security ยังมาพร้อมต้นทุนทรัพยากรบุคคลที่เพิ่มสูงขึ้นในระยะยาว
ติดตั้ง Cloud Security ที่ออกแบบมาเพื่อองค์กรของคุณกับ SCB TechX
บริการคลาวด์เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับธุรกิจในยุคดิจิทัล การใช้บริการคลาวด์จากผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้ธุรกิจของคุณปรับขนาดโครงสร้างพื้นฐานไอทีได้อย่างยืดหยุ่น เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุน และสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูล
SCB TechX พร้อมให้คำปรึกษาและช่วยเหลือองค์กรของคุณในการใช้งานคลาวด์อย่างมีประสิทธิภาพ
ติดต่อทีมงานผู้เชี่ยวชาญบริการ Cloud Solutions ของเราได้ที่ Email: contact@scbtechx.io
ติดตาม SCB TechX เพื่ออัปเดตข่าวสารใหม่ๆ ก่อนใคร
Facebook: SCB TechX
Medium: medium.com/scb-techx
LinkedIn: www.linkedin.com/company/scb-tech-x/
YouTube: SCB TechX